ติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน เป็นเงินส่วนกลางที่ทำการเก็บจากบ้านแต่ละหลังทุกๆ เดือนจากสมาชิกที่อยู่ด้วยกันในหมู่บ้าน เพื่อความปลอดภัยของหมู่บ้าน

เงินที่จ่ายไปเพื่อทำการซื้อกล้องวงจรปิดมาใช้งาน ก็ควรที่จะได้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ กับงบประมาณที่กำหนดเอาไว้ การที่จะได้ซื้อก็อยากแสนเข็ญกว่าจะผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน

เพื่ออนุมัติการจัดซื้อ ดังนั้นเราก็ควรจะเลือกกล้องวงจรปิดให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ดีที่สุด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

สารบัญ 

  1. การเตรียมตัวก่อนติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน
  2. ขั้นตอนการสำรวจเพื่อใช้ติดตั้งกล้องวงจรปิด
  3. วิธีเลือกซื้อกล้องวงจรปิด สำหรับหมู่บ้าน
  4. การตรวจรับงานติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน
  5. การดูแลรักษากล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

 

ติดกล้องวงจรปิดในหมู่บ้านปิด

 

การเตรียมตัวก่อนติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

1.1 เอาเครื่องบันทึกเก็บไว้ที่ไหน

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าหากเรามีกล้องวงจรปิดไว้ใช้งานแล้ว เราควรจะเก็บเครื่องบันทึกเอาไว้ที่บ้านใครดี ที่จะสามารถดูแลรับผิดชอบเครื่องบันทึกได้

และทางลูกบ้านเองก็สามารถที่จะขอข้อมูลการบันทึกในภายหน้าได้ เพราะหากมีเหตุการณ์ที่จะต้องขอดูภาพแน่นอนว่าจะต้องเข้าไปทำการดึงข้อมูลที่หน้าเครื่องบันทึก

การจะเข้าไปในบ้านใครสักคน เจ้าของบ้านต้องอยู่และ ให้ความร่วมมือ แต่หากเจ้าบ้านอยู่บ้าง ไม่อยู่บ้างการจะเข้าไปในบ้านก็จะไม่สะดวก หรือบ้านที่เก็บเครื่องบันทึกไว้

อาจจะไม่ถูก กับเพื่อนบ้านบางคน ก็อาจทำให้การขอข้อมูลไปใช้ประโยชน์กับลูกบ้านอาจทำได้อยาก และไม่สะดวกมากนัก สิ่งนี้ต้องทำการเตรียม หรือพูดคุยกันให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน

1.2 ใช้ไฟจากที่ไหน

เครื่องใช้ไฟฟ้าแน่นอนว่าต้องใช้ไฟเลี้ยงเพื่อให้มันทำงาน ตัวกล้องวงจรปิดก็เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นระบบเดินสายสัญญาณ หรือแบบไร้สายสัญญาณ

มันก็จะต้องมีไฟไปเลี้ยงเพื่อให้ทำงานก่อนเสมอ ส่วนมากหมู่บ้านจะมีไฟทางที่ทำการติดตามแนวเสาไฟเอาไว้อยู่แล้ว ซื่งมักคิดว่าจะใช้ด้วยกันได้ ต้องบอกเลยว่าไม่ได้

ต้องเดินสายไฟฟ้าใหม่ เพราะไฟทางที่เดินอยู่มักจะมีการเปิด-ปิดไฟเป็นเวลา เช่นมักจะเปิดแค่ช่วงมืดๆ พอเช้าก็ปิดแล้ว ส่วนจะให้เปิดทั้งวันทั้งคืนก็ไม่ใช้เพราะค่าไฟก็แพงอยู่และไม่จำเป็น ดังนั้นงานกล้องวงจรปิดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งก็มักจะหนีไม่พ้นเรื่องของสายไฟ

โดยสายไฟที่เลือกใช้ก็ต้องเป็นสายไฟชนิดที่โยงตามเสาไฟฟ้าได้ ทนฝน ทนแดด ราคาก็จะสูงพอสมควร จะเลือกใช้สายสัญญาณที่มีสายไฟในตัวไปพร้อมกันก็ไม่เหมาะ

เพราะระยะการเดินสายสัญญาณก็ไกลเหลือเกิน หรือหากเป็นกล้องวงจรปิดชนิด IP ก็ต้องหาจุดวาง Switch และไฟมาเลี้ยงกล้องเหมือนกัน อย่างกรณี

เป็นงานหมู่บ้านใหญ่ๆ หรืองานที่เป็น อบต. ก็จะใช้วิธีการทำเรื่องขอหม้อไฟใหม่เลย แล้วให้ไปเรียกเก็บกับทาง อบต. โดยตรง อย่างนี้ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินสายไฟ

ตรงจุดนี้ทางคณะกรรมก็ควรจะมีการพูดคุยเป็นการภายในก่อนจุตจะติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน ด้วย เพราะผู้ออกแบบเองก็ต้องถามกรรมการเหมือนกัน

ว่าจะให้เอาไฟจากที่ไหนมาใช้ เป็นไปได้ก็อาจต้องหาผู้เสียสละให้ใช้ไฟได้ก็จะดี เพราะตัวกล้องวงจรปิดเองกินไฟไม่เยอะในแต่ละจุด


1.3 ใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด

นี้ก็เป็นอีกปัญหาที่อยากมีแต่ไม่มีใครต้องการรับผิดชอบดูแลเครื่องบันทึก หรือปัญหาที่เจอบ่อยๆ คือช่วงแรกๆ ที่ติดตั้งใหม่ก็พอจะมีลูกบ้านมาดูบ้าง แต่พอผ่านไปสัก 6 เดือน

ก็จะโดนทิ้งไป มาดูอีกทีก็ตอนที่ต้องการภาพที่บันทึก สิ่งที่ได้คือเครื่องเสียไปแล้วหรือฮาร์ดดิสไม่ทำงานขาดการบันทึกมาหลายเดือน

อาจเกิดจากการเข้าไปเล่นแล้วทำการคลิกผิดคลิกถูก ทำให้การบันทึกไม่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน หรืออาจเกิดจากตัวฮาร์ดดิสเองมีปัญหาไม่ทำงาน

จะเห็นได้ว่าผู้ที่รับผิดชอบต้องคอยหมั่นตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วยไม่จำเป็นต้องเป็นกล้องวงจรปิด


1.4 ควรเก็บเครื่องบันทึกอย่างไร

การเก็บและวางเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด ควรเป็นในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวกหน่อย หรือไม่ควรเป็นสถานที่มีฝุ่นเยอะๆ หลายๆ ที่

ก็มักจะวางเครื่องบันทึกเอาไว้ในตู้ที่มีช่องระบายลมบ้างก็จะได้ สังเกตุได้จากของ กทม. ทีมีการติดตั้งกันอยู่โดยทั่วไป อันนี้ก็จะเก็บไว้ในตู้

แต่หากเปิดออกมาก็จะมีฝุ่นอยู่มากพอสมควร เราก็ต้องขยันทำความสะอาดบ้างปีละ 2-3 ครั้ง แต่หากการว่างเครื่องบันทึกไว้ที่ป้อมยามส่วนมากก็จะวางเอาไว้บนตู้ หรือโต๊ะ รปภ.

อย่างนี้ก็พอจะได้อยู่แต่ก็ต้องระวังเรื่องการเข้าไปเล่นเครื่องแล้วกดผิดกดถูก แนะนำควรซื้อตู้ Rack ไว้ใส่เครื่องบันทึกให้เรียบร้อย

สวยงามจะดีมากช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากขึ้น ส่วนตัวกล้องวงจรปิดไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตัวกล้องวงจรปิดถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานภายนอกกันอยู่แล้ว เรื่องการทนฟ้า ทนฝน ทนแดด อันนี้สะบายไม่ต้องกังวล

 

กล้องในหมู่บ้าน


1.5 การติดตั้งกล้องวงจรปิดควรใช้มุมไหน

การเลือกจะติดตั้งกล้องวงจรปิดส่วนมากมีอยู่ด้วยกันสองแบบ คือ ลูกบ้านให้ผู้รับเหมาติดตั้งทำการวางจุดติดตั้งให้ กับอีกแบบก็คือทางลูกค้าหรือสมาชิกในหมู่บ้านทำการวางจุดติดตั้งกันไว้แล้ว

และขอคำปรึกษากับช่างกล้องวงจรปิดว่าเหมาะสมหรือป่าว โดยความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าลูกบ้านหรือสมาชิกทุกคนควรจะมีการพูดคุยเรื่องนี้กันไว้ก่อนก็จะดี

เพราะยิ่งสมาชิกภายในหมู่บ้านมีคนจำนวนมาก แน่นอนว่าความคิดเห็นก็จะมีมากเหมือนกัน แต่นั้นก็คือความคิดเห็นของคนทั้งหมู่บ้าน จะดีกว่าความคิดเห็นแค่ทีมงานช่างกล้องวงจรปิด

เพราะผู้อยู่อาศัยย่อมรู้และมีความต้องการที่อยากจะมองจุดไหนมากว่า เพราะอยู่กับพื้นที่มาตลอด ในส่วนของช่างกล้องวงจรปิดได้แค่แนะนำ มุมมองที่จะวางกล้องวงจรปิด เท่านั้น

การวางกล้องวงจรปิดควรว่างให้ครอบคลุมความต้องการทั้งหมดก่อนยังไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนกล้อง เมือว่างครบทุกมิติแล้วค่อยมาตัดตัวที่ไม่จำเป็น หรือมีการสอดรับกับจุดต่างๆ โดยรอบอีกที

เพื่อลดจำนวนกล้อง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องวงจรปิดลงไป ทีสำคัญคือผู้อยู่อาศัยต้องมีส่วนรวมในการกำหนดจุดติดตั้งก่อนเบื้องต้น

แค่เรื่องจุดติดตั้งก็ถือกว่าใช้เวลากว่าสรุปกันได้ก็กินเวลานานพอสมควรเหมือนกัน กว่าจะเรียกกรรมการมาประชุมร่วมกันได้ กว่าจะหาข้อสรุปในแต่ละจุด งานหมู่บ้านจะมีขั้นตอนใช้เวลานานอยู่


1.6 การดูผ่านมือถือทำได้อย่างไร

การติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยส่วนมากผู้ใช้งานต้องการที่จะดูภาพผ่านทางมือถือ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ แต่สำหรับการติตดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน หรือ อบต. ไม่จำเป็นต้องดูผ่านทางมือถือ

เพราะจะต้องมาเสียค่าใช้จ่ายในการขอสัญญาณอินเตอร์เน็ตอีก แนะนำควรซื้อจอมาต่อที่เครื่องแล้วแค่คอยสังเกตุว่ากล้องวงจรปิดและเครื่องบันทึกยังสามารถใช้งานได้อยู่ดีหรือป่าว

เบื้องต้น ไม่ต้องดูผ่านมือถือ หากแต่ว่าจุดว่างเครื่องบันทึก มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตพร้อมใช้งานกันอยู่แล้วก็สามารถทำการเซ็ตเพื่อดูผ่านมือถือได้ ส่วนท่านไหนจะดูบ้าง

ก็ต้องนำมือถือมาให้เจ้าหน้าทำการเซ็ตให้ หรือสอนการใช้งานต่างๆ ทีสำคัญคือต้องลากสายแลน มาเชื่อมกับตัวเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด


1.7 ต้นไม้มีการบดบังทำอย่างไร

ล้ำเข้ามาในถนน หลายๆ ที่ในการเข้าไปสำรวจหน้างานในหมู่บ้านหากเป็นหมู่บ้านใหม่ๆ ปัญหาของต้นไม่จะไม่ค่อยเจอเท่าไหร แต่หากเป็นหมู่บ้านที่เก่าแล้ว

สิ่งที่เจอในการออกแบบกล้องวงจรปิดคือต้นไม้ ที่มีการปลูกแล้วตัวกิ่งก้านล้ำออกมานอกถนน หรือเลยตัวเสาไฟฟ้า ส่วนมากก็จะแนะนำให้ทำการปรับแต่งกิ่งก้านบ้างนิดหน่อย

ซึ่งบางบ้านก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ใช้ทุกบ้าน บางบ้านก็ไม่ยอม ไม่ให้ความร่วมมือ เจอบ้านแบบนี้ก็จะต้องหาวิธีแก้กันอีกที่

อย่างเช่นต้องทำเป็นเสาซัพพอร์ตยึดกับเสาไฟฟ้ายื่นออกมาให้พ้นแนวต้นไม้ หรือบางครั้งก็ต้องทำการโยกมุมกล้องไปอีกฝั่งถนนเพื่อให้ได้มุมภาพที่ดีกว่า

ก็ต้องค่อยแก้กันไปทีละจุดที่ทำการวางกล้องวงจรปิด อันนี้ก็จะเป็นปัญหาในการออกแบบที่เจอกันอยู่เป็นประจำสำหรับงานติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ขั้นตอนการสำรวจเพื่อใช้ติดตั้งกล้องวงจรปิด


2.1 จุดติดตั้งหรือจุดเสี่ยง

ต้องมีการสำรวจให้ครบ อย่างเช่นหมู่บ้านมีทางเข้าออกกี่ทาง ประตูเล็กประตูใหญ่ แนวกำแพงในแต่ละด้านมีสภาพความเสี่ยงเป็นแบบไหน เช่น ติดป่ารกร้าง ติดชุมชน หรือติดกับอีกหมู่บ้าน

อันนี้ต้องดูความเหมาะสมว่าต้องใช้กล้องวงจรปิดกี่ตัว ระยะห่างประมาณกี่เมตรถึงจะหวังผลได้ มีแสงไฟเปิดหรือป่าวในเวลากลางคืน

ลักษณะการสัญจรเป็นอย่างไรบ้าง มีรถวิ่งหรือคนเดินตลอดหรือป่าว เราต้องสำรวจความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละจุดให้รอบด้าน


2.2 เมื่อมีการกำหนดจุดติดตั้งในแต่ละช่วงของพื้นที่ได้แล้ว

ทางเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจหน้างานก็จะทำการวัดระยะ และหาจุดวางอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อความเหมาะสมของการกำหนดลักษณะของกล้องวงจรปิดแต่ละตัว เช่นกล้องวงจรปิดชนิดหมุน

กล้องวงจรปิดชนิดยึดติดอยู่กับที่ หรือกล้องวงจรปิดชนิดภายในอาคาร การหาระยะในการเดินสายทางเจ้าหน้าที่ต้องมีเครื่องมีอวัดระยะ หากมามือเปล่าวันด้วยสายตา

อย่างนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยง สายสัญญาณที่ประเมินมาอาจจะไม่พอต่อการใช้งานจริงเกิดโอกาสการทิ้งงานได้สูง หรือประมาณสายมาเกินความจำเป็น ลูกค้าก็อาจจะได้ราคาอุปกรณ์ติดตั้งที่สูงเกินไป


2.3 แนวการเดินสายสัญญาณกล้องวงจรปิด

ผู้รับเหมาต้องทำการคุยรายละเอียดกับทางหมู่บ้านให้เป็นที่เรียบร้อยว่าเราจะเดินสายไปแนวไหน เดินอย่างไร ต้องมีการปรับพื้นที่ตัดต้นไม้

ตรงไหนบ้างหรือป่าวก็ทำการแจ้งให้บ้านที่มีผลกระทบรับทราบว่าเราต้องทำอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้


2.4 อุปสรรค์การทำงาน

ปัญหาของการทำงานภายในหมู่บ้านส่วนมากก็ไม่ควรเข้าไปทำงานในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เพราะทุกบ้านต้องการความสงบ ผักผ่อน

เราก็ต้องเข้าไปทำในวันทำงานทั่วๆ ไป การเดินสายสัญญาณไปตามเสาไฟฟ้าหากเป็นการรบกวนผู้อยู่อาศัยมากนัก ก็ควรจะขออนุญาติเจ้าของบ้านซักหน่อยหากเรากำลังทำงานอยู่บริเวณหน้าบ้านของเขา


2.5 ทำใบเสนอราคา

หากมีการสำรวจหน้างานเป็นที่เรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะกลับมาทำใบเสนอราคาให้กับทางคณะกรรมการหมู่บ้านรับทราบเป็นลำดับถัดไป

ซึ่งหากทางคณะกรรมการหมู่บ้านรับได้ในราคาที่เสนอไป ก็อาจจะนัดเพื่อทำการสาธิตสินค้าที่จะติดตั้งให้ดูก่อนที่จะตัดสินใจกันอีกที

หากมีของสงสัยก็สามารถซักถามได้อย่างเต็มที่ในเรื่องของสเปคและแนวการเดินสายสัญญาณแต่ละจุด เรื่องของการสาธิตสินค้า

ต้องดูสินค้าที่เสนอมาให้ทางคณะกรรมการด้วยว่าราคาไปได้หรือป่าว หากเกินงบ หรือต่ำกว่างบก็ควรทำการเปลี่ยนสเปคให้สูงขึ้น หรือต่ำลง เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า แล้วถึงจะค่อยนัดสาธิตสินค้า

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

วิธีเลือกซื้อกล้องวงจรปิด สำหรับหมู่บ้าน


3.1 แบบมีสาย

เป็นลักษณะการใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า สาย RG6, สาย Fiber Opitc สาย LAN และสายไฟ ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้องวงจรปิดที่ทางคณะกรรมการหมู่บ้านเลือกใช้ว่าเป็นแบบไหน

ก็จะหนีไม่ต้องสายสัญญาณและสายไฟ เพราะต้องใช้ประกอบกัน เริ่มตั้งแต่จุดวางเครื่องบันทึก ไปยังจุดกล้องวงจรปิดที่วางเอาไว้ในแต่ละจุด หากจุดกล้องอยู่ไกล

แน่นอนสายสัญญาณก็จะทำการเดินลากสายไปไกลเหมือนกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายการลากสายไกลๆ ของกล้องแนะนำหาจุดที่เหมาะสมไม่ไกลมาก


3.2 แบบไร้สาย เป็นลักษณะของการไม่ใช้สายสัญญาณ

แต่ก็ต้องใช้สายไฟ เพื่อทำการเลี้ยงกล้อง มีหลายหมู่บ้านมักนิยมออกแบบงานกล้องด้วยการไม่ใช้สายสัญญาณแต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วทั้งราคาและอายุการใช้งาน

ส่วนมากก็จะเปลี่ยนเป็นการเดินสายสัญญาณ งานกล้องวงจรปิดสำหรับหมู่บ้านหากต้องการติดตั้งแบบไร้สาย ต้องทำการออกแบบจากผู้เชียวชาญโดยเฉพาะ

อาจต้องเป็นการออกแบบลักษณะของการผสมกันระหว่างการใช้สาย และไร้สายกัน บางจุดหากเปรียบเทียบแล้วไม่คุ้มกับการเดินสาย ก็ต้องทำการออกแบบไร้สาย


3.3. กล้องวงจรปิดแบบ Analog หรือ IP

ส่วนมากกล้องวงจรปิดในหมู่บ้านแนะนำควรใช้เป็นกล้องชนิด IP เพราะจะง่ายในการเดินสายและในอนาคตก็สามารถเพิ่มกล้องได้อีกอย่างไม่จำกัด โดยการตั้ง Switch

แลัวกระจายกล้องออกไป แต่ข้อเสียคือราคาอาจจะสูงกว่าต้อง Analog แต่ระยะยาวไอพีดีกว่า ส่วนกล้องชนิด Analog การเดินสายก็จะใช้เป็นสาย RG6 ลากจากเครื่องบันทึก

ไปยังกล้องวงจรปิดเส้นใครเส้นมัน หากว่ากล้องที่มีจำนวนมาก เช่นสัก 60 ตัว สายสัญญาณก็จะไปลงที่เครื่องบันทึก 60 เส้นเหมือนกัน แต่หากเป็นกล้อง IP สามารถลดลงได้ ไม่ให้ดูเยอะ


3.4 ความละเอียดของภาพ

กล้องวงจรปิดหากมีความละเอียดยิ่งมาก ภาพที่ได้ก็จะยิ่งชัดมากยิ่งขึ้น นั้นก็หมายความว่าความละเอียดของกล้องวงจรปิดที่สูงขึ้นทำให้ราคาสูงตามไปด้วย

แน่นอนว่าใครๆ ก็ต้องการความละเอียดที่สูงเพื่อได้ภาพที่ชัดๆ อันนี้ก็ต้องดูว่าพื้นที่แต่ละจุดควรใช้ความคมชัดแบบไหนด้วยเหมือนกันครับอย่างเช่นภายในสำนักงาน

ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกที่ชัดมากก็ได้ความละเอียดแค่ 1 ล้านก็ชัดแล้ว จะได้ช่วยลดค่าใช้จ่าย หรือบางจุดอย่างบริเวณสามแยก มีกล้องที่ติดแค่ตัวเดียว

แต่มีความคาดหวังว่าจะต้องเป็นภาพที่ชัด แน่นอนเราต้องเพิ่มความละเอียดของกล้องเข้าไปได้เลยสัก 4-5 ล้านพิกเซล

 

กล้องวงจรปิดทางเข้าออก

 

3.5 กล้องภายใน กล้องภายนอก

ส่วนมากกล้องวงจรปิดที่เลือกใช้สำหรับหมู่บ้านจะเป็นชนิดภายนอกที่สามารถทนแดด ทนฝน ส่วนกล้องชนิดภายในก็จะเป็นลักษณะโดมเหมาะสำหรับติดตั้งภายในสำนักงาน

เพราะอาจจะทนฝนทนแดดไม่ดีเท่าที่ควร อีกอย่างกล้องวงจรปิดสำหรับภายนอกต้องสังเกตุดูด้วยนะครับว่าวัสดุที่ใช้เป็นแบบไหน

บ้างครั้งผู้จำหน่ายก็มักจะเอาของถูกๆ ให้ซื่งตัวกล้องก็จะใช้วัสดุเป็นพลาดติก ระยะยาวอาจไม่ดีหากเจอแดดมากๆ ทำให้เสียหายได้ง่าย

บางที่ก็เลือกกล้องที่ใช้การผลิดแบบเป็นโลหะ อันนี้ก็จะดีหน่อยอายุการใช้งานก็นานขึ้น ดังนั้นต้องสังเกตุเรื่องของวัสดุที่ใช้ด้วยว่าเป็นแบบไหน อย่าดูแต่ราคาเป็นหลัก หากเป็นกล้องภายใน อันนี้สามารถเป็นพลาสติกได้


3.6 ระยะอินฟาเรด

เป็นอีกเรื่องที่ผู้ใช้งานมักจะสอบถามอยู่เป็นประจำว่ากล้องที่เสนอได้ระยะอินฟาเรดเท่าไหร ส่วนมากหากเป็นงานหมู่บ้านระยะก็ไม่ควรต่ำกว่า 30 เมตร

ยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่เราก็ต้องดูเรื่องของจุดติดตั้งด้วยกว่าเป็นอย่างไร เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกค้าเลือกระยะอินฟาเรดที่ 50 เมตร เมื่อติดไปแล้ว

ภาพที่ได้ตอนกลางคืนเป็นภาพขาวดูไม่รู้เรื่อง ส่วนตอนกลางวันภาพสวยงามคมชัดมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนก็คือตัวอินฟาเรดมีความแรงมาก

ส่องไปกระทบกับใบใม้ที่อยุ่ไม่ไกลมาก ทำให้แสงกระทบกับมาที่ตัวกล้องอย่างจัง ทำให้ได้ภาพเป็นสีขาว วิธีแก้ก็แค่ไปตัดแต่งกิ่งไม้แนวที่ไปกระทบ

ภาพที่ได้ในเวลากลางคืนก็ดีขึ้น มีอีกกรณีเรื่องของกล้องอินฟาเรด กล้องรุ่นเดียวกัน ระยะอินฟาเรดเท่ากัน แต่ในเวลากลางคืนภาพที่ได้มีความชัดไม่เท่ากัน

อันนี้เกิดจากบางตัวแนวกันติดตั้งส่องไปกระทบวัตถุที่ไม่ไกลมากเป็นระยะที่อินฟาเรดส่องถึง ภาพทีได้ก็จะชัดเจน แต่อีกกล้องติดตั้งส่องออกไปเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีสิ่งกระทบอะไรเลย

ภาพที่ได้เลยทำให้ดูไม่ชัด ให้สังเกตุเหมือนเราเอาไฟฉายส่องไปไกลๆ ไม่มีสิ่งกระทบ เราก็มองอะไรไม่เห็น แต่หากเราเอาไฟฉายส่องไปในจุดที่จะมองระยะส่องถึงก็จะมีภาพที่ชัดขึ้น


3.7 การรับประกันสินค้า

กล้องวงจรปิดมีการรับประกันในปัจจุบันประมาณ 2-3 ปี แล้วแต่ยี่ห้อว่าใครให้มากให้น้อย และเงื่อนไขการรับประกัน ส่วนมากการรับประกัน

ตัองเกิดจากการเสียหายโดยตัวของมันเอง ไม่ใช่เกิดจากไฟซ้อต ฟ้าผ่า หนูกัดสาย หรือใครไปทำให้เกิดการเสียหาย ส่วนการรับประกัน

เพื่อทำการตรวจเช็คให้ฟรีอันนี้ก็น่าจะประมาณ 1 ปี ต้องแยกกันนะครับระหว่างตัวสินค้ารับประกัน 3 ปี ส่วนบริการหลังการขายรับประกัน 1 ปี

ส่วนมากก็จะเป็นกันแบบนี้หากมากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับการต่อรองและเงื่อนไขของแต่ละที่ เมื่อหมดประกันหลังการขาย 1 ปี หากมีเหตุกล้องดับ กล้องเสีย หรืออยากให้เข้าไปตรวจเช็ค ก็จะทำการเสียค่าใช้จ่ายกัน


3.8 การเลือกเครื่องบันทึก

ตัวเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิดมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 4,8,16,32,64 หรือมากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความต้องการใช้งานของหมู่บ้าน

ขอแนะนำว่าเลือกเครื่องบันทึกไว้ใช้งานเท่าที่จำเป็นไม่ต้องเผื่อไว้ เพราะเครื่องบันทึก และกล้องวงจรปิดจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอด

การซื้อเครื่องบันทึกเผื่อเอาไว้เลยไม่จำเป็น เอาไว้หากต้องการจะเพิ่มก็ค่อยซื้อใหม่


3.9 การเลือก ฮาร์ดดิสก์

สำหรับการบันทึกภาพที่ได้จากกล้องวงจรปิดแน่นอนว่าหากเราเลือกใช้กล้องวงจรปิดที่มีความคมชัดสูง ก็จะทำให้เราเปลี่องข้อมูลการบันทึกได้ครับ

เพราะกล้องที่มีความคมชัด 1 ล้าน กับกล้องที่มีความคมชัด 5 ล้าน มีขนาดของภาพที่ไม่เท่ากัน ตัวฮาร์ดดิสก็ ก็ใช้ไม่เท่ากัน อันนี้ก็ต้องทำการคำนวนด้วยว่าควรใส่หน่วยความจำเท่าไหร

ส่วนมากทางคณะกรรมการต้องกำหนดมาเลยว่าต้องการบันทึกกี่วัน เช่น 15,30,60 วัน แล้วแต่ความต้องการยิ่งบันทึกมากๆ วัน เราก็ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์เพิ่มเข้าไปเยอะ ราคาก็จะสูงขึ้นมากตามไปด้วย

 

รั้วไฟฟ้ากันขโมย

ติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจรับงานติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน

เมื่อมีการตัดสินใจเลือกผู้รับเหมาะ เมื่อมีการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นการตรวจรับสินค้า ตรงนี้เราก็เริ่มดูตั้งแต่รุ่นที่ติด กับที่สั่งซื้อตรงกันหรือป่าว

เริ่มตั้งกล้องตัวกล้องวงจรปิด ตัวเครื่องบันทึก ฮาร์ดดิส ชนิดสายสัญญาณ สายไฟ และลักษณะจุดเชื่อมต่อ จุดพักสายว่ามีการเก็บงานเรียบร้อยครบถ้วนหรือไม่

แนวการเดินสายมีการดึงสายเก็บสายเรียบร้อยดีไหม สายไฟมีการพันเทปเข้าสายเรียบร้อยหรือยัง ฝาบ็อกมีการเก็บงานปิดน็อตเรียบร้อยหรือป่าว

คณะกรรมการต้องขยันเดินตรวจเช็คกับผู้รับเหมาะกันแต่ละจุดเลยครับ เพื่อความเรียบร้อยในการส่งมอบงาน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การดูแลรักษากล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน


5.1 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องบันทึกและกล้องวงจรปิดอย่างสม่ำเสมอ

โดยเฉพาะเรื่องของการบันทึกข้อมูล ว่าเครื่องมีการบันทึกอยู่ดีหรือป่าวหลายๆ ที่เข้าใจว่าภาพขึ้นครบ ภาพคมชัด ก็คิดว่ายังใช้งานได้ดีอยู่

สุดท้ายมารู้เอาตอนเกิดเหตุอยากได้ภาพที่ต้องการบันทึกแต่สุดท้ายก็ไม่มีภาพ การตรวจเช็คเครื่องบันทึกเราต้องดูข้อมูลการบันทึกทั้งในเวลากลางคืน และในเวลากลางวันยังทำงานปรกติอยู่หรือป่าว


5.2 ทำความสะอาดตัวเครื่องบันทึก และหน้าเลนส์ของกล้องวงจรปิด

การปัดฝุ่น เช็ดหน้าเลนส์กล้องวงจรปิดเราควรทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน หลายครั้งที่ติดตั้งไปแล้วภาพไม่ชัดอาจเกิดจากตัวฝุ่นเกาะที่หน้ากล้องมากจนเกินไป

ทำให้เราได้ภาพไม่ดี แค่ทำการเช็ดด้วยผ้าสะอาดๆ ก็ดีขึ้นแล้ว หรือตัวเครื่องบันทึกวางเอาไว้นานๆ ด้านหลังเครื่องก็จะมีฝุ่นมาเกาะ อาจทำให้เกิดการเสียหายได้

บ้างครั้งแม่บ้านเองก็ไม่กล้าทำความสะอาดเพราะแค่เอาไม้กวาดไปโดนสายก็อาจทำให้ภาพหายไป เลยไม่ค่อยมีใครกล้าทำความสะอาดบริเวณที่วางเครื่องบันทึกกันครับ

แนะนำว่าทำไปเลยหากมันดับก็แค่ขยับใหม่ หากดับแล้วดับเลยก็เรียกช่างเข้ามาเช็คสาย เข้าหัวใหม่ไปเลยครับ หากอยู่ในช่วงประกันปีแรก การทำความสะอาดเครื่องบันทึกอาจใช้ผ้าสะอาดเช็ดๆ และใช้เครื่องดูดฝุ่น ให้เรียบร้อย


5.3 ตรวจสอบสายที่ทำการเชื่อมต่อตั้งแต่ เครื่องบันทึก, กล้องวงจรปิด และจุดเชื่อมต่ออื่นๆ

จุดเชื่อมต่อของสายสัญญาณกล้องวงจรปิดส่วนมากหากมีการเชื่อมต่อจะต้องเชื่อต่อในบ็อกพักสายเพื่อเป็นที่รู้กันหากเกิดปัญหาจะได้ตรวจเช็คได้

หากทำการเชื่อมต่อลอยเอาไว้จะทำให้ทำการตรวจเช็คอยากมากๆ ครับ อันนี้ก็แนะนำผู้รับเหมาะด้วยเหมือนกันในการทำงาน เพราะหากนานวันอาจมีการเปลี่ยนผู้รับเหมาะ

หรือติตต่อผู้รับเหมารายเดิมไม่ได้แล้ว รายใหม่มาก็จะได้ง่ายต่อการทำงาน จุดเชื่อมต่อมาใช้ไปนานๆ มักจะเกิดปัญญาเรื่องของการคลายตัว

อาจทำให้ภาพขาดๆ หายๆ หากเจอจุดเชื่อมต่อก็ควรทำการพันผ้าเทปใหม่ก็จะดีให้แน่นหนาดีขึ้น


5.4 ตรวจเช็คจุดจ่ายไฟจาก Adapter กล้องดับ กล้องเสียส่วนใหญ่เกิดจาก Adapter

เกิดการเลื่อมสภาพ เพราะอายุการใช้งานของ Adapter น่าจะไม่เกิน 2 ปี ก็ควรเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว แต่ส่วนมากก็จะใช้กันจนพังกันไปข้างหนึ่งดูว่า กล้องจะไปก่อน

หรือตัวอะแดปเตอร์จะไปก่อน การดูแลที่ดีที่สุดก็ควรจะมีตัว UPS เอาไว้ใช้งานสักลูกเพื่อป้องกันไฟตก ไฟกระชาก ช่วยยืออายุการใช้งานของตัวกล้องและเครื่องบันทึก

แต่อย่างที่ทราบตัว UPS ก็มีอายุการใช้งานเหมือนกันประมาณ 2 ปี อันนี้ก็แล้วแต่ผู้ใช้บริการว่าเหมาะสมกับการลงทุนหรือป่าวหากเป็นพื้นที่ต่างจังหวัดเกิดไฟดับ ไฟตกบ่อยๆ ก็แนะนำมีไว้ก็ดีครับ

 



Related link : สัญญาณกันขโมยไร้สาย      อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *