กล้องวงจรปิดแบบไหนดี

กล้องวงจรปิด Hiview และการเชื่อมต่อสื่อสารของช่องสัญญาณ

กล้องวงจรปิด Hiview ซึ่งเป็นแบรนด์ของคนไทย มีจุดเด่นหลายประการที่ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการติดตั้งใช้งานในบ้านหรือสถานประกอบการ จุดเด่นสำคัญ ๆ ของกล้องวงจรปิด Hiview 

1. ความละเอียดของภาพสูง  ให้ภาพที่ชัดเจนและมีรายละเอียดสูง เหมาะสำหรับการจับภาพในพื้นที่ที่ต้องการความชัดเจน

2. การออกแบบที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในไทย  มีความทนทานต่อสภาพอากาศเปียกชื้นและร้อนจัด

3. รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย  สำหรับการติดตั้งที่สะดวกและยืดหยุ่นโดยไม่ต้องเดินสาย

4. ฟังก์ชันตรวจจับการเคลื่อนไหว  เพื่อการแจ้งเตือนและบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ

5. การมองเห็นในที่มืด  มีคุณสมบัติการมองเห็นในที่มืดที่ช่วยให้สามารถจับภาพได้แม้ในสภาวะแสงน้อย

6. การเข้าถึงและควบคุมระยะไกล  สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเพื่อดูและควบคุมกล้องจากระยะไกล

7. ระบบเสียงสองทาง  สามารถสื่อสารได้ทั้งสองทางผ่านกล้อง

8. การอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ  ช่วยให้ระบบปลอดภัยและทันสมัย

9. การสนับสนุนจากทีมงานในไทย  สำหรับการบริการหลังการขายและการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว

10. คุ้มค่ากับราคา  มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพและคุณสมบัติที่ได้รับ

การเลือกกล้องวงจรปิด Hiview สำหรับการใช้งานทั้งในบ้านและสถานประกอบการในไทย เป็นทางเลือกที่ดีเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติและการออกแบบที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศ.

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

เทคโนโลยีการสลับกลุ่มข้อมูลมีการทำงานด้วยการแบ่งส่วนของข้อมูลออกเป็นกลุ่มข้อมูลย่อย เรียกว่า กลุ่มข้อมูล  หรือแพ็กเก็ต  แต่ละกลุ่มข้อมูลจะถูกส่งออกสู่เครือข่ายอย่างอิสระไม่ขึ้นต่อกัน 

กลุ่มข้อมูลที่ถูกส่งไปสู่เครือข่ายที่ต้องการส่งจากแหล่งข้อมูลต้นทาง และข้อมูลเพื่อควบคุมการส่งไปอย่างถูกต้องโดยโหนดบนเครือข่ายจะตรวจสอบก่อนกลุ่มข้อมูลนั้นจะถูกส่งต่อไปยังโหนดถัดไปหรือปลายทางที่ต้องการ 

และเมื่อถึงปลายทางครบถ้วนแล้วแหล่งรับข้อมูลจะดำเนินการรวมกลุ่มข้อมูลให้เป็นข้อความต้นฉบับที่มีลักษณะเหมือนข้อความที่แหล่งข้อมูลต้นทางต้องการส่ง   

 

กล้องวงจรปิด Hiview

กล้องวงจรปิดชนิดโดม

 

การรวมกลุ่มข้อมูลสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์  เรียกว่า  อุปกรณ์การรวม / การแยกกลุ่มข้อมูล  หรือแพด  จะถูกติดตั้งที่เครื่องส่งข้อมูลต้นทางหรือโหนดบนเครือข่ายระหว่างการส่งข้อมูลก็ได้

ชนิดของการเชื่อมต่อ

การส่งข้อมูลด้วยวงจรสลับกลุ่มข้อมูลสามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น  3  รูปแบบ  ดังนี้

  • แพ็กเก็ต   ข้อมูลที่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูลขนาดเล็กเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งส่งข้อมูลต้นทางกับโหนดตำแหน่งใกล้เคียงแหล่งส่งต้นทางมากที่สุดในเครือข่ายหรือพีดีเอ็นจะถูกตั้งขึ้น  

    โหนดปลายทางจะถูกระบุและพีดีเอ็นจะสร้างวงจรสลับหรือเอสวีซีขึ้น  เมื่อการส่งสิ้นสุดลงเส้นทางการเชื่อมต่อจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ  สรุปว่าเส้นทางการเชื่อมต่อประเภทเอสวีซีใช้ในกรณีที่การส่งกลุ่มข้อมูลเป็นการส่งในระยะสั้นๆ 

  • การส่งกลุ่มข้อมูลจำนวนมากและบ่อยครั้ง      เส้นทางการเชื่อมต่อพีวีซีหรือวงจรเสมือนถาวรถูกสร้างแทนเอสวีซี   ทำหน้าที่คล้ายช่องทางสัญญาณที่มีราคาถูก

  • การเชื่อมต่อวิธีสุดท้าย    การเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลด้วยเดทาแกรม   เป็นวิธีที่เหมาะกับการส่งข้อความขนาดเล็กมาก   ผู้ใช้งานต้องควบคุมการเกิดความผิดพลาดที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา   รวมถึงข้อมูลที่สูฐหายระหว่างการสื่อสารอีกด้วย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ตัวผกผันช่องสัญญาณ

                กรณีจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์หรือหน่วยงาน  2  จุดไม่มีการติดตั้งวงจรความเร็วสูง    การส่งข้อมูลระหว่างจุดด้วยความจุปริมาณมากนั้นย่อมไม่สามารถทำเพราะข้อมูลจะล้นช่องสัญญาณและเกิดการสูญหายและการเชื่อมต่อสื่อสารของช่องสัญญาณ

ด้วยเหตุนี้ตัวผกผันช่องสัญญาณจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกระแสข้อมูลความเร็วจากวงจรต้นทางเป็นกระแสข้อมูลความเร็วต่ำที่สามารถส่งสู่วงจรที่เชื่อมต่อระหว่างจุดปลายทางและทำหน้าที่ในการแปลงวงจรข้อมูลความเร็วต่ำเป็นกระแสข้อมูลความเร็วสูงสู่วงจรรับข้อมูลปลายทางได้

เงื่อนไขการเกิดความผิดพลาดในวงจรการสื่อสาร

โดยทั่วไปการสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือทางไกลก็ตาม  การเลือกใช้สื่อชนิดกำหนดทิศทางได้หรือไม่สามารถกำหนดทิศทางได้   ก็อาจเกิดความผิดพลาดภายในวงจรการสื่อสารได้    ซึ่งความผิดพลาดมีโอกาสเกิดนั้นสามารถวา

  1. เสียง / สัดญญาณรบกวนไวต์    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เสียง / สัญญาณรบกวนเกาส์เซียน    ความผิดพลาดที่การสื่สารที่การแทรกสอดของสัญญาณโดยเกิดการแทรกสอดมีจังหวะในการเกิดคงที่ 

    ลักษณะการเกิดสามารถกำหนดกลไกในกำจัดสัญญาณแทรกสอดออกจากสัญญาณข้อมูลได้โดยง่าย

  2. เสียง / สัญญาณรบกวนอิมพัลส์   เป็นความผิดพลาดที่มีลักษณะคล้ายกับสัญญาณไวต์  แตกต่างกันที่จังหวะในการเกิดไม่คงที่  และไม่สามารถคาดเดาได้  

    การกำจัดสัญญาณแทรกสอดนี้ออกจากสัญญาณข้อมุลจึงทำได้ยาก  เพราะจังหวะในการเกิดของสัญญาณไม่คงที่

  3. การอ่อนตัวของสัญญาณ     ลักษณะของการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะไกลทำให้กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งข้อมูลมีความอ่อนตัวลงจากแหล่งข้อมูลเดิม 

    ส่งผลให้รูปร่างของสัญญาณไม่มีความคมชัด  ยากต่อการรับสัญญาณข้อมูลจากแหล่งรับข้อมูลปลายทาง  การแก้ไข  การพัฒนาติดตั้งเครื่องกระตุ้นสัญญาณระหว่างเส้นทางการสื่อสารระยะไกล

  4. การบิดเบือนของรูปสัญญาณ     ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสัญญาณข้อมูลจากปัจจัยหรือผลกระทบจากภายนอก  เช่น  การแทรกสอดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   หรือ  การชนกันของสัญญาณข้อมูลในช่องทางการสื่อสาร  เป็นต้น

  5. การบิดเบือนของซองความหน่วง     ปรากฏการณ์เกิดเมื่อการกระจายความถี่ในวงจรการสื่อสารไม่มีความเร็วเดียวกัน   ค่าความหน่วงของการแพร่กระจายของวงจรไม่สัมพันธ์กัน 

    การเกิดปรากฏการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นหากคลื่นที่มีการบิดเบือนความหน่วงวิ่งผ่านตัวกรองการรบกวนของสัญญาณซึ่งมีการติดตั้งไว้เพื่อช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัดมากขึ้น  ผลที่เกิดคือการบิดเบือนของค่าความหน่วงจะมีมากขึ้นกว่าเดิม

  6. การแปรเปลี่ยนของวัฏภาค    การเปลี่ยนแปลงค่าวัฏภาคของคลื่นสัญญาณโดยนำคลื่นสัญญาณ   ปัญหานี้จะเกิดเมื่อมีการใช้การกล้ำสัญญาณข้อมูลด้วยเทคนิคการเปลี่ยนค่าวัฏภาค  

    การปรับเปลี่ยนค่าในทันทีสามารถส่งผลให้อุปกรณ์กล้ำสัญญาณไม่สามารถรับรู้การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นนั้นได้

  7. เสียงสะท้อน     สภาวะการย้อนของสัญญาณสู่แหล่งข้อมูลต้นทาง    ซึ่งเกิดเมื่อมีกระแสไฟฟ้าย้อนกลับในวงจรการสื่อสารที่จุดปลายของวงจรการสื่อสารนั้น  ๆ  ที่จุดระหว่างกลางวงจรการสื่อสาร  

    ผลที่เกิดของการย้อนกลับของสัญญาณ  คือบิตข้อมูลในช่องสัญญาณอาจเปลี่ยนไปจากเดิม   หรือก่อให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้   วงจรการสื่อสารบางวงจรมีการติดตั้งอุปกรณ์ระงับการสะท้อนกลับ  เรียกว่า  เครื่องระงับการสะท้อนเพื่อกำจัดเสียงสะท้อนที่อาจเกิดในขณะสื่อสารได้

  8. การแทรกสัญญาณข้ามวงจรหรือครอสทอล์ก     การแทรกสอดที่เกิดจากช่องทางส่งสัญญาณหนึ่งสู่ช่องสัญญาณอีกช่องทางหนึ่ง   การเกิดการแทรกสัญญาณข้ามวงจรนี้มีสาเหตุมาจากกำลังในการส่งสัญญาณในวงจรหนึ่ง 

    มีมากกว่ากำลังในการส่งสัญญาณของอีกวงจรที่ใกล้เคียงกัน   อาจมีสาเหตุมาจากการทำมัลติเพล็กซ์ของคลื่นความถี่ของสัญญาณข้อมูลที่มีความใกล้เคียงกันมาก

  9. การขาดหายของสัญญาณ    เมื่อวงจรการสื่อสารหยุดชะงักการส่งข้อมูลชั่วคราวอย่างกะทันหัน   มีสาเหตุมาจากการขาดกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงวงจรอย่างกะทันหัน   

    ทั่วไปการขาดหายของสัญญาณนี้จะเกิดเพียงชั่วขณะเป็นระยะสั้น  ๆ  เพียงไม่กี่วินาทีแล้วสภาวะการสื่อสารก็จะกลับคืนสู่ปกติ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การป้องกันความผิดพลาดในวงจรการสื่อสาร

กล้องวงจรปิดการสื่อสารมีสภาวะเปราะบางและได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ผละกระทบเกิดขึ้นจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลได้  จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในวงจรการสื่อสารอันสืบเนื่องจากปัจจัยต่าง  ๆ   ดังนี้

  1. การควบคุมตรวจสอบสถานะของเส้นทางการสื่อสารเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในวงจรการสื่อสารได้   หากสถานะของเส้นทางการสื่อสารที่มีความคับคั่งส่งผลให้โอกาส

    ในการชนกันของสัญญาณข้อมูล  ส่งผลให้รูปแบบของสัญญาณข้อมูลผิดพลาดไปจากเดิม  หรือสัญญาณข้อมูลสูญหายไประหว่างการสื่อสารได้ง่าย

  2. การหุ้มห่อช่องทางการสื่อสาร     การสื่อสารเป็นการใช้สื่อประเภทกำหนดทิศทาง   ประเภทของสายสัญญาณที่ใช้เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องป้องกันไม่ให้เกิดโอกาสในการแทรกซ้อนของคลื่นสัญญาณต่างๆ  ได้ 

    หากสายเคเบิลใช้แกนทำจากลวดทองแดงเพื่อใช้นำไฟฟ้าแล้ว   เกิดการแทรกสอดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีสูงมากจึงจำเป็นต้องพัฒนาการหุ้มห่อสื่อด้วยฉนวนประเภทต่างๆ  

    ที่สามารถป้องกันไม่ให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากหม้อแปลงผลิตไฟฟ้าทางการสื่อสาร      ส่งผลกระทบต่อสัญญาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ภายในเส้นลวดนำสัญญาณเหล่านั้นได้

  3. การเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมต่อ    ประเด็นหลักที่สำคัญในการสื่อสารคือระยะทางการสื่อสาร    เป็นที่ทราบกันว่าหากระยะทางการสื่อสารไกลมากสัญญาณข้อมูลจะมีการอ่อนตัวลงส่งผลให้ปลายทางไม่สามารถรับสัญญาณข้อมูลได้  

    จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องกระตุ้นสัญญาณการส่งสัญญาณแอนะล็อก   และเครื่องทวนสัญญาณสำหรับสัญญาณดิจิทัลเพื่อสนับสนุนให้การสื่อสารสามารถทำได้ในระยะทางไกล  การตรวจสอบสายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อเป็นระยะ 

    จะช่วยให้ศักยภาพในการเชื่อมต่อไม่ตกลงเนื่องจากสภาวะการสื่อสารจะเสียหายได้หากสายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อวงจรมีการชำรุดเสียหาย  การตรวจสอบสภาพของสายเคเบิลเป็นอีกระบวนการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจจับความผิดพลาดในวงจรการสื่อสาร

ในวงจรการสื่อสารมีการป้องกันความผิดพลาดที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง  ๆ  ทางกายภาพและเชิงตรรกะ   ความผิดพลาดเหล่านั้นก็ไม่สามารถกำจัดออกไปได้อย่างสมบูรณ์   

การพัฒนาการตรวจจับความผิดพลาดในวงจรการสื่อสารเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้การสื่อสารมีความสมบูรณ์มากขึ้น   

ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลแบ่งออกได้  2  รูปแบบ  คือ  ความผิดพลาดแบบบิตเดียว  และความผิดพลาดหลายบิต    จำนวนบิตที่ผิดพลาดจะนับจากบิตแรกจนถึงบิตสุดท้าย

แม้ว่าจะมีบิตที่ถูกอยู่ระหว่างกลางก็ตามบิตเหล่านี้จะถูกรวมไปกับจำนวนบิตที่มีความผิดพลาดด้วย   วิธีการตรวจจับความผิดพลาดในวงจรการสื่อสารมีดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบเสียงสะท้อน      ในช่องทางการสื่อสารเป็นการตรวจสอบพื้นฐานที่สุดในการส่งข้อมูลในวงจรการสื่อสาร   มีการสะท้อนกลับของสัญญาณสู่แหล่งข้อมูลต้นทางแล้ว  

    การแก้ไขบิตที่มีความเสียหายอันเกิดจากการสะท้อนกลับของสัญญาณนั้นๆ  การตรวจสอบที่นิยมใช้  คือ  การคำนวณหาหลักที่ผิดพลาดภายในข้อมูลที่ส่งไปในช่องทางการสื่อสาร  

    ซึ่งรูปแบบการคำนวณจะทำซ้ำอีกครั้งเมื่อข้อมูลถูกส่งถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว


  2. การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามยาว  หรือเรียกว่า แอลอาร์ซี  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เอชอาร์ซี     ความสามารถในการตรวจสอบด้วยการใช้บิตสามารถใช้ความผิดพลาดแบบบิตเดียว  

    ในกรณีของการเกิดความผิดพลาดแบบกลุ่มสามารถตรวจสอบได้เฉพาะกรณีที่จำนวนบิตที่ผิดพลาดมีจำรวนคี่เท่านั้น  จึงมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบแบบส่วนซ้ำซ้อนตามยาวที่มีการนำหลักการ

    ของการตรวจสอบส่วนซ้ำซ้อนตามแนวตั้งมาประยุกต์เป็นลักษณะของบิตภาวะสองมิติ   ซึ่งนำข้อมูลแต่ละตัวอักษรมาเรียงเป็นบล็อกข้อมูลแล้วประยุกต์ใช้บิตภาวะในแนวตั้งและแนวนอนเพื่อหาบิตที่ใช้ในการตรวจสอบ


  3. การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวน   หรือซีอาร์ซี   วิธีการของแฮมมิงโคตไม่สามารถตรวจสอบหรือยืนยันความผิดพลาดได้อย่างสมบูรณ์  

    การตรวจสอบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  คือ  การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวน    ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ต้องการส่ง  เรียกว่า  การตรวจสอบความผิดพลาดเชิงพหุนาม   วิธีการนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าวิธีการต่างๆ  

    มีความถูกต้องแม่นยำสูงไม่ว่าความผิดพลาดนี้เป็นความผิดพลาดแบบบิตเดียวหรือความผิดพลาดแบบหลายบิตก็ตาม  

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การแก้ไขความผิดพลาดในวงจรการสื่อสาร

ในวงจรการสื่อสารมีการส่งข้อมูลมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ตลอดเวลา   มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันและตรวจจับความผิดพลาดต่างๆ   มีการตรวจพบว่าการส่งข้อมูลมีความผิดพลาดเกิดขึ้น  

การทำงานของวงจรการสื่อสารจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น  เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการส่งข้อมูลให้มีความสมบูรณ์เกิดขึ้น   วิธีการแก้ไขความผิดพลาดในวงจรการสื่อสารมีดังนี้

  1. การส่งข้อมูลใหม่      การแก้ไขความผิดพลาดในการส่งข้อมูลที่พื้นฐานที่สุด   เมื่อตรวจพบว่าข้อมูลที่ส่งมาแตกต่างจากข้อมูลต้นฉบับ   ไม่สามารถรับข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว  

    หน่วยรับข้อมูลจะส่งข้อมความแจงกลับไปยังแหล่งส่งข้อมูลต้นทางโดยอัตโนมัติเพื่อให้ส่งข้อมูลกลับมาให้ใหม่  เรียกว่า  การร้องขอซ้ำโดยอัตโนมัติ  หรือเรียกสั้นๆ  ว่า  เออาร์คิว  

    ลักษณะของการทำงานในวงจรการสื่อสารคือแหล่งข้อมูลต้นทางจะต้องเก็บข้อมูลที่ต้องการส่งไว้ที่พักข้อมูลก่อนที่จะลบทิ้งเมื่อได้รับการตอบรับจากแหล่งรับข้อมุลปลายทาง  

    คำร้องขอข้อมูลใหม่เกิดขึ้นที่พักข้อมูลจะถูกจัดส่งให้แก่แหล่งรับข้อมูลในทันที   เมื่อได้รับการตอบรับเรียบร้อยแล้วแหล่งข้อมูลต้นทางจะลบข้อมูลที่ที่พักข้อมูลทิ้งเพื่อนำข้อมูลใหม่บันทึกเพื่อรอส่งต่อไป

  2. การใช้กลยุทธ์ในการควบคุมการส่งแบบหยุดและรอการตอบกลับอัตโนมัติ   เป็นวิธีพื้นฐานเพื่อควบคุมการส่งข้อมูลที่ใช้เวลาในการส่งยาวนานที่สุด 

  3. การใช้กลยุทธ์การตอบกลับอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง    เป็นการพัฒนาการควบคุมการส่งข้อมูลจากการส่งแบบหยุดและรอ   สามารถแบ่งได้  2  วิธีย่อย  คือ   วิธีการย้อนกลับ และการเลือกส่งซ้ำ

  4. การแก้ไขความผิดพลาดล่วงหน้า       การประยุกต์ใช้เทคนิคในการแก้ไขข้อมูลที่มีราคาแพงที่สุดเมื่อตรวจสอบพบว่ามีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลเกิดขึ้น   

    การแก้ไขความผิดพลาดมี  3  วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน  คือ  การประยุกต์ใช้เทคนิคแฮมมิงโคดเพื่อการแก้ไขข้อมูลเมื่อตรวจพบว่าข้อมุลที่ส่งนั้นมีความผิดพลาดเกิดขึ้น,   บอส-เขาว์โฮรีโคด 

    เป็นวิธีที่สองใช้บิต 10 บิตในทุกครั้งของการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลที่นำส่งจำนวน  21  บิต,  และวิธีฮาร์เกลบาร์เกอร์โคดเป็นวิธีที่สามเป็นที่ยินยอมให้หน่วยรับข้อมูลปลายทางสามารถแก้ไข

    ความผิดพลาดได้ถึง  6  บิตที่ต่อเนื่องกันในกรณีที่มีกระแสบิตที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 19 หลักบิตที่ผิดพลาดเหล่านั้นวิธีนี้เป็นวิธีที่มีการลงทุนแพงกว่าวิธีการแก้ไขความผิดพลาดอื่นๆ 

    การส่งข้อมูลแบบสื่อสารทางเดียวอาจเป็นวิธีการสื่อสารที่มีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้เทคนิคภายใต้งบประมาณการลงทุนที่สมเหตุสมผลได้

 

 

Related link :  รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย

 

คำถามที่พบบ่อยมักจะเกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อ, ติดตั้ง, และการใช้งาน กล้องวงจรปิด Hiview

1. กล้องวงจรปิด Hiview มีรุ่นไหนที่เหมาะสมกับการใช้งานที่บ้าน?

  • ประเมินรุ่นที่เหมาะสมตามความต้องการ เช่น คุณภาพภาพ, การเชื่อมต่อไร้สาย, ฟังก์ชันตรวจจับการเคลื่อนไหว

2. การติดตั้งกล้อง Hiview ทำได้ง่ายหรือไม่?

  • สำรวจว่าการติดตั้งต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือความรู้เฉพาะทางหรือไม่ บางรุ่นอาจติดตั้งได้ง่ายด้วยตัวเอง

3. ต้องการงบประมาณเท่าไหร่ในการติดตั้งกล้อง Hiview?

  • พิจารณาต้นทุนของกล้องและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น อุปกรณ์เสริม, การติดตั้ง

4. กล้อง Hiview สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้หรือไม่?

  • ตรวจสอบความสามารถในการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการดูและควบคุมระยะไกล

5. กล้องมีฟังก์ชันการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์หรือไม่?

  • สอบถามเกี่ยวกับฟังก์ชันการแจ้งเตือนเมื่อมีการตรวจจับการเคลื่อนไหว

6. กล้อง Hiview มีความทนทานต่อสภาพอากาศหรือไม่?

  • พิจารณาความทนทานต่อสภาพอากาศเช่น ฝน, แดด, ความชื้น

7. กล้อง Hiview ต้องการการบำรุงรักษาอย่างไร?

  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาประจำ เช่น การทำความสะอาด, การตรวจสอบเทคนิค

8. มีความปลอดภัยของข้อมูลและการเข้ารหัสหรือไม่?

  • ตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกส่งและเก็บบันทึก

9. การติดตั้งกล้อง Hiview ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายหรือไม่?

  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

10. มีบริการหลังการขายหรือการสนับสนุนทางเทคนิคหรือไม่?

  • ตรวจสอบเกี่ยวกับการบริการหลังการขายและการสนับสนุนทางเทคนิคจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย

การตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ที่สนใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด Hiview ได้ข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจและเตรียมการติดตั้งอย่างเหมาะสม.

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *