ระบบรักษาความปลอดภัย

ระบบรักษาความปลอดภัย กับการตรวจสอบสภาพอากาศในที่ อับอากาศ

อันตรายในที่อับอากาศที่เกิดจากการทำงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับปริมาณอากาศหรือสารปนเปื้อน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ทำงาน  นอกเหนือจากการบริหารและการจัดการความปลอดภัยด้านกล้องวงจรปิดอื่นๆ  แล้ว 

การตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดเพื่อหาวิธีการดำเนินการป้องกันไม่ให้สภาพอากาศในที่อับอากาศเป็น  “บรรยากาศอันตราย”

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ระบบรักษาความปลอดภัย

HW-3304KIT20-Hiview

ความหมายของ  “บรรยากาศอันตราย”

                   การกำหนดมาตรฐานของกฎกระทรวงในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ 

ได้ให้ความหมายของ “บรรยากาศอันตราย”  คือสภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง   ดังนี้

  1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5  หรือมากกว่าร้อยละ  23.5 โดยปริมาตร

  2. มีก๊าซ ไอ  ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้  เกินร้อยละ  10  ของค่าความเข้มข้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

  3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้  ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในที่อากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

  4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานกำหนดตามกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

  5. สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

การที่จะรู้ว่าสภาวะอากาศแบบใดเป็น  “บรรยากาศอันตราย”

  1. ต้องมีการตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเข้าไปทำงาน

  2. ต้องทำการตรวจสอบสภาพอากาศในระหว่างการทำงานอย่างต่อเนื่อง

                       ไม่ควรที่จะใช้การตรวจวัดบรรยากาศโดยการใช้การสัมผัสของคนเราเพื่อตัดสินใจว่าบรรยากาศในที่อับอากาศมีความปลอดภัยหรือไม่  

ก๊าซที่เป็นพิษหรือก๊าซที่ลุกติดไฟและระดับก๊าซออกซิเจนที่ปลอดภัยไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีการสัมผัสของคนเรา

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ

                   ก่อนที่ผู้ทำงานเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ   ต้องมีการตรวจสอบสภาพอากาศขั้นตอนการทำงานที่ได้กำหนดไว้  ขั้นตอนการตรวจสอบสภาพอากาศต้องจัดทำโดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม 

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และ  สภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

การตรวจสอบสภาพอากาศ

                  การตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฏกระทรวง  นายจ้างจะต้องทำการตรวจวัดพื่อหาค่าต่าง ๆ   คือ

  • การตรวจประเมินระดับออกซิเจนในอากาศ

  • การตรวจประเมินก๊าซ ไอระเหย  ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้

  • การตรวจประเมินความเข้มข้น  ของสารเคมีอันตราย

                      ในการตรวจเพื่อหาปริมาณก๊าซออกซิเจน  และปริมาณก๊าซ ไอ  ละอองของสารเคมีที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ โดยปกติเครื่องมือที่ใช้มักจะอยู่ในเครื่องเดียวกัน

บางรุ่นเพียงเลือกปุ่มเพื่อเลือกการตรวจวัดหรือบางรุ่นสามารถตรวจวัดและแสดงผลได้พร้อม  ๆ  กันในคราวเดียว

                       เครื่องมือตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี  นายจ้างจะต้องทำการตรวจวัดสารเคมีที่อยู่ในรูป  เส้นใย  ฝุ่น  ละออง  ก๊าซ  ไอ  ฟูม  จะต้องใช้เครื่องอย่างน้อย  2  ชนิด  คือ 

เครื่องตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นเส้นใย  ฝุ่น  ฟูม  และเครื่องมือตวรจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นก๊าซ   ไอ

โดยจะต้องมีปริมาณความเข้มข้นไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี

  • การตรวจวัดบรรยากาศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกระทำทุกครั้งก่อนที่จะให้ผู้ทำงานเข้าไปในที่อับอากาศ  และเป็นระยะๆ ในระหว่างทำงาน

  • การตรวจวัดและการเฝ้าติดตามบรรยากาศในที่อับอากาศเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติท่ต้องพิจารณาถึงมาตรการควบคุมว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจวัดบรรยากาศ

                วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดบรรยากาศ

  1. ตรวจสอบชนิดและความเข้มข้นของสารปนเปื้อน

  2. ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศ

  3. เฝ้าระวังและป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน

  4. เพื่อลดความรุนแรงของอันตรายที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงาน

  5. เพื่ออพยพหนีออกจากที่อับอากาศหรือขอความช่วยเหลือ

ถ้าต้องการตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศจะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. กำหนดตำแหน่งการตรวจวัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน ทำการทดสอบขั้นตอนการตรวจสอบบรรยากาศและอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบอากาศ    

    จะต้องทำการตรวจสอบก๊าซออกซิเจน  สารติดไฟ  ก๊าซพิษ  จะทำการตรวจบรรยากาศควรตรวจวัดทั้งด้านบน  กลาง  ล่างของพื้นที่อับอากาศ 

    จะต้องทำการตรวจสอบบรรยากาศก่อนเข้าที่อับอากาศ   ตรวจวัดเป็นระยะๆ  ขณะที่ทำงาน  และตรวจวัดทุกครั้งที่เข้าไปใหม่

  2. ใชเครื่องมือตรวจสอบปริมาณก๊าซตรวจวัดตามจุดที่กำหนดไว้

  3. บันทึกข้อมูลที่ตรวจวัดมีรายการดังนี้ วันและเวลที่ได้ตรวจวัดบรรยากาศ  ผู้ทำการตรวจวัด ความหนาแน่นของไอ  ก๊าซ หรือสภาพการณ์อื่นๆ  

    ผลการตรวจวัดจะต้องทำการปิดติดตั้งไว้ปากทางเข้าออกที่อับอากาศ บันทึกข้อมูลที่ตรวจวัดได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน

  4. จะต้องดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถและใช้เครื่องมือตรวจวัดที่ผ่านการสอบเทียบ

  5. บันทึกผลการตรวจวัด   การประเมินสภาพอากาศ   และการดำเนินการเพื่อให้สภาพอากาศในที่อับอากาศไม่มีบรรยากาศอันตรายไว้พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

  6. ผู้ตรวจวัดต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม

  7. ทำความสะอาดเครื่อมือทุกครั้งหลังการตรวจวัด  พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของเครื่อง

  8. ควรเก็บเครื่องมือให้ห่างจากความร้อน ความชื้น ความสั่นสะเทือน

  9. Detector  บางชนิดจำเป็นจะต้องมีพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงไว้ตลอดเวลา   ห้ามแกะออกจากเครื่องมือโดยไม่จำเป็น

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจวัดสภาพอากาศต้องตรวจวัด

                    ก่อนการเข้าไปทำงานหรือก่อนการระบายอากาศควรมีการตรวจสอบบรรยากาศ  การตรวจวัดก๊าซในครั้งแรกควรดำเนินการจากภายนอกที่อับอากาศ

โดยการสอดเครื่องมือตรวจวัดก๊าซแบบพกพาเข้าไปในช่องที่กำหนดไว้และมีความเหมาะสม   คุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิดแตกต่างกัน  

สารเคมีที่อยู่ในสภานะก๊าซและไอซึ่งปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศจะลอยตัวอยู่ในระดับที่ต่างๆ   ของพื้นที่ก๊าซหรือไอที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศจะลอย  ตัวอยู่ด้านบน  

ในขณะที่ก๊าซหรือไอที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศจะรวมตัวกันอยู่บริเวณพื้น ในการตรวจวัดระดับของสารเคมีในที่อับอากาศ   จะต้องทำการตรวจวัดที่ระะดับต่างๆ   กันจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งและจากบนลงล่าง

                การตรวจสอบอาจมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้สำหรับการตรวจสอบบรรยากาศก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ  และควรจะทำการตรวจสอบก่อนที่ทำการระบายอากาศ

และต้องทำการตรวจสอบก่อนที่พนักงานเข้าไปทำงานไม่เกิน  20  นาที  ผลการทดสอบต้องทำการบันทึกไว้และติดป้ายแสดงไว้ที่ปากทางเข้าออกที่อับอากาศทุกจุด 

การทดสอบต้องดำเนินการเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ควรระวังได้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายที่ได้ชี้บ่งไว้  และเพื่อให้บรรยากาศมีความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่จะเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

 

Hikvsion WiFi cctv

สาเหตุที่ต้องมีการตรวจวัดสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง

                     เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบรรยากาศมีความปลอดภัยต่อผู้ทำงาน  ควรเป็นรูปแบบการตรวจติดตามระดับก๊าซออกซิเจน  และระดับของก๊าซที่อาจระเบิดได้

หรือไอ การตรวจสอบสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องจะเป็นการตรวจติดตามก๊าซชนิดอื่นๆ  ที่มีอยู่ได้ด้วย    การตรวจติดตามจะทำให้อุปกรณ์เตือนภัยที่ติดตั้งไว้เตือนให้เรารู้ว่าก๊าซต่างๆ เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้       

เมื่ออุปกรณ์เตือนภัยมีสัญญาณดังขึ้นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและได้รับการฝึกอบรมในการตรวจวัดสภาพอากาศจะต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่อุปกรณ์เตือนภัยทำงาน 

ก่อนที่จะอนุญาตให้ผู้ทำงานเข้าไปทำงานในที่อับอากาศใหม่ สารปนเปื้อนบางชนิดไม่อาจที่จะตรวจวัดได้ด้วยอุปกรณ์เตือนภัยที่ติดตั้งไว้  จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ในขั้นต้อนการทำงาน     

ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้จะต้องมีการทดสอบเทียบความถูกต้องและมีการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม   พร้อมทั้งมีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศ 

และอุปกรณ์เตือนภัยจะต้องปรับค่าใหม่ตามที่กำหนดไว้  นายจ้างจะต้องให้มีการตรวจติดตามบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง   ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้

ตรวจติดตามบรรยากาศนั้นมีความเหมาะสมที่จะใช้สำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนแต่ละชนิดที่มีความหนาแน่นเกินกว่าที่จะปกป้องได้ด้วยอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

คุณสมบัติที่ควรมีของผู้ตรวจวัดบรรยากาศ

                     พนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการทำงานอาจจะทำการตรวจสอบบรรยากาศในที่อับอากาศได้  ซึ่งการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบบรรยากาศควรประกอบด้วยหัวข้อของการอบรมดังนี้

  1. ความน่าเชื่อถือและข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้

  2. ข้อกำหนดในการใช้เครื่องมือที่ทำการตรวจวัดที่ผ่านการสอบเทียบค่าความถูกต้อง

  3. คำแนะนำของผู้ผลิตและการบำรุงรักษา

  4. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและวิธีการทดสอบบรรยากาศ

  5. ระยะเวลาสัมผัสที่อนุญาตให้สัมผัสได้ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิด

  6. วิธีการใช้เครื่องตรวจวัดสภาพบรรยากาศ

  7. การใช้เครื่องมือตรวจวัดสารปนเปื้อนเฉพาะชนิด

                เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาพอากาศ   แบ่งออกเป็น   2   ประเภท

  1. อุปกรณ์ตรวจสอบบรรยากาศ ที่แสดงผลอ่านค่าโดยตรง

  2. อุปกรณ์ตรวจสอบบรรยากาศ ที่แสดงผลอ่านค่าโดยอ้อม  เป็นเครื่องมือที่เป็นชนิดเก็บตัวอย่างเพื่อการส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ลักษณะทั่วไปของเครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศ

  1. จอแสดงค่าตรวจสอบ

  2. แบตเตอรี่

  3. ปุ่มควบคุม

  4. Sensor  /  Detector

  5. น้ำหนักเบา  ทนทาน  เคลื่อนที่สะดวก

  6. มีสัญญาณเตือนการทำงาน

การตรวจประเมินระดับออกซิเจนในอากาศ

  1. ระดับออกซิเจนจะต้องมีปริมาณ  >19.5 %  และ  <23.5 %   โดยปริมาตร

  2. ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศปกติ  20.9 %  โดยปรมาตร

  3. การตรวจวัดจะใช้เครื่อง  Oxygen  Meter

ข้อจำกัด /  ข้อควรระวังของการตรวจวัดออกซิเจน

  1. การปรับเทียบก่อนเข้าตรวจวัด

  2. ความสูงของพื้นที่ที่จะทำการตรวจวัด  จะทำให้เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนเปลี่ยนไปด้วย

  3. Alkaline  Electrolyte  ต้องระมัดระวังการทำปฏิกิริยากับไอระเหยหรือก๊าซของกรด

  4. ไม่ควรทดสอบการทำงานของเครื่องโดยการหายใจรด

  5. ในที่ที่อุณหภูมิต่ำ Response  Time จะเพิ่มขึ้น

  6. อายุการใช้งาน   6 – 12  เดือน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจประเมินก๊าซ  ไอระเหย  ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดเรียกว่า เครื่องตรวจวัดการระเบิด 

  2. ปกติเครื่องตรวจวัดการระเบิดจะตั้งค่าสัญญาณเตือน เมื่อค่าเปอร์เซ็นต์การระเบิดอยู่ที่  10  %  ของค่าพิกัดล่างจของการระเบิด

  3. หากตรวจพบต้องหยุดการทำงาน   หาแหล่งกำเนิดและควบคุมทันที

  4. หน่วยวัด  ppm  หรือ  %LEL   หรือ   %   gas  by  Vol.

ข้อจำกัด / ข้อควรระวังของเครื่องวัดการระเบิด

  1. ศึกษาสเกลที่ใช้ในเครื่องให้เข้าใจ

  2. ต้องตรวจสอบการวัดของเครื่องเมื่อแรกเข้าไปที่อับอากาศ

  3. ออกซิเจน  ก๊าซอื่นๆ   และอุณหภูมิของอากาศทำให้ผลการตรวจวัดผิดพลาดได้

การตรวจประเมินความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

  1. ไอระเหย  หรือก๊าซพิษที่มักพบในสถานที่อับอากาศ  ได้แก่  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   คาร์บอนมอนอกไซด์  ไฮโดรเจนซับไฟด์  แอมโมเนีย  มีเทน  เป็นต้น

  2. เครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดสารเคมีอันตราย เรียกทั่วไปว่า  Toxic   Gas / Vapor Indicator

  3. ปัจจะบันเครื่องมือสามารถตรวจวัดสารเคมีได้มากกว่า  1  ชนิดในเวลาเดียวกัน   ทำให้ทราบผลการตรวจวัดได้ถูกต้องมากขึ้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ข้อระมัดระวังของเครื่องวัดก๊าซ

  1. ชนิดของ  Electrochemical  Sensor

  2. ศึกษาการใช้งานและข้อจำกัดของ  Sensor  ก่อนการใช้งาน   Interfere  gases  ,  Temp.

เครื่องมือตรวจวัดก๊าซอื่นๆ ในที่อับอากาศ

  1. หลอดตรวจจับก๊าซ    (Gas  Detector  Tube)

  2. อุปกรณ์ตรวจวัดที่อาศัยการทำงานของ  sensor 

  3. อุปกรณ์ตรวจวัดที่อาศัยการทำงานของ  Infrared

  4. อุปกรณ์ตรวจวัดที่อาศัยการทำงานของ  Photo  Ionization

  5. อุปกรณ์ตรวจวัดที่อาศัยการทำงานของ  Gas  Chromatography

ค่ามาตรฐานที่ใช้ในการเปรีบเทียบ

  1. ค่ามาตรฐานกฏหมายท้องถิ่น

  2. ค่ามาตรฐานอื่นๆ   ที่เกี่วข้อง

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกเครื่องมือ

  1. อ่านค่าได้ถูกต้องแม่นยำ  เชื่อถือได้และอ่านค่าเฉพาะได้

  2. อ่านค่าได้ทันที

  3. มีอุปกรณ์ตรวจวัดในระยะไกลหรือสามารถเพิ่มหลอดดูดอากาศเพื่อเลี่ยงการเข้าไปตรวจวัดบรรยากาศในที่อับอากาศโดยตรงของผู้ตรวจวัด

  4. มีความสามารถในการตรวจติดตามได้อย่างต่อเนื่อง และมีอุปกรณ์ติตตั้งสำหรับเตือนภัยในที่อับอากาศ

  5. อุปกรณ์ตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องจะต้องมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลในที่อับอากาศ

  6. มีความสามารถในการอ่านค่าวิกฤติได้

  7. การใช้งานในพื้นที่อันตราย

  8. การป้องกันการรบกวนจากคลื่นวิทยุ

  9. ความทนทาน

  10. ขนาด / ราคา

  11. ความง่ายในการใช้งาน

  12. ความง่ายในการซ่อมบำรุง

  13. ความง่ายในการสอบเทียบ

  14. การอบรมหลังการขาย



Related link : รั้วไฟฟ้ากันขโมย     อุปกรณ์สัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *