ชุดกล้องวงจรปิดติดตั้งเอง

ชุดกล้องวงจรปิดติดตั้งเอง และโพรโทคอลการสื่อสาร

โพรโทคอลไบซิงก์   มีการพัฒนามาเป็นเวลานานหลายปีแล้วก็ตามและยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  รูปแบบของโพรโทคอลไม่มีความซับซ้อนและสามารถรองรับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ   

การทำงานของไบซิงค์สนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูล  3  แบบ  แบบที่หนึ่ง คือ  6  บิต  ในปัจจบันเเทบไม่มีการใช้งาน  แบบที่สองคือ  แบบเอสกี  และแบบที่สามคือแบบเอบซีดิก  รูปแบบขของโพรโทคอลจะประกอบด้วยบิตข้อมูลดังนี้

  • บิตระบุจุดเริ่มต้นของข้อมูลส่วนต้ว
  • บิตระบุจุดเริ่มต้นของข้อความส่วนหัว
  • บิตระบุจุดเริ่มต้นของข้อความที่ต้องการส่ง
  • บิตระบุจุดสิ้นสุดของบล็อกข้อความที่ต้องการส่ง
  • บิตระบุจุดสิ้นสุดของข้อความทั้งหมดที่ต้องการส่ง
  • บิตแจ้งความเสียหายในการสื่อสารเมื่อบล็อกที่ส่งมีความเสียหายเกิดขึ้น
  • บิตแจ้งขอใช้เส้นทางการสื่อสาร

ไบซิงก์มีรูปแบบการส่งข้อมูลและกฎระเบียบการส่งที่ชัดเจนแน่นอนไม่พลิกแพลง    ในการส่งแต่ละบล็อกต้องประกอบด้วย  หมายเลขบล็อก  การแจ้งข้อความกลับ  และการกำหนดตำแหน่งของอักษรควบคุมในแต่ละสถานการณ์ 

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ชุดกล้องวงจรปิดติดตั้งเอง

 

ซ่อมแซมกล้องวงจรปิด

 

 การส่งข้อมูลด้วยโพรโทคอลนี้สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ    การส่งแบบจุดต่อจุด  และกาารส่งแบบหลายจุด   การทำงานของไบซิงก์มีข้อดีหลายประการ  ในขณะเดียวกันก็มีจุดอ่อนในการทำงานดังนี้

  • การทำงานของโพรโทคอลขึ้นกับรหัสของข้อมูล
  • การทำงานเป็นการส่งข้อมูลแบบการสื่อสารสองทางครึ่งอัตราไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นการสื่อสารแบบสองทางเต็มอัตราได้
  • การพัฒนาแบบโปร่งใสเป็นการพัฒนาที่ยุ่งยากเมื่อเทียบกับโพรโทคอลอื่น

โพรโทคอลข้อความการสื่อสารข้อมูลดิจิทัล

ในปัจจุบันเป็นโพรโทคอลที่มีการใช้งานค่อนข้างน้อยแม้จะมีการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการสื่อสารที่มีแบนด์วิดท์สูงและการเชื่อมต่อที่มีเวลาแฝงสูง   การทำงานสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบจุดต่อจุด และแบบหลายจุด  และกล้องวงจรปิดสามารถส่งข้อมูลได้ในระบบแบการสื่อสารสองทางครึ่งอัตราและสองทางเต็มอัตรา   

ในการสื่อสารแบบสองทางเต็มอัตราเครื่องส่งข้อมูลจะส่งข้อมูลต่อเนื่องพร้อมกันได้ตลอดเวลาและรวมถึงการส่งข้อความตอบกลับให้แก่เครื่องส่งข้อมูลในระบบก็สามารถทำได้เช่นกันโพรโทคอลดีดีซีเอ็มพีสามารถส่งข้อมูลได้ในลักษณะประสานเวลาหรือไม่ประสานเวลาก็ได้   การส่งข้อมูลแบบขนานทั้งสองรูปแบบในเวลาเดียวกันได้ด้วย  

ความแตกต่างระหว่างโพรโทคอลดีดีซีเอ็มพีและไบซิงก์   คือ  การส่งกลุ่มข้อความแต่ละกลุ่มของโพรโทคอลดีดีซีเอ็มพีจะมีการกำหนดหมายเลขของกลุ่มชัดเจน  และหมายเลขจะเพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆ เมื่อเครื่องรับข้อมูลได้รับข้อมูลแล้วก็จะมีการตอบรับตามหมายเลขกลุ่มข้อมูลที่ได้รับล่าสุดเท่านั้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

โพรโทคอลควบคุมการเชื่อมต่อระดับสูง

                โพรโทคอลที่มีความสำคัญในการส่งข้อมูลสูง     ในปัจจุบันเป็นพื้นฐานของโพรโทคอลอื่น  ๆ  ที่สำคัญที่ใช้รูปแบบเดียวกับโพรโทคอลเอชดีแอบซีอีกด้วย   

การพัฒนาโพรโทคอลมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาโพรโทคอลเอสดีแอลซีที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในการสื่อสารด้วยเครื่องเมนเฟรม   หลักจากพัฒนาและยื่นขอมาตรฐานโพรโทคอลเอสดีแอลซีได้ปรับปรุงเอสดีแอลซีเข้าสู่มาตรฐานโพรโทคอล  

การทำงานสามารถทำงานได้ทั้งในระบบแบบการสื่อสารสองทางครึ่งอัตราและสองทางเต็มอัตรา  การสื่อสารที่เกิดขึ้นแบ่งออกได้เป็น  3  ประเภท  คือ

  1. การสื่อสารโหมดการตอบสนองปกติ เรียกว่า   เอ็นอาร์เอ็ม  แบ่งออกเป็นการสื่อสาร  2  รูปแบบ  คือ   การสื่อสารแบบจุดต่อจุด  และการสื่อสารแบบหลายจุด

  2. การสื่อสารแบบโหมดสมดุลไม่ประสานเวลา เรียกว่า  เอบีเอ็ม จะแตกต่างจากการสื่อสารแบบโหมดการตอบสนองปกติเห็นได้ว่าการสื่อสารที่เกิดขึ้นเป็นไปในลักษณะที่เครื่องบนเครือข่ายต่างสามารถส่งและรับข้อมูลให้แก่กันได้  

    ไม่ต้องมีการกำหนดเครื่องหลักหรือเครื่องพ่วง  ลักษณะการส่งข้อมูลจะเป็นแบบสื่อสารสองทางเต็มอัตรามีผู้นิยมใช้มากที่สุด  เพราะไม่เสียเวลาในการหยั่งสัญญาณ

  3. การสื่อสารแบบโหมดการตอบสนองไม่ประสานเวลา  เรียกว่า  เออาร์เอ็ม     คล้ายกับการสื่อสารโหมดการตอบสนองปกติ  แตกต่างกันในลักษณะที่สถานีพ่วงอาจเป็นผู้เริ่มการสื่อสารทั้งส่วนการส่งข้อความหรือการส่งการควบคุมการสื่อสาร  ไม่มีการขออนุญาตจากเครื่องหลัก  การส่งคำสั่งต่างๆ  ยังไม่สามารถทำได้  

    สถานีหลักยังเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลในเครือข่ายเพียงผู้เดียว  และยังเป็นผู้รับผิดชอบในการทำงานของวงจรการสื่อสารประเภทต่างๆ   รวมถึงการเริ่มสถานะของการสื่อสาร  การกู้คืนความผิดพลาดการสื่อสารและการยกเลิกการสื่อสาร  การสื่อสารเออาร์เอ็มเป็นการสื่อสารแบบจุดต่อจุดที่มีการกำหนดสถานีหลักและสถานีย่อย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

เฟรมข้อมูลของเอชดีแอลซี

เฟรมข้อมูลเป็นรูปแบบข้อมูลที่ส่งในระบบเอชดีแอลซี     โพรโทคอลจะแบ่งประเภทของเฟรมข้อมูลออกเป็น  3  ประเภท  คือ

  1. ซูเปอร์ไวซอรี  เฟรม  หรือ  เอสเฟรม  ทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งเพื่อการควบคุมการสื่อสารให้มีสภาวะสมบูรณ์   การส่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งสถานะจะใช้ขนาดข้อมูล  2    บิต

  2. อินฟอร์เมชันเฟรม       ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลและส่วนควบคุมข้อมูลจากเครื่องส่งข้อมูลต้นทาง

  3. อันนัมเบอร์เฟรม  หรือยูเฟรม     ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการระบบการสื่อสารทั่วไป

                   รูปแบบของเฟรมข้อมูลเอชดีแอลซี  มี 2  ประเภท  คือ  แบบปกติ  และแบบขยาย      ข้อมูลในเฟรมมีดังนี้

  • เขตข้อมูลลำดับตรวจสอบ       เป็นกลุ่มบิตที่ใช้ระบุส่วนเริ่มต้นและสิ้นสุดของเฟรม

  • เขตข้อมูลเลขที่อยู่     เป็นส่วนระบุเลขที่อยู่ของผู้รับปลายทาง

  • เขตข้อมูลควบคุม        เป็นเขตข้อมูลที่ขึ้นกับประเภทของเฟรม

  • เขตข้อมูลข้อมูล       เป็นเขตข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

  • เขตข้อมูลตรวจสอบลำดับเฟรม     เป็นส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาด

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

เราจะรู้จักกันในชื่อว่า  เอทีเอ็ม  เป็นโพรโทคอลที่มีการพัฒนาเพื่อส่งข้อมูลแบบกระแสข้อมูลในเส้นทางการสื่อสารความเร็วสูงและไม่มีความผิดพลาด  การทำงานของเครือข่ายเอทีเอ็มเป็นการส่งข้อมูลด้วยกลุ่มข้อมูลขนาดเล็กที่มีขนาดคงที่   

เอทีเอ็มจะทำงานบนเครือข่ายแบบการสลับกลุ่มข้อมูลและทำงานร่วมกับโพรโทคอลในชั้นเชื่อมข้อมูลอื่นๆ  การออกแบบโพรโทคอลเอทีเอ็มถูกออแบบจากการประชุมเอทีเอ็มฟอรัม  มีการพัฒนาปรับให้มีสถาปัตยกรรมที่ดีขึ้น   

การส่งข้อมูลด้วยเซลล์ของเอทีเอ็มจัดเป็นการส่งข้อมูลที่ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบกับขนาดของเฟรมในโพรโทคอลอื่นๆ   ข้อมูลมีขนาดของเซลล์คงที่ตลอดเวลาส่งผลให้การส่งข้อมูลมีความเร็วสูง  

เพื่อให้การส่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ  รูปแบบการเชื่อมต่อของโพรโทคอลจะเป็นการเชื่อมต่อแบบกำหนดการรเชื่อมต่อ   เอทีเอ็มจะมีการกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อก่อนการส่งข้อมูลจริงเสมอ    

การกำหนเส้นทางการส่งข้อมูลต้องใช้ข้อมูล  2  ส่วนคือ  หมายเลขเส้นทางเสมือน หรือเรียกว่า   วีพีไอ  และหมายเลขช่องเชื่อมต่อเสมือน  หรือเรียกว่า  วีซีไอ  หรือเรียกอีกอย่างว่าหมายเลขช่องทางเสมือน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ส่วนต่อประสานเครือข่ายเอทีเอ็ม

เครือข่ายเอทีเอ็มสร้างจาการใช้เอทีเอ็มสวิตช์ที่เชื่อมต่อกับส่วนต่อประสานเครือข่ายเอทีเอ็ม   ส่วนต่อประสานเครือข่ายเอทีเอ็ม  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ  ยูเอ็นไอ  และ  เอ็นเอ็นไอ    รายละเอียดดังนี้

  • ยูเอ็นไอ       ส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานกับเครือข่าย  มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระบบเอทีเอ็มปลายทาง  กับเอทีเอ็มสวิตช์  และส่วนต่อประสานยูเอ็นไอยังถูกกแบ่งออกเป็น  2  ประเทภคือ 

    ยูเอ็นไอสาธารณะมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเอทีเอ็มปลายทางหรือเอทีเอ็มสวิตช์ส่วนบุคคลเข้ากับสวิตช์สาธารณะ   และยูเอ็นไอส่วนบุคคล   มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเอทีเอ็มปลายทางและเอทีเอ็มสวติช์ส่วนบุคคล

  • เอ็นเอ็นไอ      ส่วนต่อประสานระหว่างเครือข่าย   มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเอทีเอ็มสวิตช์  2  เครื่องเข้าด้วยกัน   ส่วนต่อประสานเอ็นเอ็นไอแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ  เอ็นเอ็นไอสาธารณะ 

    มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเอทีเอ็มสวิตช์สาธารณะ  2  ตัว  และเอ็นเอ็นไอส่วนบุคคล  มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเอทีเอ็มสวิตช์ส่วนบุคคล  2  ตัว

การบริการในระบบเอทีเอ็ม

                    การส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายเอทีเอ็มสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • การส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตคงที่    เรียกว่า  ซีบีอาร์      การส่งข้อมูลด้วยแบนด์วิดท์คงที่ตลอเวลา   เหมาะกับการประยุกต์ใช้กับงานประเภทแบบทำงานทันที

  • การส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตแปรผันได้  เรียกว่า  วีบีอาร์   การส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตแปรผันได้สามารถแบ่งได้  2  ประเภทย่อย  คือการส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตแปรผันแบบทำงานทัน  และแบบไม่ทำงานทันที

  • การส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตพร้อมใช้   เรียกว่า  เอบีอาร์   เป็นากรส่งข้อมูลที่แปรผันตามความต้องการของแหล่งข้อมูลต้นทาง

  • การส่งข้อมูลด้วยอัตราบิตที่ไม่สามารถระบุได้   เรียกว่า  ยูบีอาร์    การส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้เป็นเสมือน  “การบริการแบบพยายามดีที่สุด”  สำหรับโปรแกรมที่ไม่มีความวิกฤต

  • การส่งข้อมูลด้วยการประกันอัตราเฟรม  เรียกว่า  จีบีอาร์    การส่งข้อมูลด้วยวิธีแตกต่างจากวิธีต่าง  ๆ   คือ  เฟรมที่ส่งทั้งหมดจะมีการรับหรือปฏิเสธจากจุดที่เป็นแถวคอย ใช้กับการรับหรือส่งเฟรม

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การพัฒนาเทคโนโลยีเอทีเอ็ม

                 เอทีเอ็มมีการพัฒนาเป็นชั้นเรียกว่า  ATM Adaptation Layer  หรือเอเอแอล   แบ่งออกได้ดังนี้

  • AAL1        เป็นการทำงานที่มีอัตราในการส่งข้อมูลคงที่

  • AAL2        การพัฒนาในระยะแรกเป็นการพัฒนาเพื่อสนับสนุนอัตราการส่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราบิตสม่ำเสมอ ในปัจจุบันจะส่งข้อมูลในลักษณะที่มีอัตราบิตต่ำและเป็นการส่งครั้งละน้อย  ๆ

                     การพัฒนา  AAL1  และ  AAL2   เป็นการพัฒนาเพื่อประกันการทำงานของโปรแกรมประเภทที่ต้องการอัตราการส่งที่คงตัวหรืออัตราการส่งต่อเนื่อง 

  • AAL3/4      พัฒนาเพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อเพื่อบริการการส่งข้อมูลแบบกำหนดการเชื่อมต่อ  และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่กำหนดการเชื่อมต่อ   การพัฒนาในชั้นนี้ยังมีกลไกในการกำหนดลำดับของข้อมูลและวิธีการควบคุมความผิดพลาดในการส่งข้อมูลอีกด้วย

  • AAL5        พัฒนาขึ้นโดยให้เซลล์ทุกเซลล์เป็นของข้อความเดียวที่มีการกำหนดลำดับที่และมีฟังก์ชั่นในการควบคุมความผิดพลาดอยู่ร่วมกันในการส่งข้อมูลด้วย
 
 

Related link :  รั้วไฟฟ้า   สัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *