กล้อง IP camera HD

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

กล้อง IP camera HD กองบัญชาการตำรวจนครบาลเข้มรถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนขึ้นสะพานข้ามแยก หวัง ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ เอาผิดทุกสะพานข้ามทางแยก ด้านกทม.เผยประเมินผลเส้นซิกแซ็กก่อนทางม้าลาย ช่วยลดอุบัติเหตุ เตรียมขยายผลทำทั่วกรุงกว่าพันจุด ระบุนำต้นแบบจากประเทศอังกฤษ

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) ผู้ช่วยงานจราจร เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์คลิปวีดีโอเกี่ยวกับพฤติกรรมการฝ่าฝืนขับรถขึ้นสะพานข้ามแยกหรือทางยกระดับของรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมากซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน เพราะการขับรถขึ้นสะพานข้ามแยกนั้นได้มีการกำหนดไว้ว่ารถจักรยานยนต์ห้ามใช้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดอันตรายเพราะรถจะต้องใช้ความเร็วสูง

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

ที่ผ่านมาพบว่ามี 5 จุดที่มีการลักลอบขึ้นมากที่สุดไดัแก่ 1.สะพานไทย-ญี่ปุ่น 2.สะพานไทย-เบลเยี่ยม 3.สะพานข้ามแยกรัชโยธิน 4.สะพานยกระดับรามคำแหง และ 5.สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

โดยส่วนมากจะพบว่ามีการฝ่าฝืนในชั่วโมงเร่งด่วนทั้งช่วงเช้าและเย็นซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทั้งนี้ กองบัญชาตำรวจนครบาลได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรออกตรวจอย่างเคร่งครัดเพื่อจับกุมผู้ที่ฝ่าฝืนโดยผู้ที่กระทำความผิดจะมีโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

พล.ต.ต.นิพนธ์กล่าวว่า ในการตรวจจับที่ผ่านมาพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เต็มที่เนื่องจากไม่ได้มีการเฝ้าทางขึ้น-ลงตลอดเวลา จึงส่งผลให้บางครั้งมีผู้ลักลอบขึ้นไป ดังนั้นตนจึงมีแนวคิดที่จะทดลองติดตั้ง “กล้องวงจรปิด” (CCTV) ตรวจจับจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามทางแยกทุกจุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อบันทึกภาพและส่งไปตามทะเบียนบ้านของเจ้าของรถเพื่อเรียกให้มาจ่ายค่าปรับ โดยลักษณะการทำงานจะคล้ายคลึงกับกล้องตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร หรือ Red Light Camera ซึ่งก็จะต้องมีการศึกษาระบบกันอีกสักระยะว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

นอกจากนี้จะต้องมีการเสนอของบประมาณการจัดหากล้องด้วย ซึ่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะปัญหารถจักรยานยนต์ลักลอบขึ้นสะพานข้ามแยกนั้นเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก รวมทั้งหากสามารถดำเนินการติดกล้องไดัสำเร็จก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปยืนตามจุดทางขึ้น-ลงตลอดทั้งวันก็จะไม่สามารถกระทำได้ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละสถานีตำรวจจะต้องเร่งระบายการจราจรและแก้ไขปัญหารถติดด้วย

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

ทางด้านนายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครหรือ กทม. กล่าวถึงการดำเนินการตีเส้นซิกแซ็กก่อนทางม้าลาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายเสริมเพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงพื้นที่ทางม้าลายว่า การตีเส้นซิกแซ็ก กทม.ได้ดำเนินการไปแล้วใน 3 พื้นที่ คือบริเวณถนนดินสอ ถนนอโศกมนตรี และถนนศรีนครินทร์ ซึ่งจากการดำเนินการไปแล้วกว่า 1 เดือนนั้น พบว่าประชาชนผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ชะลอความเร็วรถบริเวณที่มีการตีเส้นซิกแซ็ก

อีกทั้งบริเวณที่มีการตีเส้นซิกแซ็กทั้ง 3 จุด ก็ไม่มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างการประเมินผลเส้นซิกแซ็ก อย่างเป็นทางการ เพื่อดำเนินการขยายเพิ่มเติมไปยังจุดข้ามถนนทั่วพื้นที่กรุงเทพฯที่มีกว่า 1,000 จุด

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลายพื้นที่ที่ประชาชนเป็นผู้แจ้งจุดมายัง กทม.และต้องการให้ กทม.ดำเนินการตีเส้นซิกแซ็ก ดังนั้น กทม.จึงเตรียมขยายผลตีเส้นซิกแซ็กดังกล่าวในพื้นที่อื่นๆ โดยเบื้องต้นจะดำเนินการตีเส้นซิกแซ็กเพิ่มใน 2 พื้นที่ คือบริเวณหน้าห้างบิ๊กซีอ่อนนุช และบริเวณหน้าโรงเรียนเทคนิคกรุงเทพ.

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการจราจรและขนส่ง ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงโครงการดังกล่าวว่า ได้นำต้นแบบของการตีเส้นซิกแซกเพื่อชะลอรถยนต์บริเวณทางข้ามม้าลายมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การจราจรสากลที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป นอกจากอังกฤษแล้ว ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษก็ใช้กัน แม้แต่ที่ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็มี และเหตุที่ต้องนำมาใช้กับถนนทั้ง 3 สาย เพราะเกิดอุบัติรถชนหลายครั้ง แต่ละครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

“อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนมากมาจากสาเหตุรถขับมาด้วยความเร็ว โดยผู้ขับอ้างว่ามองสัญญาณเตือนทางม้าลาย หรือสัญญาณคนข้ามไม่เห็น บ้างก็บอกว่าสัญญาณไฟจราจรอยู่สูงเกินไป ดังนั้น การนำเส้นซิกแซกเตือนทางม้าลาย น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ เพราะถึงอย่างไรคนขับก็ต้องมองถนนอยู่ดี ก็น่าจะช่วยทำให้คนขับรถระมัดระวังขึ้น ชะลอเมื่อถึงบริเวณทางข้าม”

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

ทั้งนี้ ถ้าประชาชนเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ ขอให้แจ้งเข้ามาที่ กทม. เพื่อจะจัดทำเส้นซิกแซกเตือนทางม้าลาย หรือสัญญาณไฟหยุดให้ข้ามถนนให้ต่อไป แต่ขอให้เป็นถนนแบบไปกลับไม่เกิน 4 เลน เพราะถ้ากว้างกว่านี้ เหมือนเส้น ถนนศรีนครินทร์ ขนาด 6 เลน กว้าง 30 เมตร ที่สนใจขอให้ กทม.ไปทำเส้นซิกแซกให้บริเวณหน้าห้างธัญญา พาร์ค เพราะเกิดอุบัติเหตุหนักเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประสิทธิผลที่ได้จะไม่ดีเท่า โดยทาง กทม.เตรียมทำเป็นสะพานลอยข้ามให้จะปลอดภัยแก่ประชาชนมากกว่า ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายจากท่านผู้ว่าฯ กทม. ที่ต้องการให้ประชาชนคนเดินถนนและผู้ขับรถใช้ถนนร่วมกันอย่างปลอดภัย

กล้อง IP camera HD ตร. ติดกล้อง CCTV ตรวจจับ รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

นายวีรวิชญ์ ตรีประสิทธิ์ผล วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักงานเขตบางพลัด กทม. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการไปดูงานในประเทศต่างๆ เห็นว่าประเทศสิงคโปร์ก็มีใช้ในเขตเมืองที่มีคนพลุกพล่าน แต่ไม่เคยเห็นปรากฏในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่ง คิดว่ามีอย่างนี้ก็ดีกว่าไม่มีครับ เพราะปัจจุบันคนขับรถไม่ค่อยเคารพกฎจราจร เวลาเห็นทางม้าลายแทนที่จะหยุดชะลอกลับเร่งความเร็วให้พ้นจนเกิดเป็นอุบัติเหตุ การมีเส้นเตือนก็เป็นการบอกคนขับว่าใกล้สิทธิของคนเดินข้ามถนนแล้ว แต่จะได้ผลหรือไม่อย่างไร คิดว่าอยู่ที่จิตสำนึกของคนว่ามีมากน้อยขนาดไหนด้วย

Related link :กล้องวงจรปิดเล็ก มาร่วมใส่ใจความปลอดภัย ในบ้านกันเถอะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *