ตลาดกล้องวงจรปิด

ตลาดกล้องวงจรปิด กับการสื่อสารการตลาด

การสื่อสารการตลาด สำหรับงานกล้องวงจรปิด เป็นการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์และองค์กร

ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เกิดการตอบสนองตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ รูปแบบหรือเครื่องมือทางการสื่อสารการตลาดพื้นฐานที่สำคัญที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีมากมาย ได้แก่

การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง และ การใช้พนักงานขาย เรียกเครื่องมือการสื่อสารการตลาดเหล่านี้ว่า  “ส่วนประสมทางการส่งเสริมการตลาด”

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ตลาดกล้องวงจรปิด

อุปกรณ์ติดตั้งกล้องวงจรปิด



ในปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ อีกมากมาย ได้แก่ การตลาดเชิงกิจกรรม การตลาดออนไลน์ และ การเป็นผู้สนับสนุน เป็นต้น

บทบาทของการสื่อสารการตลาดนั้นมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเพียงการบอกให้ทราบ การสร้างความแตกต่างระหว่างตราสินค้า การย้ำเตือนความทรงจำของผู้บริโภค

การสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า การโน้มน้าวใจ ตลอดจนไปถึงการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า ซึ่งย่อมจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้

ตลาดกล้องวงจรปิด กับการสื่อสารการตลาด กล้องวงจรปิด CCTV

กระบวนการสื่อสารการตลาดเกิดจากองค์กรผู้ผลิตสินค้าและบริการทำการส่งข้อมูลข่าวสารทางการตลาด ไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค และ

เมื่อผู้บริโภคได้รับข่าวสารทางการตลาดแล้วก็จะส่งปฏิกิริยาตอบกลับมาในรูปแบบของการตอบสนองต่าง ๆ ในระหว่างกระบวนการกำลังดำเนินอยู่นั้น  อาจมีสิ่งรบกวนการสื่อสารขึ้นได้ในทุกองค์ประกอบ

จึงจำเป็นต้องตรวจสอบและประเมินสิ่งรบกวนเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้จัดการแก้ไขให้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การสื่อสารนับว่าเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนสังคมและเศรษฐกิจ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

วัตถุประสงค์ของ การสื่อสารการตลาด

การสื่อสารการตลาด หรือ Marketing Communications นับเป็นองค์กรที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ  ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันธุรกิจ มีการแข่งขันกันสูงมาก แนวคิดของการสื่อสารการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย ความหมายของการสื่อสารการตลาด บทบาทของการสื่อสารการตลาด 

กระบวนการสื่อสารการตลาด  และความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาด และ รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาด คือ

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของการสื่อสารการตลาด

  2. เพื่อให้เข้าใจบทบาทของการสื่อสารการตลาดในปัจจุบัน

  3. เพื่อให้เข้าใจกระบวนการของการสื่อสารการตลาด

  4. เพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดและด้านอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ความหมายของการสื่อสารการตลาด

การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารข้อมูลของผลิตภัณฑ์และองค์กร ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เกิดการตอบสนองได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

จะพบว่า การสื่อสารการตลาดมิได้จำกัดอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถสื่อสารข่าวสารข้อมูลจากองค์กรไปสู่เป้าหมายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่การโฆษณา

การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และ การใช้พนักงานขาย ซึ่งอาจเรียกว่า “ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด” แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ อีกมากมาย

ได้แก่ การตลาดเชิงกิจกรรม การตลาดออนไลน์ และการเป็นผู้สนับสนุน เป็นต้น การสื่อสารการตลาดแต่ละประเภทต่างมีจุดแข็งและข้อจำกัด วัตถุประสงค์ของการใช้ที่แตกต่างกันออกไป

นักสื่อสารการตลาดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของเครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตลาดกล้องวงจรปิด กับการสื่อสารการตลาด กล้องวงจรปิด CCTV

บทบาทของการสื่อสารการตลาด

บทบาทสำคัญของการสื่อสารการตลาดในยุคปัจจุบันสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก และ พยายามที่จะใช้การสื่อสารการตลาด

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้าของตนเองไปสู่ผู้บริโภคซึ่งเป็นเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งพอสรุปบทบาทของการสื่อสารการตลาดได้ 7 ประเภทดังนี้

  1. เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในสินค้าและบริการ
  2. เพื่อย้ำเตือนความทรงจำกับเป้าหมายผู้บริโภค
  3. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้เป้าหมายผู้บริโภคทราบ
  4. เพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายตอบสนองในแนวทางที่องค์กรต้องการ
  5. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าหรือองค์กรให้เกิดขึ้นในใจของเป้าหมายผู้บริโภค
  6. เพื่อกระตุ้นให้เป้าหมายผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กร
  7. เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อซ้ำหรือสร้างความภักดีในสินค้าและบริการขององค์กร

จากบทบาทของการสื่อสารการตลาดนั้นมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการบอกให้ทราบ การสร้างความแตกต่างระหว่างตราสินค้า การย้ำเตือนความทรงจำ

การสร้างทัศนคติ การโน้มน้าวใจ ตลอดจนถึงการกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในที่สุดนั่นเอง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

กระบวนการสื่อสารการตลาด

กระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในลักษณะของการสื่อสารของการะบวนการมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ ผู้ส่งสาร (Source/Sender) สาร  (Message) สื่อ (Channel) และ ผู้รับสาร (Receiver)

กระบวนการสื่อสารการตลาดเริ่มจากการส่งสารและทำการเข้ารหัสซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำความคิดแปลออกมาให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ผู้รับสารเข้าใจ ซึ่งเมื่อสารถูกส่งออกไปผ่านสื่อ

ซึ่งหมายถึงช่องทางที่นำสารนั้นไปถึงผู้รับสาร ผู้รับสารก็จะทำการถอดรหัส  ซึ่งเป็นการตีความหมายของสารในรูปของความคิดหรือการรับรู้ต่อข่าวสารนั้น

และผู้รับสารจะส่งปฏิกิริยากลับมายังผู้ส่งสารเป็นกระบวนการในลักษณะอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอุปสรรคหรือสิ่งรบกวนขึ้นได้ในทุกองค์ประกอบทั้งจากผู้ส่งสาร สาร สื่อ เช่น ผู้ส่งสารไม่มีทักษะการสื่อสาร

สารนั้นเข้าใจยาก สื่อที่ใช้ไม่สามารถเข้าถึงเป้าหมายผู้บริโภค หรือผู้รับสารไม่มีความรู้ในเรื่องทำการสื่อสาร เป็นต้น ในการสื่อสารแต่ละครั้งจำเป็นที่ต้องพยายามลดอุปสรรคของการสื่อสารให้น้อยที่สุด

เพื่อให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์เป็นแบบจำลองกระบวนการของการสื่อสารการตลาดได้

 

ราคากล้องวงจรปิด

ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสารการตลาดนับเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับไม่ว่าจะเป็นการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค   ตลอดจนสังคมและเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับการตลาด เป็นกิจกรรมส่วนประกอบสำคัญของการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดข่าวสารทางการตลาดไปสู่ผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การสื่อสารการตลาดกับการตลาดจึงเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกันอย่างมาก การตลาดประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 4 ด้าน ซึ่งนิยมเรียกว่า “ส่วนประสมทางการตลาด” ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ลักษณะ รูปแบบ ตราสินค้า

บรรจุภัณฑ์และการให้บริการ ราคา การกำหนดราคา ส่วนลด  ระยะเวลาและเงื่อนไขการชำระเงิน ช่องทางการจัดจำหน่าย การขนส่ง การกระจายสินค้า และการควบคุมสินค้าคงเหลือ

การส่งเสริมการตลาด การใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดต่าง ๆ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การสื่อสารการตลาดมีความหมายที่กว้างและ

เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการตลาดมากยิ่งขึ้นขอนำความหมาย ปรัชญา และ แนวคิดการดำเนินงานทางการตลาด ตลอดจนหลักส่วนประสมทางการตลาด ดังนี้

  • ความหมายของการตลาด กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจระหว่างกัน  ภายใต้กระบวนการแลกเปลี่ยน

  • ปรัชญาและแนวคิดการดำเนินงานทางการตลาด นักสื่อสารมีความจำเป็นต้องเข้าใจปรัชญาและแนวคิดการดำเนินงานทางการตลาดในยุคต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
    1. ยุคที่มุ่งเน้นการผลิต
    2. ยุคที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์
    3. ยุคที่มุ่งเน้นการขาย
    4. ยุคที่มุ่งเน้นตลาด
    5. ยุคที่มุ่งเน้นการตลาดเชิงสังคม

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

  • ส่วนประสมทางการตลาด ถือเป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญหรือที่นิยมเรียกว่า “Marketing Mix” ชุดเครื่องมือทางการตลาดที่องค์กรใช้

    เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรกับตลาดเป้าหมาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด รายละเอียดังนี้

    1. ผลิตภัณฑ์ สิ่งที่นำเสนอแก่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด รวมถึงสิ่งที่จับต้องได้ และ ไม่ได้ รวมถึง รูปแบบของสินค้า สไตล์ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และ การบริการ

    2. ราคา เงิน หรือ ข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของหรือการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ นักการตลาดจำเป็นต้องพิจารณาถึงนโยบาย

      ในการตั้งราคาว่าบริษัทมีนโยบายในการกำหนดราคาไว้อย่างไร โดยทั่วไปมีอยู่ 4 ประการ เพื่อความอยู่รอดขององค์กร เพื่อมุ่งผลกำไรสูงสุด เพื่อการมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด

      เพื่อการเป็นผู้นำด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จากการพิจารณานโยบายการกำหนดราคาของบริษัทแล้ว จึงควรเลือกวิธีการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี 3 วิธี หรือเรียกว่า “3C”

      คือ ยึดตามต้นทุน ยึดตามความต้องการของลูกค้า และ ยึดตามราคาของคู่แข่ง

    3. ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคคลหรือองค์กรที่เคลื่อนย้ายสินค้า และ ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค   การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถแบ่งออกเป็น 2  โครงสร้างตามประเภทของสินค้า

      คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าเพื่อผู้บริโภค และ ช่องทางการจัดจำหน่างของสินค้าอุตสาหกรรม

    4. การส่งเสริมการตลาด องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนประสมทางการตลาด โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก สินค้าและบริการต่าง ๆ

      จะต้องมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค   รวมไปถึงมีการตั้งราคา และ มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ สินค้า และ

      บริการนั้นย่อมที่จะต้องมีการดำเนินการส่งเสริมการตลาดที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วย เพื่อให้กิจกรรมทางการตลาดนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

      แต่ละธุรกิจต่างพยายามที่จะใช้การสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้าสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในสินค้าและบริการ

      เพื่อเตือนย้ำความจำกับเป้าหมายผู้บริโภค เพื่อกล่าวให้ทราบ เพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายคิดหรือแสดงออกในแนวทางที่องค์กรต้องการ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภค นักสื่อสารการตลาดจะต้องทำความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นพื้นฐาน

เพื่อที่จะได้ออกแบบกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักการสื่อสารการตลาดต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้พฤติกรรมของผู้บริโภคคืออะไร 

ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยใดบ้าง และ การบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้นมีขั้นตอนอย่างไร รายละเอียดดังนี้

  • ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมการแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มา การบริโภค และ การกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ

    โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้มิได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย

  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค มีปัจจัยหลายประการที่สามารถส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งสรุปได้เป็น 2 ปัจจัยคือ

    1. ปัจจัยภายใน หมายถึง แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล

    2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง วัฒนธรรม และ ชนชั้นทางสังคมที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก

ดังนั้นนักการสื่อสารการตลาดจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งสองที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค นักการสื่อสารการตลาดต้องศึกษาให้เข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้นเพื่อจะนำไปสู่การวางแผนการสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบันได้มีนักวิชาการได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้คือ

  1. การตระหนักถึงปัญหา
  2. การแสวงหาข้อมูล
  3. การประเมินทางเลือก
  4. การตัดสินใจซื้อ
  5. พฤติกรรมหลังการซื้อ

ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดกับสังคมและเศรษฐกิจ  เป็นกระบวนการสื่อสารในสังคมที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของสินค้าและบริการ

เป็นเครื่องมือสำคัญในการแจ้งข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวทางสังคม  ตลอดจนเฝ้าระวังภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคม และให้คนในสังคมได้รับทราบและหาทางป้องกันแก้ไข

เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา เช่น การนำการสื่อสารการตลาดมาใช้เพื่อสังคมเพื่อรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

Related link :  ร้านติดตั้งรั้วไฟฟ้ากันขโมย   ระบบสัญญาณกันขโมยแบบเดินสาย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *