จราจร CCTV

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้ รางวัลจับกุมผู้ทำผิด จราจร ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนนโยบายตั้ง รางวัลจับกุมผู้ทำผิด หมื่นบาท ให้ตำรวจจราจรที่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร และ พยายามติดสินบนของตำรวจ เชื่อจะแก้ปัญหาส่วย ย้ำพร้อมให้รางวัลประชาชนที่มีหลักฐานการรับส่วยของตำรวจด้วย สั่งห้ามติดกล้องจับผิด

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงนโยบายตั้งรางวัล 10,000 บาทให้แก่ตำรวจจราจรที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร และ พยายามติดสินบนตำรวจว่า ตนเห็นด้วยกับนโยบายของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ให้รางวัลแก่ตำรวจที่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร และ พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ โดยเห็นว่าจะช่วยทำลายวัฒนธรรมการรับส่วย จึงจะให้ดำเนินการต่อเนื่องทั่วประเทศเกี่ยวกับสินบนทุกกรณีไม่เฉพาะงานจราจร โดยจะไม่เป็นเพียงการจ่ายรางวัลนำจับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น แต่หากประชาชนมีพยานหลักฐานจนถึงขั้นแจ้งความดำเนินคดีต่อตำรวจที่เรียกรับสินบน ตนเองจะมอบเงินรางวัล 10,000 บาทให้แก่ประชาชนเช่นกัน ทั้งนี้ยอมรับว่านโยบายดังกล่าว จะทำให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างกัน แต่จะทำให้ทุกฝ่ายระวังไม่กระทำผิดกฎหมาย และ ช่วยทำให้การเรียบรับสินบนหมดไป

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

“การให้ส่วย และ สินบนนั้นถือว่าผิดทั้งผู้ให้ และ ผู้รับ เสมือนการปรบมือ การปรบมือข้างเดียวย่อมไม่ดัง ผู้ให้ยากให้ ผู้รับก็อยากรับ คนให้ไม่อยากเสียค่าปรับอยากทำผิดกฎหมายได้เรื่อยๆ ส่วนผู้รับเกิดความโลภ เปรียบได้กับผีเน่ากับโลงผุ ที่ผ่านมาเรียกได้ว่าสินบนกลายเป็นวัฒนธรรมของตำรวจไปแล้ว แต่อยากให้มองว่าเจ้าหน้าที่รัฐหลายส่วนมีการกระทำในลักษณะนี้ทุกกระทรวงทบวงกรมมีหมด อยากให้สื่อได้ให้ความเป็นธรรม แตรตำรวจมักถูกเพ่งเล็งเพราะว่าทำงานแบบใกล้ชิดประชาชนมากกว่า ทั้งที่ตำรวจถือเป็นผู้รักษากฎหมาย”

พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ควบคุมงานด้านจราจรเจ้าของโครงการแจกเงินรางวัลสินบนจราจรให้กับตำรวจ 10,000 บาท ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องโดยระบุว่า จะดำเนินโครงการนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้เท่านั้น จากนั้นจะมีการประชุมอีกครั้งว่าจะทำต่อไปอีกหรือไม่

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งทางวิทยุผ่านหน่วยงานในสังกัดให้ยกเลิกไม่ให้ตำรวจติดกล้องแอบถ่ายที่เพื่อล่อถ่ายภาพ และ บันทึกเสียงการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ในโครงการให้เงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจ 10,000 บาท ที่จับกุม ให้สินบนได้ โดยมีข้อความระบุว่า “ด้วยขณะนี้มีการเผยแพร่ข้อความทางสื่อ และ โซเชียล เน็ตเวิร์ค (Social Network) เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กล้องวงจรปิดแอบถ่ายโดยใช้ (กล้องปากกา, กล้องกระดุม) เพื่อล่อภาพในโครงการดังกล่าว จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ประชุมชี้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้าใจว่า ผู้บังคับบัญชา และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่มีนโยบายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการสร้างความแตกแยก และ ความหวาดระแวงประชาชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอันเป็นขัดนโยบายของ ผบช.ก. ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องลดความหวาดระแวงจากประชาชน รวมทั้งให้ระมัดระวังการถูกถ่าน และ บันทึกเสียงของประชาชน และ งดเว้นการล่อถ่ายภาพการให้เงินสินบนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง หากพบว่า ข้าราชการผู้ใดดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาข้อบกพร่องต่อไป

สำหรับคดีการให้สินบนเจ้าพนักงาน พล.ต.ต.อดุลย์ ให้ความรู้ว่า มีความผิดอาญาตามมาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และ จะต้องนำตัวส่งศาลเพื่อสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งคดีดังกล่าวไม่สามารถยอมความกันได้ ดังนั้นจึงอยากเตือนประชาชนว่าอย่าพยายามให้เงินแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หากถูกดำเนินการจับกุมก็ควรจะเสียค่าปรับตามโทษที่กระทำความผิด

หากเป็นกรณีที่ตำรวจเรียกเก็บค่าปรับกับประชาชนโดยไม่มีการออกใบสั่งนั้น หากประชาชนพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวสามารถโทร.ร้องเรียนได้ที่หมายเลข 1997 จากนั้นผู้บังคับบัญชาจะมีการสอบสวน และ ดำเนินการตามระเบียบของตำรวจซึ่งหากพบว่ากระทำความผิดจริงจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 149 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาทหรือประหารชีวิต

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

ส่วนเงินสำหรับเงินรางวัลที่ บช.น. มอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้น ตามข่าวระบุว่า เป็นเงินจากกองทุนสวัสดิการตำรวจจราจร ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2556 เป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งเงินในกองทุนจะใช้สำหรับส่งเสริมกิจการกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานจราจรเพื่อดำเนินการในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร และ อุปกรณ์เพื่อใช้ในงานจราจรของ บช.น.

พล.ต.ต. อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ กล่าวถึงกระแสการต่อต้านในสังคมต่อนโยบายดังกล่าวว่า ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ระงับนโยบายนี้ไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องเข้มงวดในการจับกุม ผู้กระทำผิดกฎจราจร และ เสนอสินบนให้เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังย้ำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทุกนาย ไม่ให้เรียกรับทรัพย์ รีดไถ่ ประชาชน

“ขอยืนยันว่านโยบายนี้เป็นมาตรการด้านบริหารที่เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่เท่านั้น ส่วนเรื่องการติดกล้องกระดุมแอบถ่ายประชาชนนั้น กองบัญชาการตำรวจนครบาล ไม่มีนโยบายดังกล่าว และ เคยสั่งห้ามตำรวจไม่ให้ปฏิบัติ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน แต่หากเป็นการถ่ายภาพซึ่งหน้าขณะจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร สามารถทำได้ เพราะเป็นการบันทึกภาพไว้เพื่อประกอบสำนวนการสอบสวน”

อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบโดยตรงคือ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รักษาการผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ได้มีหนังสือเลขที่ 0015.134/14070 ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อหารือกรณี พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ จ่ายเงินรางวัลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จับกุมผู้ให้สินบนเจ้าพนักงาน โดยหากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นชอบกับนโยบายดังกล่าวก็ควรให้การสนับสนุนเงินงบประมาณ เพราะขณะนี้ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลมีงบประมาณในการจัดทำโครงการเพียง 100,000 บาทเท่านั้น และ การชะลอโครงการนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย แต่เป็นปัญหาเรื่องงบประมาณที่นำมาใช้จ่าย หากประชาชน และ เจ้าหน้าที่ให้ หรือรับสินบนก็ต้องมีความผิด

ส่วนการที่ตำรวจบางนายติดกล้องแอบถ่ายประชาชนไว้ใช้เป็นหลักฐานถือเป็นการละเมิดหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ และ สอบถามกับ พล.ต.ต. อดุลย์ เจ้าของโครงการนี้ว่าจะคงนโยบายหรือให้ยุติ รวมถึงตรวจสอบด้วยว่านโยบายดังกล่าวนโยบายดังกล่าวดำเนินมาก่อนที่ตนมารับตำแหน่งนั้นเป็นมาอย่างไร ซึ่งตนมองว่าการนำกล้องไปถ่ายประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยกเลิกไปแล้วถือเป็นการละเมิดสิทธิ แต่ตอนนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ และ ใช้ประกาศของ คสช. ก็ไม่น่าจะขัดกับประกาศของ คสช.

จราจร CCTV ผบ.ตร.หนุนให้รางวัลจับกุมผู้ทำผิดจราจร-ห้ามตำรวจติดกล้องจับผิด

อย่างไรก็ตามจะตรวจสอบก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ที่นำกล้องเป็นยุทธภัณฑ์นำไปใช้ต้องได้รับอนุญาตเท่านั้น และ การที่ทีมงานประเมินจากกระแสสังคมเห็นว่าไม่ยอมรับ ก็ควรยกเลิกไม่ใช่แค่ชะลอเท่านั้น แต่ขอพิจารณาก่อนว่าเป็นนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือไม่อย่างไร เพราะพล.ต.ต.อดุลย์น่าจะดำเนินการตามเรื่องเดิมก่อนตนเข้ารับตำแหน่ง

ด้านกองบังคับการตำรวจจราจร พ.ต.อ. อภิสิทธิ์ เมืองเกษม รักษาการผู้บังคับการ ได้มีหนังสือเลขที่ พ.1/2557 ระบุ เห็นด้วยว่าควรงดโครงการนี้ไปก่อน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และ เปลี่ยนมาเป็นการแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่นในลักษณะนี้แทน โดยให้ตำรวจบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เด็ดขาด ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่รับสินบน

Related link :IP camera ติดตั้ง เดินบททางเท้าอย่างไรให้ปลอดภัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *