กล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง

กล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง แบบ IP Addressing

 IP Addressing หมายเลขไอพี คือเลขที่บอกที่อยู่เฉพาะของโหนดหรือโฮสต์ที่อยู่ในเครือข่าย รวมถึงคอมพิวเตอร์และเราท์เตอร์ (Router) ที่อยู่บนระบบเครือข่าย

หมายเลขนี้จะเป็นที่อยู่ในเลเยอร์ที่ 3 หรือชั้นเครือข่ายหมายเลขไอพีของแต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตามโฮสต์หนึ่งอาจจะมีหมายเลขไอพีได้

มากกว่าหนึ่งเลขหมายก็ได้ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการจัดการวงข่าย เช่น เราท์เตอร์ หรือเกตเวย์ เป็นต้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

กล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง

ปัจจุบันโปรโตคอล IP ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับกล้องวงจรปิดจะเป็นเวอร์ชั่น 4 หรือเรียกสั้นๆ ว่า “IPv4”  ซึ่งในเวอร์ชั่นนี้หมายเลขไอพีจะขนาด 32 บิต

เนื่องจากเลขฐานสอง 32 บิตเป็นตัวเลขที่ยาวและยากต่อการจดจำ ดังนั้นเพื่อเป็นการง่ายหมายเลขไอพีจึงนิยมเขียนให้อยู่ในรูปแบบด็อตเดซิมอล (Dotted Decimal Notation)

การเขียนให้อยู่ในรูปแบบนี้จะทำได้โดยการจัดกลุ่มเลขฐานสองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 บิต หลังจากนั้นให้แปลงเลขฐานสองของแต่ละกลุ่มให้เป็นเลขฐานสิบ

เมื่อแปลงเสร็จแล้วให้เอาเลขทั้งสี่ตัวมารวมกันโดยใช้จุดเป็นตัวเชื่อม ตัวอย่างเช่น เลขไอพี 10101 100 00010100 00000001 00011000 เขียนให้อยู่ในรูปแบบด็อตเดซิมอลได้เป็น 172.20.1.24 เป็นต้น

กล้อง IP กล้องวงจรปิด และ IP Addressing

ประเภทของหมายเลขไอพี

โปรโตคอลไอพีเวอร์ชัน (IPv4) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะแบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น 5 ประเภท (Class) คือ A, B, C, D และ E โดยหมายเลขไอพีทั้ง 32 บิต จะถูกจัดให้เป็น 2 กลุ่มดังนี้คือ

กลุ่มแรก จะเป็นตัวเลขที่ใช้บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) 

กลุ่มที่สอง จะเป็นตัวเลขที่ใช้บอกหมายเลขโฮสต์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ข้อกำหนดที่ใช้ในการแบ่งประเภทของหมายเลขไอพีมีดังนี้

  • Class A : สำหรับหมายเลขไอพีประเภท A หรือคลาสเอนั้น บิตแรกจะเป็นเลข 0 เท่านั้น และส่วนที่บอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) คือ 8 บิตแรก

    ดังนั้นจะมีได้ทั้งหมด 126 เครือข่าย (หมายเลขเครือข่าย 0 จะไม่ใช้) ส่วนอีก24 บิตที่เหลือจะเป็นเลขที่ใช้บอกหมายเลขโฮสต์ (Host ID)

    ดังนั้นในแต่ละเครือข่ายจะมีโฮสต์ทั้งหมด 16,777,124 เครื่อง (หมายเลข 0.0 และ 255.255.255 จะไม่ใช้) เนื่องจากเครือข่ายมีจำนวนน้อยมาก

    สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

    Line: @cctvbangkok.com
    ติดต่อทางเมลส์
    ติดต่อเฟสบุค
    ติดต่อยูทูป

    HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542



    เมื่อเทียบกับจำนวนโฮสต์ฉะนั้นหมายเลขไอพีประเภทนี้จึงไม่เหมาะสำหรับเครือข่ายกล้องวงจรปิดขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยหลายเครือข่ายเชื่อมต่อกัน เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต

    เพราะในการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายนั้นเราท์เตอร์จะใช้เฉพาะหมายเลขเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นเครือข่ายประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับเครือข่ายส่วนบุคคลมากกว่า

  • Class B : สำหรับหมายเลขไอพีประเภท B นั้นสองบิตแรกจะเป็น 10 เท่านั้น ส่วนหมายเลขเครือข่ายจะใช้ 16 บิตแรก ดังนั้นจะมีจำนวนเครือข่ายได้ทั้งหมด 16,382 เครือข่าย

    ส่วนอีก 16 บิตที่เหลือเป็นหมายเลขโฮสต์ ซึ่งจะทำให้ในแต่ละเครือข่ายมีโฮสต์ได้ทั้งหมด 65,534 เครื่อง

  • Class C : สำหรับประเภท C นั้นจะมีบิตเริ่มต้นเป็น 110 และเมื่อรวมกับอีก 21 บิตต่อมาก็จะเป็นหมายเลขเครือข่าย ซึ่งจะได้ทั้งหมด 2,097,152 เครือข่าย ส่วน 8 บิตสุดท้ายเป็นหมายเลขโฮสต์ ซึ่งมีทั้งหมด 254 เครื่อง

  • Class D : ส่วนประเภทที่สี่คือ เลขไอพีที่เริ่มต้นด้วย 1110 ซึ่งจะเป็นเลขไอพีที่ใช้สำหรับการมัลติคาสต์ (Multicasting) หรือสำหรับการส่งข้อมูลแบบมีโฮสต์ปลายทางหลายเครื่องแต่อาจจะอยู่คนละเครือข่ายกัน

  • ประเภทสุดท้าย คือเลขไอพีที่เริ่มต้นด้วย11110 เป็นหมายเลขที่สงวนไว้ใช้ในอนาคต หมายเลขเหล่านี้จะถูกกำหนดให้โดยศูนย์ข้อมูลเครือข่าย หรือ InterNIC (Internet Network Information Center)

 

 

Related link :   เครื่องควบคุมรั้วไฟฟ้ากันขโมย   ชุดควบคุมสัญญาณกันขโมย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *