กล้องโดม

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟ กล้องวงจรปิด

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าย่อยจะออกแบบมาให้รองรับกระแสไฟฟ้าตามกำหนด เช่น 15 หรือ 20 แอมป์ ก็เหมาะกับการติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV แต่ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้ามากเกินกำหนด จะทำให้สายไฟร้อนและเกิดการลุกไหม้ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกินในระบบใหม่ๆ คือ ตัวตัดวงจรหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) แต่ถ้าเป็นแบบเก่าจะใช้ฟิวส์ ตัวตัดวงจรจะรับกระแสขนาดที่เหมาะสมกับวงจร และตัดสวิตช์เมื่อได้รับกระแสเกินขนาด หากเป็นฟิวส์ ลวดโลหะในตัวฟิวส์จะหลอมละลายขาดจากกัน ตัดการไหลของกระแสไฟฟ้า

สาเหตุหลักๆ ที่มักจะทำให้เกิดความบกพร่องของวงจรปิดไฟฟ้า คือ กระแสเกิน จากการต่อพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรที่มากจนเกินไป และการลัดวงจรที่สาย หลอด หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า จะเกิดขึ้นเมื่อสายไฟที่ชำรุดสัมผัสกับสายนิวทรัลที่ชำรุด เกิดการลัดวงจร ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระชากอย่างรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ ถ้าที่บ้านมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า แม้กระทั้งกล้องวงจรปิด ก็จะทำให้เกิดการช๊อตที่ตัวกล้องทำให้ได้รับความเสียหาย ดังนั้นก่อนการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ควรจะตรวจสอบแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาให้เรียบร้อยเสียก่อน

ข้อควรระวัง ก่อนทำงานกับแผงควบคุมวงจรหลักหรืองานไฟฟ้าอื่นใด ควรอ่านข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

วงจรไฟฟ้าจะเกิดการตัดวงจรได้ถ้าเปิดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งอาจทำให้เกิดกระแสเกินได้ ควรย้ายอุปกรณ์บางอย่างออกเพื่อลดปริมาณการใช้ไฟในวงจรนั้น อย่าแก้ปัญหากระแสไฟเกินในวงจรด้วยการเปลี่ยนใช้ฟิวส์ที่มีพิกัดกระแสไฟสูงกว่าอัตราที่กำหนดมาแทน

ถ้าวงจรยังคงขัดข้องอยู่หลังจากเปิดเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเปลี่ยนฟิวส์ใหม่แล้ว ให้ตรวจหาจุดลัดวงจรโดยตัดจ่ายไฟฟ้าหลัก จากนั้นจึงถอดปลั๊กเสียบอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดออกจากวงจร จากนั้นตรวจหาตำแหน่งของปลั๊กหรือสายที่ชำรุด แล้วซ่อมเปลี่ยนให้เรียบร้อย ควรลองเปิดสวิตช์จ่ายไฟฟ้าหลักก่อนโดยยังไม่เสียบต่ออุปกรณ์ตัวอื่นๆ ถ้ายังไม่ได้ผล แสดงว่าการลัดวงจรเกิดจากสายไฟจุดอื่นภายบ้านถ้ายังไม่ได้ผลให้เรียกช่างไฟฟ้ามาดำเนินการแก้ไข กรณีถ้าตรวจสอบไล่สายไฟของกล้องวงจรปิด ก็สามารถทำแบบนี้ได้เช่นกัน

ฟิวส์ตลับต่างจากเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพราะจะบอกสาเหตุความบกพร่องของวงจรได้ก็ต่อเมื่อกระแสเกิน เส่นลวดฟิวส์จะขาดโดยกระจกยังคงใสอยู่ แต่ถ้าเกิดจากลัดวงจร กระจกจะเปลี่ยนสี

ชุดตัดจ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

1.แผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ จะมีตัวตัดวงจรหลัก(อาจมากกว่า1ตัว) อยู่บนแผงสวิตช์ ให้สับสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง Off เพื่อตัดไฟฟ้าเข้าแผง(ถ้าไม่มีตัวตัดไฟฟ้าหลัก ให้ปิดตัวตัดวงจรทุกตัว)

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

2.กล่องฟิวส์ชนิดดึงสะพาน จะมีฟิวส์ตลับหลัก บางครั้งมีที่ดึงติดอยู่ด้วย ให้ตัดไฟฟ้าก่อนดึงฟิวส์หลักออก

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

3.กล่องฟิวส์ชนิดคันโยก ให้สับสวิตช์ไปที่ Off

เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบเดี่ยว

เซอร์กิตเบรกเกอร์ขั้วเดียว ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต์ แบบ 3 ขาจะใช้แรงดัน 380 โวลต์

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบแฝด ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า 220 โวลต์

การเริ่มต้นตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ ให้เลื่อนสวิตช์ไปที่ On แต่บางรุ่นต้องไปที่ Off หรือ Reset ก่อนจะเลื่อนไปที่ On

เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ชำรุด มักจะตัดไฟบ่อย หรือมีเปลือกนอกผิดรูป ให้เปลี่ยนโดยเริ่มตัดไฟฟ้าหลักก่อน แล้วถอดฝาครอบแผง ใช้เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าในวงจร หรือถอดตัวตัดวงจรออกจากซ่องเสียบ ปลดสายไฟเดิม เปลี่ยนตัวใหม่ด้วยขนาดและยี่ห้อเดียวกัน

ข้อควรระวัง การทำงานกับแผงควบคุมวงจรต้องใช้ความระวังเป็นพิเศษ ควรใช้ช่างไฟฟ้าที่ชำนาญจะปลอดภัยกว่า

ฟิวส์ตลับหรือฟิวส์ฐานแบบเอดิสัน และตัวตัดวงจร

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ฟิวส์ตลับมาตรฐาน มีขนาด 15, 20, 25 และ 30 แอมป์

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ฟิวส์แบบหน่วงเวลา จะยอมให้มีกระแสไฟเกินในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ข่วงที่มอเตอร์ไฟฟ้าเริ่มทำงาน

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ฟิวส์ตัว S และข้อต่อแปลงแบบถาวร ใช้ป้องกันการใช้ฟิวส์ผิดขนาด

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ตัวตัดวงจรแบบเกลียว ใช้แทนที่ฟิวส์มาตรฐานเมื่อมีกรณีตัดวงจร จะมีปุ่มยื่นออกมา ให้กดปุ่มใช้งานได้ใหม่ (Reset)

การเปลี่ยนฟิวส์ตลับ ให้ทำตามขันตอนอย่างระวัง เตรียมไฟฉายและฟิวส์สำรองไว้ใกล้กล่องฟิวส์ ยืนบนพื้นแห้ง (ให้ทำงานด้วยมือข้างเดียว อีกมือให้อยู่ข้างตัวหรือล้วงกระเป๋า) จากนั้นตัดกระแสไฟฟ้าหลัก จับฟิวส์ตัวที่ขาดตรงกระจก หมุนทวนเข็มนาฬิกา แล้วเปลี่ยนใหม่ด้วยฟิวส์ที่มีแอมป์เท่าเดิม

ฟิวส์แท่งหรือคาร์ทริดจ์ฟิวส์

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ฟิวส์แท่งเหล็ก ซึ่งใช้กับกระแสไฟตั่งแต่ 60 แอมป์ขึ้นไป ปกติใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

ฟิวส์แท่งปลายแบน ใช้กับกระแสไฟตั่งแต่ 600 แอมป์ขึ้นไป ใช้ป้องกันวงจรจ่ายกระแสไฟหลัก

กล้องโดม และCircuit Breaker และ Duse สำหรับ CCTV ใช้ในงานเดินสายไฟกล้องวงจรปิด

การเปลียนฟิวส์แท่ง ถ้าเป็นฟิวส์ชนิดขายึดถอดได้ ให้ดึงออกมา และถอดฟิวส์ออก ถ้าเป็นชนิดต่อกับแหล่งจ่ายไฟด้วยขาหนีบ ให้ปลดคันล็อก แล้วใช้คีมจับฟิวส์ดึงออดเพื่อเปลี่ยนใหม่ ลองใช้เครื่องวัดความต่อเนื่องทางไฟฟ้าตรวจฟิวส์ตัวที่ขาด

ที่มา: หนังสือซ่อมบ้านอย่างรู้ทันช่าง

Related link :การติดตั้งกล้อง ip camera การเดินสายจ่ายกระแสไฟ CCTV กล้องวงจร ปิดภายในบ้าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *