วงจรปิดออนไลน์

การทำงานของกล้องวงจรปิด ในระบบเครื่อข่าย

สถาปัตยกรรมเครือข่าย ถูกน้ำเข้ามาใช้กับ CCTV ทำให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากใช้การส่งข้อมูลเดียวกัน ถ้าใช้คนละข้อมูลก็คงจะสื่อสารกันไม่ได้ความ

คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้จำเป็นที่ต้องใช้ “ภาษา” เดียวกัน ภาษาที่ว่านี้ศัพท์ทางคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า “โปรโตคอล (Protocol)”

ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันได้ต้องใช้โปรโตคอลเดียวกัน เช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตจะใช้ “ภาษา” หรือโปรโตคอล TCP/IP

ส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าเน็ตแวร์ (Netware) ก็จะใช้ “ภาษา” หรือโปรโตคอล IPX/SPX ในการสื่อสารกัน เป็นต้น

ในบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการทำงานของโปรโตคอลประเภทต่างๆ ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

การทำงานของกล้องวงจรปิด

ราคากล้องวงจรปิด

 

ปัจจุบันฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด บางชนิดก็ใช้งานร่วมกันได้แต่บางชนิดก็ใช้ด้วยกันไม่ได้เลย

ผู้ใช้บางคนอาจมีความจำเป็นต้องสื่อสารกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะแตกต่างกันทั้งฮาร์แวร์และซอฟแวร์ที่ใช้

บางครั้งก็จะสื่อสารกันไม่ได้เนื่องจากเหตุผลที่ว่า คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายต่างประเภทกันจะใช้คนละ “ภาษา” ในการที่จะทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้นั้น

คอมพิวเตอร์เหล่านี้จำเป็นที่ต้องใช้ “ภาษา”เดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนา “ภาษา” หรือโปรโตคอลขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้สามารถสื่อสารกันได้

 

วงจรปิดออนไลน์ สถาปัตยกรรมเครือข่าย กล้องวงจรปิด CCTV

 

โปรโตคอลคืออะไร ?

การเชื่อมต่อระบบกล้องวงจรปิด ผ่านคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณนั้นเป็นขั้นตอนที่ง่ายดายของการสร้างเครือข่ายแต่ส่วนที่ท้าทายคือ

การพัฒนามาตรฐานเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งมาตรฐานนี้ก็คือ โปรโตคอล (Protocol)

หรือสรุปสั้นๆ โปรโตคอลคือ กฎ ขั้นตอน และรูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของโปรโตคอล เช่น การสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆที่ต้องทำก่อนที่จะพูดคุยกันได้ เช่น โดยส่วนใหญ่คำแรกที่พูดเมื่อใช้โทรศัพท์คือ “ฮัลโหล”

หรือคำทักทายของภาษาท้องถิ่นอื่นๆ การทักทายกันนี้เป็นสัญญาณให้คู่สนทนาทราบว่าการเชื่อมต่อกันสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ อีกฝ่ายจะตอบด้วยคำว่า “ฮัลโหล”เช่นกัน

ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบอีกว่าการติดต่อสื่อสารเป้นไปได้ทั้งสองทาง ถ้าทั้งสองฝ่ายที่สนทนากันรู้จักกันมาก่อน การสนทนาก็จะเข้าสู่เรื่องได้ทันที

แต่ถ้าหากว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่รู้จักกัน ก็จะมีขั้นตอนหรือโปรโตคอลอื่นเพิ่มอีก เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่จะสนทนากันจริงๆ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การสนทนากันของคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้แตกต่างจากตัวอย่างข้างต้นมากนัก การเชื่อมต่อกันของคอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างระบบเครือข่ายกล้องวงจรปิด

แต่การสื่อสารที่มีความหมาย เช่นการแชร์กันใช้ ทรัพยากรของแต่ละฝ่าย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมบูรณ์ วิวัฒนาการของเครือข่ายถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ

โปรโตคอลของเครือข่ายบางทีอาจเรียกว่า “สถาปัตยกรรมเครือข่าย” (Network Architecture)” เนื่องจากระบบเครือข่ายกล้องวงจรปิดที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก

ทำให้ยากต่อการออกแบบโดยคนๆเดียวหรือคนกลุ่มเดียว เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น จึงมีการแบ่งโปรโปรโตคอลออกเป็นชั้นๆ หรือเลเยอร์ (Layer)

การทำงานในแต่ละเลเยอร์จะไม่ซ้อซ้อนกัน ซึ่งเลเยอร์ที่อยู่ต่ำกว่าจะทำหน้าที่ให้บริการ (Service) กับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดยเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่าไม่จำเป็นต้องทราบถึง

รายละเอียดว่าเลเยอร์ที่อยู่ต่ำกว่ามีวิธีให้บริการอย่างไร เพียงแค่รู้ว่ามีบริการอะไรบ้าง และแต่ละบริการคืออะไรก็เพียงพอ ซึ่งแนวความคิดนี้จะเรียกว่า “เทคโนโลยีเลเยอร์ (Layer Technology)”

 

 

แนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง  :    รั้วไฟฟ้ากันขโมย    สัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *