การติดตั้งกล้องวงจรปิด

การติดตั้งกล้องวงจรปิด ในทีอับ

“ที่อับอากาศ”  หรือ  “Confined   space”  เป็นที่อยู่ในสถานประกอบกิจการในหลายรูปแบบ  ถ้าผู้ที่ทำงานไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่แฝงเร้น

อยู่ในที่อับอากาศอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้  กระทรวงแรงงานจึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อใช้ควบคุม  การทำงานในที่อับอากาศให้มีความปลอดภัย 

ทำให้การประสบอันตรายในการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศของลูกจ้างไม่เกิดขึ้น  ในการตีความว่าสถานที่ใดในที่ทำงานเป็นสถานที่อับอากาศเป็นสิ่งที่สำคัญมาก   

ซึ่งถ้าหากตีความหมายผิดอาจจะส่งผลต่อมาตรการความปลอดภัยที่จะต้องดำเนินการต่อไป

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

การติดตั้งกล้องวงจรปิด

สัญญาณกันขโมย Optex

ความหมายที่อับอากาศของประเทศไทย

                ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม   ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการทำงานในที่อับอากาศ  พ.ศ.  2547    ได้ให้ความหมายที่อับอากาศ  ดังนี้

“ที่อับอากาศ” ที่มีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น  บ่อ หลุม ถ้ำ 

อุโมงค์  ห้องใต้ดิน  ถังน้ำมัน  ถังหมัก  ท่อ  ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน   ซึ่งบางอย่างก็ยากต่อการบ่งชี้ว่าสถานที่ใดเป็นที่อับอากาศ  

กระทรวงแรงงานจึงได้ออกคำชี้แจงของกระทรวงเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบรายละเอียดโดยให้คำอธิบายไว้ว่า

“ที่อับอากาศ”   ตามกฎของกระทรวง   คือ  ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพสุขลักษณะและปลอดภัย    

ที่อับอากาศจึงเป็นที่ที่มีช่องทางที่ลูกจ้างใช้สำหรับเข้าออกที่อับอากาศซึ่งมีความกว้างพอที่ลูกจ้างจะเข้าไปทำงานได้หรือมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว  

มีการระบายอากาศโดยวิธีการตามธรรมชาติแต่สภาพอากาศนั้นไม่ถูกสุขลักษณะและอาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้างที่จะเข้าไปปฏิบัติงานทำให้เกิด  “บรรยากาศอันตราย”  ได้  

ซึ่งหมายถึงสภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อร่างกายหรือชีวิต   ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ความหมายที่อับอากาศของหน่วยงานในต่างประเทศ

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้กำหนดความหมายของที่อับอากาศไว้   ดังนี้  Occupational  Safety   and  Health  (OSHA)    

กำหนดลักษณะที่อับอากาศรจะมีลักษณะขนาดกว้างเพียงพอที่จะให้คนเข้าไปทำงานได้,   มีทางเข้าออกจำกัด,   ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา

National  Institute  for  Occupational  Safety  and  Health  (NIOSH)    กำหนดที่อับอากาศมีลักษณะ  ดังนี้  มีทางเปิดสำหรับเข้าออกที่จำกัด 

มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอทำให้เกิดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายในอากาศ,  ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อประสงค์ให้ผู้ที่ทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา

Code  of  Practice,  Safe  Work  Australia ได้ให้ความหมายที่อับอากาศว่า  เป็นที่ปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมดมีลักษณะ  ดังนี้ ไม่ออกแบบที่จะให้บุคคลเข้าไปทำงาน

หรืออาจจะมีความเสี่ยงต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยจากบรรยากาศที่ไม่มีระดับออกซิเจนที่ปลอดภัยหรือมีสารปนเปื้อน  ไอ  ฝุ่น  ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

หรือเนื่องจากไฟไหม้หรือการระเบิด   หรือมีสารปนเปื้อนหนาแน่นในอากาศที่เป็นอันตราย  และปกคลุม / ปกปิด / ท่วมกับ / ฝังกลบ  เป็นต้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นที่อับอากาศ

ในการตัดสินใจจะต้องพิจารณาทั้งในส่วนของโครงสร้างและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป     การเข้าไปในที่อับอากาศจะต้องขออนุญาตหัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าที่ในการให้ใบอนุญาต

พื้นที่บางพื้นที่อาจจะกลายเป็นที่อับอากาศได้ถ้าอยู่ในระหว่างการทำงานที่ก่อให้ความหนาแน่นของสารปนเปื้อนในอากาศที่เป็นอันตรายต่อผู้ทำงาน  

มาตรการการควบคุมชั่วคราวที่นำมาใช้ในที่อับอากาศได้แก่   การระบายอากาศ  หรือ  การทำให้ระดับก๊าซอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ชนิดและประเภทที่อับอากาศ

                       ลักษณะของที่อับอากาศมีหลายประเภทแบ่งออกได้   ดังต่อไปนี้

  1. ช่องลอดขนาดเล็ก  ที่ที่ผู้ทำงานมุดหรือลอดเข้าไปทำงานซ่อมบำรุง  งานสาธารณูปโภค  งานวางสายเคเบิ้ล งานตรวจสอบ  ปล่องทางเข้า

  2. ท่อระบายสิ่งปฏิกูล และของเน่าเสีย  ซึ่งผู้ที่เข้าไปทำงานภายในท่อ อาจจะได้รับอันตรายจากก๊าซที่เป็นพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่เข้าไปทำงานได้

  3. ถังบรรจุขนาดใหญ่  เป็นที่อับอากาศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ผู้ทำงานเข้าไปทำงานภายใน เช่น งานประเภทตรวจสอบ  ซ่อมบำรุง  ที่อับอากาศประเภทนี้ได้แก่  ถังน้ำมัน    ถังบรรจุแก๊สภายใต้ความดัน

  4. ท่อ เป็นที่อับอากาศที่มีขนาดเล็กและแคบมีพื้นที่จำกัด  เช่น ท่อสายเคเบิ้ล ท่อระบายน้ำ

  5. บ่อ/หลุม ที่อับอากาศที่ปากด้านบนเปิดกว้าง มีความลึก   ซึ่งผู้ทำงานอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ปนเปื้ออยู่ในบ่อ/หลุม   เช่น  บ่อบำบัดน้ำเสีย

  6. อุโมงค์ ที่มีลักษณะเป็นโพรงเจาะเข้าไปด้านในจากปากทางเข้าถึงด้านปากทางออกมีความยาวหลายเมตรหรือหลายกิโลเมตร

  7. ปล่องควัน ที่ซึ่งเป็นปล่องที่ใช้ระบายความร้อนจากการเผาไหม้หรือปล่องควันจากการเผาไหม้ของหม้อไอน้ำหรือเตาเผาไปสู่บรรยากาศภายนอก

  8. ช่อง/ทางขึ้นลงขนาดเล็ก มีพื้นที่ขนาดเล็กและยาว เช่น  ช่องลิฟท์ /ช่องระบายอากาศ/ทางขึ้นลงเป็นแนวดิ่งในเหมืองแร่ หรือในอุโมงค์เพื่อใช้ระบายอากาศ

  9. ไซโล มีลักษณะปิดซึ่งมักจะมีอยู่ในโรงงานที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร   เช่น  “ไซโลข้าว”   เป็นต้น

  10. ห้องใต้ดิน เป็นห้องที่ปิดทึบ   มีทางเข้าออกจำกัดอยู่ภายใต้อาคาร   การระบายอากาศไม่ดีเพียงพอและมีความชื้น  เช่น  ห้องใต้อาคาร ห้องเก็บสิ่งของ

  11. ท่อลำเลียง  มีรูปทรงกระบอกตามแนวยาว   เป็นที่พื้นที่แคบ  ปิดและมีพื้นที่จำกัดในการเข้าไปทำงาน  เช่น  ท่อขนส่งน้ำมัน   เป็นต้น

  12. ถังหมักไร้อากาศแบบปิด เป็นถังหมักบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน  จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซมีเทน   ซึ่งจะนำไปใช้ในการบวนการหุงต้ม   ผลิตกระแสไฟฟ้า

คูดิน / สนามเพลาะ    พื้นที่ประเภทขุดลึกลงไปในพื้นดินซึ่งมีลักษณะทางกายภาพแนวลึกมากกว่าแนวกว้างซึ่งผู้ทำงานอาจจะได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นจากพื้นดินที่ทำการขุด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การระบายอากาศไม่เพียงพอ  การระบายอากาศโดยวิธีการตามธรรมชาติ   แต่สภาพอากาศนั้นไม่ถูกสุขลักษณะ  และอาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้างที่เข้าไปทำงานทำให้เกิด 

“บรรยากาศอันตราย”  ได้   “บรรยากาศอันตราย”  สภาพอากาศที่ทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด   ดังต่อไปนี้

  1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ  19.5  หรือมากกว่าร้อยละ   23.5   โดยปริมาตร

  2. มีก๊าซ   ไอ   ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้   เกินร้อยละ  10  ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟได้หรือระเบิดได้

  3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้   ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

  4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานกำหนดตามกฎกระทรวง  ในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

  5. สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 

สัญญาณกันขโมยยี่ห้อไหนดี

                 โดยทั่วไปการที่จะเป็นที่อับอากาศหรือไม่นอกจากจะอาศัยหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้วยังพิจารณาในเรื่องดังนี้ประกอบเพิ่มด้วย

  1. เป็นที่ที่เล็กมากจนมีปริมาณของก๊าซหรือไอระเหยแพร่กระจายเท่ากันหมดและไม่สามารถป้องกันการเกิดความเข้มข้นที่เป็นพิษหรือไวไฟในระดับการหายใจของคนงานในที่อับอากาศนั้นได้

  2. ไม่มีคนงานอื่นๆ  อยู่ใกล้ๆ   พอที่จะสังเกตเห็น   และช่วยเหลือคนงานออกมาได้ทันท่วงที

  3. ช่องเปิดอยู่ไกล หรือเล็กมากจนกระทั่งการเข้าหรือออกเพื่อเคลื่อนย้ายคนงานลำบากมาก

                      “บรรยากาศอันตราย”  เป็นบรรยากาศที่อาจทำให้ผู้ทำงานได้รับอันตรายหรือเสียชีวติ   ทำให้หมดความสามารถ   ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือเกิดการบาดเจ็บ  

การเจ็บป่วยขึ้นทันทีทันใด   ไม่ว่าบริเวณที่อับอากาศหรือบริเวณที่เปิดโล่ง     ก็อาจเป็นบริเวณที่บรรยากาศเป็นอันตรายได้

                   บรรยากาศอันตรายในกรณีที่มีการปนเปื้อนสารพิษ  การที่มีระดับค่าความเข้มข้นของสารพิษหรือสารเคมี   ในการทำงานเฉลี่ย  8  ชั่วโมงของการทำงาน

เกินกว่าค่าที่อนุญาตให้สัมผัสได้หรือค่าขีดจำกัดสูงสุดที่สัมผัสได้   นอกจากนี้ยังมี  ค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่ทำให้สัตว์ทดลองเสียชีวิตทันทีหลังจากได้รับ  30  นาที

                    ส่วนในกรณีที่บรรยากาศอันตรายที่มีความไวไฟ  การที่มีสารติดไฟหรือระเบิดได้อยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ  10  ของช่วงค่าความเข้มข้นของการติดไฟหรือระเบิด    

นอกจากนี้สารติดไฟหรือสารระเบิดได้  แต่ละชนิดยังมีค่าความเข้มข้นสูงสุดในอากาศที่สามารถทำให้เกิดระเบิดหรือติดไฟได้  โดยทั้งค่าความเข้มข้นต่ำสุดและสูงสุดนี้  จะบอกเป็นร้อยละโดยปริมาตร

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ

สภาพอันตรายจากภาวะแวดล้อม

                      ผู้ทำงานจะมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะแวดล้อมการทำงาน    ในด้านปัจจัยทางเคมี    ทางกายภาพ   และการเกิดอุบัติเหตุต่าง  ๆ  

สามารถสรุปสภาพอันตรายจากกล้องวงจรปิดสภาวะแวดล้อมในที่อับอากาศ   ได้ดังนี้

  • ภาวะบรรยากาศที่เป็นพิษ  การทำงานกับสารเคมีในรูปแบบต่าง  ๆ  ไม่ว่าจะเป็นของเหลว   ไอ  ก๊าซ  ละออง  ฝุ่น  ฯลฯ   ในที่อับอากาศ  

    ก่อให้เกิดการสะสมตัวของสารอย่างต่อเนื่องและนำมาซึ่งภาวะบรรยากาศที่เป็นพิษ   เช่นงานเชื่อมที่ก่อให้เกิดฟูมโลหะ     นอกจากนี้ที่อับอากาศบางประเภท 

    ภาวะบรรยากาศเป็นพิษเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี  และทางชีวภาพ  จะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของสาร  ซึ่งอาจเกิดการกดระบบประสาท 

    ก่ออันตรายต่อระบบหมุนเวียนโลหิต  ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

  • ภาวะบรรยากาศที่ไวไฟ  โดยทั่วไปในที่อับอากาศมักเกิดจากการระเหยของสารไวไฟหรือปฏิกิริยาทางเคมีที่ปลดปล่อยสารไวไฟหรือออกซิเจน 

    ทำให้มีระดับออกซิเจนสูงกว่าปกติ   จนการสะสมตัวของฝุ่นที่ติดไฟได้   ภายใต้สภาวะที่มีส่วนผสมในอากาศในระดับที่เหมาะสม   มีการก่อให้เกิประกายไฟจะนำมาซึ่งการลุกติดไฟ  หรือการระเบิดได้

  • ภาวะขาดออกซิเจน   เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือทางชีวภาพในที่อับอากาศ   ส่งผลให้มีการใช้ออกซิเจนโดยตรงหรือเกิดก๊าซแทนที่ออกซิเจน 

    อาจเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของสารไวไฟที่ใช้ในกระบวนการเชื่อม  ตัด  หรืออาจเป็นผลจากปฏิกิริยาทางชีวภาพ  การหมัก  จากแบคทีเรีย 

    โดยเฉพาะที่อับอากาศที่เกี่ยวข้องกับสารอินทรีย์ต่าง  ๆ       เมื่อระดับปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงหรือน้อยกว่าร้อยละ  17    จะทำให้เกิดอาการที่ชัดเจนของร่างกายได้แก่ 

    มีอาการอึดอัด  แน่น  หายใจถี่  หัวใจเต้นเร็วขึ้น   มีปัญหาการประสานงานของกล้ามเนื้อ   เหนื่อย  หอบ  ฯลฯ   ระดับออกซิเจนลดลงน้อยกว่าร้อยละ  10  จะมีอาการคลื่นไส้ 

    อาเจียน  และหมดสติ   ถ้าระดับออกซิเจนลดเหลือน้อยกว่าร้อยละ  6  จะทำให้หมดสติอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตภายในไม่กี่นาที    ส่วนในบรรยากาศที่มีออกซิเจนมากเกินไป  จะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม  

    การมองเห็นพร่ามัวและปราสาทการรับรู้ผิดปกติ   รู้สึกอึดอัด    ระดับออกซิเจนมากจะช่วยทำให้เกิดสภาพที่มีการติดไฟได้ง่ายและเกิดการลุกไหม้ที่รุนแรงขึ้น

  • ภาวะอันตรายทางกายภาพ  ที่พบได้ในที่อับอากาศ  เช่น    ปัญหาสภาพความร้อนสูง   ทำให้เป็นลมชัก  เป็นตะคริว  เหนื่อยอ่อน   ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอ  

    ทำให้ต้องใช้สายตา  เกิดอาการปวดตา  ปวดศรีษะ  ส่วนปัญหาแสงสว่างมากเกินไป  ทำให้เกิดอันตรายต่อจอรับภาพ  และกระทบต่อสมรรถภาพการมองเห็นในระยะยาวได้  

    ปัญหาเสียงดัง  ทำให้ผู้ที่ทำงานเกิดการสูญเสียการได้ยิน  อาจเป็นแบบชั่วคราวและถาวร  และยังรบกวนการติดต่อสื่อสาร   ปัญหาความสั่นสะเทือน   มีผลต่อการไหลเวียนโลหิต  เกิดอาการชา  และกระทบต่อการทำงาน   

    ปัญหารังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัว   ทำให้ผิวหนังไหม้และทำให้ตาเป็นต้อได้   ทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ  การเกิดอันตรายจากเครื่องมือ    เกิดจากการใช้อุปกรณ์ในการทำงาน 

    ถูกของมีคมบาด  ตัด  ทิ่ม  แทง   การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอื่น   สะดุด  หกล้ม  สิ่งของตกกระทบ  กระแทก  เกิดจากการระเหยของสารไวไฟ   ซึ่งนำมาของการลุกไหม้และการระเบิดขึ้นได้

 

Related link :  ระบบสัญญาณกันขโมยไร้สาย    อุปกรณ์รั้วไฟฟ้า

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *