กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

กล้องวงจรปิด CCTV กับอีเธอร์เน็ตเทคโนโลยีเครือข่ายแบบ

ท้องถิ่นที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่เครือข่ายอีเธอร์เน็ตเป็นเครือข่ายโครงสร้างของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลและรับผิดชอบของสถาบัน IEEE และที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคือ การเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธ

ประวัติอีเธอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 1973 ได้ผู้คิดค้นระบบอีเธอร์เน็ตในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์และส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ได้ และได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ในการสร้างอีเธอร์เน็ตเพื่อให้นักวิจัยสามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งในขณะนั้นอีเธอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่น่าทึ่งมากในการใช้คอมพิวเตอร์เพราะในสมัยนั้นจะเป็นเครื่องเมนเฟรมที่มีราคาแพงมาก มีน้อยคนที่สามารถซื้อระบบเมนเฟรมมาใช้แต่การพัฒนาอีเธอร์เน็ตทำให้การใช้คอมพิวเตอร์แพร่หลายมากขึ้น หลังจากที่ IEEE ได้ตีพิมพ์มาตรฐานอีเธอร์เน็ตแล้วก็ได้มีการพัฒนามาตรฐานเรื่อย ๆ มา และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้สายโคแอทช์หรือที่ปัจจุบันเป็นสายสำหรับไว้เดินกล้องวงจรปิดราคาถูก แบบบาง หลังจากนั้นได้พัฒนาสายสัญญาณอื่น ๆ เช่น สายคู่เกลียวบิด และ สายไฟเบอร์ เป็นต้น รวมถึงได้มีการปรับปรุงความเร็วเพิ่มขึ้นด้วย

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

ดาต้าลงค์เลเยอร์ ได้มีการแบ่งชั้นการเชื่อมโยงข้อมูลออกเป็น 2 เลเยอร์ย่อย ๆ คือ LLC และ MAC ถือเป็นหัวใจสำคัญของอีเธอร์เน็ต เป็นเลเยอร์ที่สร้างเฟรมข้อมูลและที่อยู่ เป็นชั้นที่ทำให้ข้อมูลส่งถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง และในสองเลเยอร์นี้ยังรับผิดชอบเกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรับส่งข้อมูล และถ้ามีการผิดพลาดก็จะเตรียมการในการส่งข้อมูลใหม่ โดยสรุปก็คือ เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลนั่นเอง

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

LLC (Logical Link Comtrol) เป็นเลเยอร์ที่อยู่ด้านบนของดาต้าลิงค์ ให้บริการกับโปรโตคอล ในการเข้าใช้สื่อกลางหรือสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลแล้วให้ LAN ที่ต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะ LLC จะรับผิดชอบแทนในการปรับเฟรมข้อมูลให้สามารถส่งไปได้ในสายสัญญาณนั้น ๆ และเป็นเลเยอร์ที่แยกชั้นเครือข่ายออกจากการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นว่าแพ็กเก็ตจะส่งผ่านเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต โทเคนริง และไม่จำเป็นต้องรู้ว่า การส่งผ่านข้อมูลในชั้นกายภาพจะใช้การรับส่งข้อมูลแบบใด ชั้น LLC จะจัดการเรื่องเหล่านี้ให้ทั้งหมด

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

MAC (Media Access Control) เป็นเลเยอร์ที่อยู่ล่างสุดของดาต้าลิงค์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อกัยฟิสิคอลเลเยอร์ และรับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลให้สำเร็จและถูกต้อง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน การส่งข้อมูล และ การรับข้อมูล รวมถึงยังรับผิดชอบในการสร้างกลไกสำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลในเฟรมนั้น ๆ และยังต้องตรวจสอบช่องสัญญาณพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลหรือไม่ ถ้าพรอ้มเฟรมก็จะส่งต่อไปยังขั้นกายภาพเพื่อส่งไปตามสายสัญญาณต่อไป แต่ถ้ายังไม่พร้อมก็จะรอจนกว่าจะว่างแล้วค่อยส่งข้อมูล หน้าที่สุดท้ายของ MAC คือการตรวจสอบสถานภาพของเฟรมที่กำลังส่งว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าหากมีการชนกันเกิดขึ้นก็หยุดการส่งข้อมูล และเข้าสู่กลไกการรอเพื่อส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง การส่งข้อมูลอาจใช้เวลานานถ้ามีการใช้เครือข่ายมาก ๆ

โปรโตคอล CSMA/CD อีเธอร์เน็ตได้ถูกคิดค้นขึ้นและยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของเครือข่ายตั้งอยู่บนมาตรฐานการส่งข้อมูลแบบฮาล์ฟดูแพล็กซ์ การส่งสัญญาณระหว่างโหนดในเครือข่าย ถ้าต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อนว่ามีโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรอให้ส่งจนจบก่อนแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลและในขณะที่ส่งข้อมูลต้องตรวจสอบว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้หยุดส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง เพราะถ้ามีการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลา งเวลาเดียวกัน ข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที เมื่อจำนวนโหนดมากขึ้นความน่าจะเป็นที่ข้อมูลจะชนกันก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย การชนกันของข้อมูลก็เริ่มที่จะก่อให้เกิดความคับคั่งในเครือข่าย ทำให้การพิมพ์เอกสารอาจใช้เวลามากขึ้นหรือการถ่ายโอนไฟล์จะช้าลง เครือข่ายจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด หรืออาจทำให้เครือข่ายใช้การไม่ได้เลย

ฟิสิคอลเลเยอร์ ชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชั้น แบ่งออกเป็นโมดูลเล็ก ๆ เพื่อให้สามารถปรับเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ที่อาจมีการคิดค้นขึ้น ถ้าหากมีการใช้สายสัญญาณประเภทใหม่ อาจต้องพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของชั้นกายภาพทั้งหมดได้ ถ้าใช้การแบ่งเป็นโมดูลแล้ว ถ้าหากต้องการใช้สายสัญญาณประเภทใหม่ก็แค่พัฒนาโปรโตคอลในส่วนที่ใช้กับสายสัญญาณใหม่เท่านั้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนส่วนที่เหลือของชั้นกายภาพ ซึ่งคงใช้งานได้เหมือนเดิม

อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ต ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย เหมือนการส่งสัญญาณกล้องวงจรปิดโดยทั่วๆ ไป ใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไกลขึ้น สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์ที่เห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตช์ และเราท์เตอร์ แต่ถ้าเป็นกล้องวงจรปิดเราจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า POE เป็นต้น
ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุกพอร์ตที่เหลือ ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์จะลดลง ข้อแตกต่างของฮับเหล่านี้ก็อยู่ที่จำนวนพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของดครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ฮับรองรับได้

สวิตช์  (Switch) ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 บางที่ก็เรียกว่าสวิตชิ่งฮับ สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น  ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน   ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ คุณสมบัตินี้เองทำให้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้สวิตช์มากกว่าฮับ  เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย

คอลลิชั่นโดเมน (Collision  Domain) เป็นส่วนของเครือข่ายที่แชร์ช่องสัญญาณในการรับส่งข้อมูลเดียวกันอาจประกอบด้วย  คอมพิวเตอร์ สายสัญญาณ  และรีพีเตอร์ เป็นต้น ในคอลลิชันโดเมนเดียวกันถ้ามีอย่างน้อยสองโหนดส่งสัญญาณในเวลาเดียวกันก็จะเกิดการชนกันของข้อมูลขึ้น ส่วนคำว่า ซิกเมนต์  คือส่วนของเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยใช้สายสัญญาณเดียวกัน ซึ่งซิกเมนต์นั้นจะไม่รวมเอารีพีเตอร์เข้าไปด้วย  ในคอลลิชันโดเมนหนึ่ง ๆ อาจประกอบด้วยหลายซิกเมนต์ที่เชื่อมต่อกันด้วยรีพีเตอร์หรือฮับ รีพีเตอร์หรืฮับเป็นอุปกรณ์อีเธอร์เน็ตทีทำงานในระดับฟิสิคอลเลเยอร์  ทำหน้าที่ทวนสัญญาณที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตที่เหลือ

บรอดคาสต์โดเมน (Broadcast  Domain) หมายถึง โหนดทุกโหนดที่อยู่ในวง LAN เดียวกัน ดังนั้น เฟรมข้อมูลที่ส่งไปยังบอร์ดคาสต์โดเมนทุก  ๆ  โหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายก็จะได้รับเฟรมนั้น สวิตช์ถูกออกแบบมาสำหรับเชื่อมต่อหลาย ๆ คอลลิชันโดเมนเป็นวง LAN เดียวกัน

ฟาสต์อีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี LAN ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอีเธอร์เน็ต ความต้องการในการใช้เครือข่ายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คอมพิวเตอร์ก็ได้ถูกพัฒนาเรื่อย ๆ โดยไม่หยุดยั้ง เช่น ความเร็วของไมโครโปรเชสเซอร์เพิ่มขึ้น และได้พัฒนามาตรฐานอีเธอร์เน็ตใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อโปรเจ็กต์ฟาสต์อีเธอร์เน็ต หรือ อีเธอร์เน็ตความเร็วสูง  ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือการเพิ่มอัตราข้อมูล

กิกะบิตอีเธอร์เน็ต ปัจจุบันความต้องการใช้เครือข่ายได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แบนด์วิดของเครือข่ายไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้  ได้ออกมากตรฐานอีเธอร์เน็ตใหม่ซึ่งเรียกว่า  กิกะบิตอีเธอร์เน็ตซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มมาตรฐาน การพัฒนาจึงพยายามมุ่งเน้นให้สามารถทำงานได้กับอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่ำกว่ามากที่สุด  และขนาดของเฟรมเหมือนกับอีเธอร์เน็ตมาตรฐานอื่น ๆ ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้เครือข่ายอีเธอร์เน็ตประเภทต่าง  ๆ  สามารถทำงานร่วมกันได้  กิกะบิตอีเธอร์เน็ตพัฒนามาจากฟิสิคอลเลเยอร์ของไฟเบอร์แชนแนล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเมนเฟรมกับเทอร์มินอล  และได้ถูกพัฒนามาเป็นเทคโนโลยีของ LAN แต่ความนิยมในการใช้งานยังมีน้อยมาก มาตรฐานกิกะบิตอีเธอร์เน็ตได้กำหนดให้ใช้สายสัญญาณต่อไปนี้ในการส่งสัญญาณ

  • สาย UTP หรือ STP
  • สายไฟเบอร์แบบมัลติโหมด
  • สายไฟเบอร์แบบซิงเกิลโหมด

มาตรฐานกิกะบิตอีเธอร์เน็ตแบ่งออกเป็น  4 ประเภทย่อย ซึ่งแต่ละมาตรฐานก็จะมีความแตกต่างในด้านประเภทของสายสัญญาณที่ใช้ และ ความยาวของสายสัญญาณที่สามารถรองรับได้

เทนจีอีเธอร์เน็ต เป็นการพัฒนามาตรฐานเทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต  เพื่อเพิ่มความเร็วของอีเธอร์เน็ตเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้  และยังทำให้อีเธอร์เน็ตสามารถทำเป็นลิงค์ของ WAN ได้ ซึ่งเป็นมาตรฐานล่าสุดของอีเธอร์เน็ต สิ่งที่เทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ตแตกต่างจากอีเธอร์เน็ตก่อนหน้านี้  คือ  ความเร็วและระยะทางของสายสัญญาณ เทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ตจะรองรับการรับส่งข้อมูลแบบฟูลดูเพล็กช์เท่านั้น  นอกจากนี้  เทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ตจะใช้เฉพาะสายไฟเบอร์เท่านั้น

VLAN กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายบรอดคาสต์โดเมนเดียวกัน  เป็นโปรโตคอลที่ทำงานในเลเยอร์ที่ 2 เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาเพื่อควบคุมบรอดคาสต์ในเครือข่าย การควบคุมบรอดคาสต์ในเครือข่ายจะใช้เราท์เตอร์ เราท์เตอร์จะไม่ส่งต่อแพ็กเก็ตประเภทบรอดคาสต์  แต่สวิตช์จะส่งต่อ การใช้เราท์เตอร์ในการควบคุมอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายได้ แต่ถ้ามีจำนวนมากอาจทำให้การรับส่งแพ็กเก็ตช้าลงได้  จึงได้มีการพัฒนา VLAN ขึ้นมา เพื่อให้เลเยอร์สามารถควบคุมบรอดคาสต์ในเครือข่ายได้

 

กล้องวงจรปิดไร้สายกับระบบ Wireless LAN

WLAN ระบบเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ส่งสัญญาณผ่านอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องติดตั้งสายสัญญาณ ทำให้เครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูงสะดวกต่อการใช้งานและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านค่าใช้จ่ายสายนำสัญญาณ ปัจจุบันกล้องวงจรปิดไร้สาย หรือเครือข่ายไร้สายส่วนใหญ่จะสามารถรับส่งข้อมูลได้มากซึ่งเพียงพอต่อการเชื่อมต่อกับเครื่องไคลเอนท์ทั่ว ๆ ไป ประโยชน์ของการใช้ระบบนี้ก็คือ ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะองค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คซึ่งเคลื่อนย้ายบ่อย

กล้องวงจรปิดไร้สายผ่านเน็ต กับกล้องวงจรปิดกับอีเธอร์เน็ต

การที่ไม่ต้องติดตั้งสายสัญญาณเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญแต่ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือยังต้องมีการพัฒนาเพิ่ม   ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย ที่ไม่สามารถติดตั้งสายสัญญาณได้ ในอนาคต WLAN อาจเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเครือข่ายขององค์กรก็ได้  การเติบโตของเครือข่ายและการให้บริการผ่านเครือข่ายเป็นข้อพิสูจน์ที่สำคัญของการแชร์ข้อมูล ข้อดีของเครือข่ายไร้สายมีดังนี้

  • ความคล่องตัว (Mobility) สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายที่ไหนก็ได้ภายในองค์กร
  • ความสะดวกในการติดตั้งและจัดการง่าย
  • ความยืดหยุ่น
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ความสามารถในการขยายเครือข่าย
  • ความเสถียร
  • การรักษาความปลอดภัย
  • ระยะทาง
  • ความเร็ว

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การใช้สัญญาณเป็นสื่อกลางนำสัญญาณแล้ว  อากาศก็เป็นสื่อนำสัญญาณได้ เรียกว่า  เครือข่ายแบบไร้สาย  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณส่งข้อมูลในทุก  ๆ  การสื่อสารที่กล่าวมาทั้งหมด  แม้กระทั่งการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์  วิทยุ  โทรศัพท์มือถือ  ก็ต้องใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น    คลื่นเม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่สูงจะมีความยาวคลื่นสั้นและมีพลังงานสูง  ถ้ามีความถี่ต่ำจะมีความยาวคลื่นยาวแต่มีพลังงานต่ำ  คุณลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้  3  ประเภท

  • ความเปราะบาง
  • ทิศทางของการเดินทาง
  • ช่องความถี่

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท แต่ละประเภทจะใช้ช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต่างกัน ดังนี้

  • ช่วงครอบคลื่นวิทยุ
  • ช่วงความถี่แคบหรือช่วงความถี่เดียวของคลื่นวิทยุ
  • อินฟราเรด
  • เลเซอร์

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสองประเภทแรกจะถูกควบคุมการใช้ความถี่ซึ่งจะควบคุมการแผ่กระจายคลื่นโดยการกำหนดกำลังส่งสัญญาณ ส่วนอีกสองประเภทสัญญาณจะถูกกำจัดโดยคุณสมบัติของคลื่นแสง ไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุทึบแสงแม้กระดาษบาง ๆ ยังไม่สามารถเดินทางผ่านได้

โทโปโลยีของ WLAN เป็นแบบธรรมดาหรืออาจจะซับซ้อนก็ได้  แบบที่ง่ายก็เชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องติดตั้งเน็ตเวิร์คการ์ดแบบไร้สาย  ส่วนเครือข่ายผสมระหว่างไร้สายกับใช้สายจะมีจุดเชื่อมต่อระหว่างสองเครือข่าย  และถ้าต้องการขยายเครือข่ายก็สามารถทำได้โดยการใช้แอ็กเซสพอยด์หลาย  ๆ เครื่อง

ในการเชื่อมต่อเครือข่ายไวร์เลสแลนนั้นสามารถเชื่อมต่อได้ 3 แบบคือ

  • แอดฮอคเน็ตเวิร์ค หรือเพียร์ทูเพียร์  โดยแต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อกันเอง เครื่องไหนที่ต้องการสื่อสารกับเครื่องไหนจะเชื่อมต่อกันเอง
  • อินฟราสตัคเจอร์ เป็นแบบมาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไปจะมีแอ็กเซสพอยต์เป็นตัวกลางในการสื่อสารกันระหว่างเน็ตเวิร์คในส่วนอื่น ๆ
  • พอยต์ทูพอยต์ ในการเชื่อมต่อปกติแอ็กเซสพอยต์จะทำหน้าที่เป็นเสมือนเซิร์ฟเวอร์ที่รอรับการเชื่อมต่อจากไคลเอนท์ในบริเวณนั้น การใช้งานเช่นนี้ยางที่ก็เรียกว่าการสื่อสารแบบพอยต์ทูพอยต์

เครื่องมือสำหรับ WLAN การที่จะดูแลระบบไวร์เลสแลนนั้นจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายไวร์เลสแลนได้ สามารถดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตและสามารถใช้งานได้ฟรี  ในการจัดการไวร์เลสแลนนั้นยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานอยู่ อุปกรณ์ไวร์เลสแลนส่วนใหญ่จะมีซอฟแวร์สำหรับไคลเอนท์และการกำหนดค่าคอนฟิกของช่องสัญญาณคลื่นวิทยุที่ใช้ ปัจจุบันก็มีเครื่องมือวิเคราะห์ไวร์เลสแลน  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับดักจับและถอดรหัสทราฟฟิกของไวร์เลสแลน  สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับความแรงของคลื่น  และอาจสามารถวัดและคำนวณประสิทธิภาพของและแต่ละไวร์เลสแลนหรือช่วยในการวิเคราะห์หาจุดเสียของอินเตอร์เฟส

Related link :กล้องวงจรปิดไร้สาย wireless หรือเครือข่ายไร้สายเซลลูล่าร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *