กล้องวงจรปิดดูผ่านมือถือ

กล้องวงจรปิดดูผ่านมือถือ ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ

กล้องวงจรปิดดูผ่านมือถือ คือ กล้องที่มีคุณสมบัติเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและส่งภาพหรือวิดีโอไปยังแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต.

ผู้ใช้สามารถดูภาพถ่ายแบบเรียลไทม์หรือวิดีโอที่บันทึกไว้จากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้ในบ้าน, ที่ทำงาน, หรือที่อื่นๆ ได้ตลอดเวลาและจากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต.

คุณสมบัติหลักของกล้องวงจรปิดที่ดูผ่านมือถือ

1. การเข้าถึงระยะไกล  สามารถดูภาพและวิดีโอจากกล้องได้จากที่ใดก็ได้ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต.

2. การแจ้งเตือนและการตรวจจับการเคลื่อนไหว  บางรุ่นสามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เมื่อมีการตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือเสียง.

3. การบันทึกและเก็บรักษาวิดีโอ  การบันทึกภาพและวิดีโออาจจัดเก็บบนคลาวด์หรือในเครื่องจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่น.

4. การเชื่อมต่อไร้สาย  มักใช้ WiFi เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายบ้านหรือองค์กร.

กล้องวงจรปิดที่สามารถดูผ่านมือถือเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเฝ้าระวังและควบคุมทรัพย์สินของตนจากระยะไกล, ทำให้การดูแลบ้านหรือธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น.

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสำหรับดูภาพจากกล้องวงจรปิดผ่านทางมือถือ

1. Hik-Connect (สำหรับกล้อง Hikvision)  แอปนี้ให้การเข้าถึงระยะไกลและการจัดการกล้อง Hikvision.

2. gDMSS Lite / iDMSS Lite (สำหรับกล้อง Dahua)  แอปพลิเคชันสำหรับการดูและจัดการกล้อง Dahua.

3. V380  แอปสำหรับกล้องวงจรปิดไร้สาย  เหมาะสำหรับการใช้งานในบ้านและธุรกิจขนาดเล็ก.

4. IP Cam Viewer Lite  แอปที่รองรับหลายยี่ห้อและรุ่น, เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้กล้องจากหลายแบรนด์.

5. EZVIZ (สำหรับกล้อง EZVIZ)  ให้การเข้าถึงกล้องวงจรปิดของ EZVIZ และฟีเจอร์ต่างๆ.

6. Foscam IP Cam Viewer by OWLR  แอปสำหรับดูภาพจากกล้อง Foscam พร้อมฟังก์ชันที่หลากหลาย.

7. mydlink  สำหรับกล้องวงจรปิดจาก D-Link, ให้การเข้าถึงและจัดการภาพง่ายๆ ผ่านมือถือ.

8. Yoosee  อีกหนึ่งแอปพลิเคชันสำหรับกล้องไร้สาย, ที่ให้การเข้าถึงง่ายและรองรับการเชื่อมต่อ P2P.

9. Tapo (สำหรับกล้อง TP-Link)  แอปนี้สำหรับกล้องวงจรปิดของ TP-Link ที่ให้การเข้าถึงง่ายและการตั้งค่าที่สะดวก.

10. Samsung SmartCam  สำหรับกล้องวงจรปิดของ Samsung, มีฟีเจอร์สำหรับการเข้าถึงและจัดการกล้องได้อย่างง่ายดาย.

แอปพลิเคชันเหล่านี้มีให้บริการทั้งบน Android และ iOS และสามารถดาวน์โหลดจาก Google Play Store หรือ Apple App Store. การเลือกใช้แอปพลิเคชันขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของกล้องวงจรปิดที่คุณใช้, รวมถึงความต้องการเฉพาะของคุณเอง

กล้องวงจรปิดดูผ่านมือถือ

การสื่อสารกล้องวงจรปิด

สัญญาณแอนะล็อก

สัญญาณที่มีความต่อเนื่องเป็นลักษณะของคลื่น  เช่น  สัญญาณเสียงเป็นรูปแบบของสัญญาณแอนะล็อกที่รู้จักกันเป็นอย่างดี   สัญญาณเสียงจะถูกแปลงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อส่งไปบนสื่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  และคลื่นไฟฟ้าก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของสัญญาณแอนะล็อก

คุณสมบัติของคลื่นสัญญาณ

คลื่นสัญญาณทุกประเภทมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน   คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งข้อมูลและจัดเป็นคลื่นสัญญาณแอนะล็อกมีลักษณะเป็นคลื่นไซน์   ลักษณะของคลื่นจะประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ  3  ประการ  ดังงนี้

  •  ความถี่  (Frequency)      จำนวนรอบที่คลื่นเคลื่อนที่ไปในหนึ่งวินาที   มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์   ความถี่ของคลื่นที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ที่แตกต่างกันด้วย    

    การสื่อสารที่ส่งด้วยคลื่นความถี่สูงจะหมายถึงคลื่นที่มีความถี่วัดเป็นหน่วยกิโลเฮิรตซ์    มาตรช่วงความถี่อีกมาตรหนึ่งคือ  แบนด์วิดท์ หรือช่วงกว้างแถบความถี่เป็นค่าความแตกต่างระหว่างค่าความถี่สูงสุดกับค่าความถี่ต่ำสุด  

    นอกจากนี้ในระหว่างช่วงคลื่นจะมีการเว้นช่วงคลื่นที่ไม่มีการใช้งานเพื่อป้องกันการแทรกสอดของคลื่นที่มีความถี่ใกล้เคียงกัน  เรียกช่วงคลื่นที่ใช้ป้องกันการแทรกสอดนี้ว่า  การ์ดแบนด์

  • แอมพลิจูด  (amplitude)จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของคลื่นไซน์   หรือจุดที่กระแสไฟฟ้ามีค่าสูงสุด   หน่วยวัดเป็นโวลต์   แอมพลิจูดของคลื่นม่ค่าเท่ากับ  5  โวลต์

  • ค่าวัฏภาค  หรือเฟส    ตำแหน่งของคลื่นที่เกิดเมื่อเวลาเป็น  0  ค่าองศาของการเคลื่อนตัวของคลื่นจะมีค่าตั้งแต่  0  ถึง  360  องศา  ค่าวัฏภาคของคลื่นมีค่าเท่ากับ 0  องศา

                   การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไซน์ตามความถี่และแอมพลิจูดสามารถตรวจจับได้ด้วยเครื่องมือของมนุษย์   แต่การเปลี่ยนแปลงของค่าวัฏภาคจะไม่สามารถตรวจจับได้เลย   ความสำคัญของการวัดจะอยู่ที่ค่าความถี่และค่าแอมพลิจูด   ลักษณะของการเกิดของสัญญาณแอนะล็อกจะมีลักษณะเป็นคลื่นไซน์กล้องวงจรปิด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การกำหนดกราฟเพื่อแสดงค่าของสัญญาณ

                  การกำหนดกราฟเพื่อแสดงค่าของสัญญาณแอนะล็อกในแต่ละช่วงเวลาแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิด  คือ

  1. กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของคลื่นตามเวลาที่พิจารณา  เรียกว่า  โดเมนเวลา

  2. กราฟแสดงความถี่ของคลื่นสัญญาณต่าง  ๆ  เรียกว่า  โดเมนความถี่

คุณสมบัติของสัญญาณแอนะล็อก

                สัญญาณแอนะล็อกจะมีลักษณะที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสัญญาณที่สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ความถี่ของสัญญาณ    คือ  อัตราการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นกับเวลา

  • การเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น  ๆ  ของคลื่นสัญญาณ  แสดงว่าคลื่นสัญญาณมีความถี่สูง

  • การเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในระยะเวลานาน  ๆ  ของคลื่นสัญญาณ  แสดงว่าคลื่นสัญญาณมีความถี่ต่ำ

  • หากสัญญาณไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในช่วงเวลาหนึ่ง  ๆ  กล่าวว่า  ความถี่ของสัญญาณมีค่าเป็น  0

  • หากสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  กล่าวว่า  ความถี่เป็นอนันต์

  • สัญญาณแอนะล็อกที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันสามารถนำส่งในช่องสัญญาณเดียวกันได้  เรียกว่า  การรวมคลื่นสัญญาณ

การอ่อนแรงของสัญญาณแอนะล็อก

                    การส่งข้อมูลจะส่งได้ไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการส่ง   ถ้ากำลังการส่งมากระยะทางในการส่งก็จะสามารถส่งได้ไกล    เมื่อสัญญาณมีการเคลื่อนตัวไปตามสื่อ   

การสูญเสียกำลังไฟฟ้าย่อมเกิดขึ้นส่งผลให้ความคมชัดของสัญญาณลดน้อยลง   สภาวะนี้เรียกว่า   การอ่อนแรงของสัญญาณ   ระดับของสัญญาณมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบลใช้สัญญลักษณ์คือ dB 

อัตราส่วนอัลกอริทึมของกำลังไฟฟ้าที่จุดที่มีการรับสัญญาณที่ปลายทางต่อกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งสัญญาณต้นทาง   การส่งกำลังไฟฟ้าสู่วงจรเป็นจำนวนมากจะส่งผลให้เกิดการแทรกสอดของกำลังไฟฟ้า เรียกว่า 

การแทรดสัญญาณข้าม หรือครอสทอล์ก  เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องระมัดระวังในการสื่อสารข้อมูลทางไกล  หรือเทเลคอมมิวนิเคชัน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

สัญญาณดิจิทัล

สัญญาณที่สร้างขึ้นจากเครื่องกำเนิดสัญญาณหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า  เป็นสัญญาณข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ส่งข้อมูลไปบนสื่อ   เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์จอเทอร์มินอล  เป็นต้น  ลักษณะของสัญญาณมีรูปแบบไม่มีความต่อเนื่อง  กำลังไฟฟ้าที่ส่งเป็นจังหวะส่งที่ใช้แทนได้ด้วยเลข 0 และ 1   ใช้เป็นรหัสข้อมูลในระบบการสื่อสารนั่นเอง

ความชัดของกล้อง

รูปแบบของสัญญาณดิจิทัล

มีรูปแบบที่หลากหลาย  ก่อนการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนการส่งเสมอ   พิจารณาเทคนิคการเข้ารหัสเชิงล้นสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • การเข้ารหัสเชิงเส้นขั้วเดียว   (unipolar linear encoding)
  • การเข้ารหัสเชิงเส้นเชิงขั้ว   (polar  linear encoding)
  • การเข้ารหัสเชิงเส้นสองขั้ว (bipolar linear encoding)

การเข้ารหัสเชิงเส้นขั้วเดียว  (Unipolar linear encoding)

การส่งสัญญาณด้วยการใช้แรงงดันไฟฟ้าเพียงระดับเดียวแทนข้อมูลบิตที่มีค่าเป็น  1  และเมื่อบิตที่มีค่าเป็น  0 จะไม่มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สายเคเบิล

การเข้ารหัสเชิงเส้นเชิงขั้ว  (Polar  linear  encoding)

การปล่อยกระแสไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งระดับ  พิจารณาจากแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าเป็นบวก และลบ  รูปแบบสัญญาณดิจิทัลที่มีการเข้ารหัสเชิงเส้นเชิงขั้วสามารถแบ่งได้เป็น  4  วิธีหลัก ๆ  และแต่ละวิธีมีลักษณะเด่นดังนี้

  1. สัญญาณที่ไม่มีการคืนค่าสู่ศูนย์  (Non-Return to Zero)    เรีกยว่า  เอ็นอาร์แซท   สามารถแบ่งออกเป็น  2  วิธี คือสัญญาณที่ไม่คืนค่าสู่ศูนย์เชิงระดับ เรียกว่า  เอ็นอาร์แซทแอล 

    ระดับชั้นของสัญญาณจะขึ้นกับสถานะของบิตที่เกิดขึ้น ที่ไม่คืนค่าสู่ศูนย์เชิงผกผัน  เรียกว่า  เอ็นอาร์แซทไอ  รูปแบบสัญญาณจะผกผันเมื่อค่าของบิตมีค่าเป็น 1 เท่านั้น  เมื่อข้อมูลมีค่าเดียวไม่เปลี่ยนแปลงโอกาสที่จะแปลงค่าข้อมูลผิดจะมีน้อยลง

  2. การส่งและการรับสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและปลายทางอาจมีปัญหาการไม่ประสานจังหวะของสัญญาณนาฬิกา  การแก้ไขคือการเข้ารหัสเชิงเส้นเชิงขั้วที่มีการใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งระดับ   พิจารณาจากแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าเป็นบวก ลบ  และค่าศูนย์   มีการเปลี่ยนแรงดันทุกครึ่งจังหวะการส่งสัญญาณ 

  3. สัญญาณแมสเชสเตอร์    เป็นแบบสัญญาณที่มีความนิยมในการใช้งานมากที่สุด   ลักษณะของสัญญาณจะมีการเปลี่ยนแรงดันในระหว่างช่วงการส่งสัญญาณ  ในช่วงครึ่งจังหวะของสัญญาณมีการเปลี่ยนขั้วไฟฟ้าเพื่อประสานสัญญาณ  

  4. สัญญาณอนุพันธ์แมนเชสเตอร์       การเข้ารหัสสัญญาณมีลักษณะคล้ายกับการเข้ารหัสแมนเชสเตอร์  แต่จะมีการเปลี่ยนขั้วไฟฟ้ากลางช่วงบิตเพื่อประสานสัญญาณ   การเปลี่ยนหรือสลับกระแสเพื่อแทนข้อมูลหนึ่งบิตจะทำในช่วงแรกของการส่งบิต  

    หากมีการเปลี่ยนระดับขั้วไฟฟ้าในช่วงต้นบิตแสดงว่าข้อมูลที่ส่งมีค่าเป็น 0  ไม่เช่นนั้นจะมีค่าเป็น  1  การเปลี่ยนระดังขั้วไฟฟ้า  2  ครั้งเป็นการแทนข้อมูลบิต 0  และการเปลี่ยนขั้วไฟฟ้าเพียงครั้งเดียวจะแทนบิต 1

การเข้ารหัสเชิงเส้นสองขั้ว  (Bipolar  linear encoding)

การเข้ารหัสสองเส้นสองขั้วหรือ  เอเอ็มไอ  มีการเปลี่ยนระดับขั้วไฟฟ้าเป็นบวกหรือลบ  เมื่อข้อมูลมีค่าบิตเป็น 1    การเข้ารหัสแบบเชิงเส้นสองขั้วยังมีการพัฒนาอีกหลายวิธีที่สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละมากกว่า 1 บิตข้อมูลได้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การเข้ารหัสแบบบล็อก  (Block  coding)

                 รูปแบบของการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลดิจิทัลอีกแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น  และการเข้ารหัสมี  3  ขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นตอนที่  1    การแบ่ง   หมายถึง      ข้อมูลดิจิทัลที่ได้รับทั้งหมด  จะถูกนำมาแบ่งออกเป็นข้อมูลย่อยที่มีความยาว m บิต

  • ขั้นตอนที่  2   การแทนค่ารหัส    เป็นขั้นตอนหลักของการเข้ารหัสแบบบล็อก   โดยข้อมูลที่ถูกกแบ่งออกเป็นบล็อกขนาด m บิต  จะถูกส่งผ่านเข้าสู่การแทนค่าข้อมูล m บิตด้วยข้อมูลขนาด n  บิต

  • ขั้นตอนที่  3    การเข้ารหัสแบบเชิงเส้น   เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการส่งสัญญาณข้อมูลสู่ช่องสัญญาณ

ระดับข้อมูลและระดับสัญญาณ

การสื่อสารข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลจะเห็นว่าแรงขับกำลังไฟฟ้ามีหลายระดับ   การส่งสัญญาณข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแบบเชิงเส้นสองขั้ว  มีแรงดันข้อมูลเป็นบวก  ลบ  และศูนย์  ค่าของข้อมูลมีค่าเป็นศูนย์และหนึ่ง

ระดับสัญญาณในการส่งข้อมูลมีค่าเท่ากับสามและระดับข้อมูลมีค่าเท่ากับสอง เช่นเดียวกัน   ในขณะที่การส่งสัญญาณที่มีการเข้ารหัสเชิงเส้นเชิงขั้วแบบแมนเชสเตอร์จะมีการใช้แรงดันข้อมูลเป็นบวกและลบเท่านั้น  ส่วนข้อมูลมีค่าเป็น 0/1  จึงกล่าวว่าระดับสัญญาณมีค่าเท่ากับสองและระดับข้อมูลมีค่าเท่ากับ  2

 
 

Related link :   รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *