จำหน่ายกล้อง CCTV

จำหน่ายกล้อง CCTV กับการคมนาคมเปิดไอเดียติดกล้องวงจรปิดบนรถแท็กซี่แก้ปัญหาอาชญากรรม

จำหน่ายกล้อง CCTV “ชัชชาติ” ปิ๊งไอเดียติดกล้องวงจรปิดรถแท็กซี่ แก้อาชญากรรม

จำหน่ายกล้อง CCTV กับปัญหาการให้บริการของพนักงานขับรถแท็กซี่ต่อผู้โดยสาร และ ปัญหาอาชญากรที่เกิดจากการแฝงตัวเข้ามาขับแท็กซี่ รวมทั้งเกิดจากโจรที่ทำทีเป็นผู้โดยสารได้ทำลายภาพลักษณ์ของแท็กซี่ไทย กระทบโดยตรงต่อคนขับแท็กซี่ที่ประกอบอาชีพสุจริต จึงทำให้ยอดการใช้บริการแท็กซี่ลดลง สวนทางกับให้บริการที่กลับเพิ่มขึ้น หลายหน่วยงานพยายามที่แก้ปัญหานี้ว่าต้นตอที่แท้จริงเกิดจากสาเหตุใดทั้งกระทรวงคมนาคม และ กรมขนส่งทางบก จึงได้มีคนนำแนวคิด กล้องวงจรปิดรถแท็กซี่

จำหน่ายกล้อง CCTV กับการคมนาคมเปิดไอเดียติดกล้องวงจรปิดบนรถแท็กซี่แก้ปัญหาอาชญากรรม

จากสถิติการร้องเรียนจากประชาชนที่ใช้บริการรถแท็กซี่ผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1584 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มิถุนายน-สิงหาคม 2556)จำนวน 6,348 ราย พบว่า กรมการขนส่งทางบกสังกัดกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ 5,643 ราย ความผิดส่วนใหญ่ได้แก่การปฏิเสธ โดยสาร 3,303 ราย แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ 1,003 ราย ไม่ส่งผู้โดยสารตามที่ตกลง 793 ราย ไม่ใช้มาตรค่าโดยสาร 510 ราย และ ขับรถประมาทหวาดเสีย 496 ราย ซึ่งกรมขนส่งทางบกได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และ เปรียบเทียบตามกฎหมายทุกราย

จำหน่ายกล้อง CCTV กับการคมนาคมเปิดไอเดียติดกล้องวงจรปิดบนรถแท็กซี่แก้ปัญหาอาชญากรรม

เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมขนส่งทางบกโดยนายสมชัย ศิริวัฒนาโชค อธิบดีได้เตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ AEC จึงได้ร่วมกับบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) จัดอบรมพนักงานขับแท็กซี่ที่ให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานกรุงเทพ รวมกัน 1,500 คนภายใต้โครงการส่งเสริมสร้างความปลอดภัยแท็กซี่ไทยสู่อาเซียน เมื่อวันที่ 23-24 กันยายนที่ผ่านมา

จุดประสงค์สำคัญโครงการนี้ก็เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้คนขับรถแท็กซี่ ให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทักษะการบริการที่ดีแก่ผู้โดยสาร เพื่อสร้าง และ ยกระดับการ ให้บริการห้ดีกว่าที่ผ่านมา

การอบรมพนักงานขับรถแท็กซี่ที่ให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)  จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการในการพัฒนา และ ส่งเสริมให้คนขับรกแท็กซี่มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และ การให้บริการที่ดีที่สามารถสร้างความประทับใจในการให้บริการแก่คนไทย และ ชาวต่างชาติ จึงถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีควบคู่กับการสนับสนุนอาชีพให้เป็นมาตรฐานสากลก่อนเข้าสู่เขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

แม้จัดการทำโครงการส่งเสริมสร้างความปลอดภัยแท็กซี่ไทยสู่อาเซียนจะเป็นสิ่งดีมากหากประสบความสำเร็จ แต่จำนวนคนขับแท็กซี่ 1,500 คนเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับคนขับแท็กซี่ทั่วประเทศที่มีมากกว่าแสนคน หรือ คิดเป็น 1.5% ของคนขับแท็กซี่ทั้งหมดแล้วคนขับแท็กซี่ที่เหลืออีก 98% จะส่งเสริมสนับสนุนอย่างไรให้มีการให้บริการที่ดีขึ้น หรือ ป้องกันให้เกิดเหตุอาชญากรรมน้อยลง

จำหน่ายกล้อง CCTV กับการคมนาคมเปิดไอเดียติดกล้องวงจรปิดบนรถแท็กซี่แก้ปัญหาอาชญากรรม

แนวคิดใหม่ของเจ้าของกระทรวงหูกวาง หรือ กระทรวงคมนาคมคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ต้องการให้ติดกล้องวงจรปิด (CCTV) บนรถแท็กซี่ โดยกำหนดให้เป็นอุปกรณ์ประจำรถเหมือนมิเตอร์ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และ การปฏิเสธผู้โดยสาร อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นหลักฐานได้อีกด้วย

แม้ว่าจะเป็นความคิดที่ดี แต่ใช่ว่าแท็กซี่ และ ผู้โดยสารทั้งหมดจะเห็นด้วยกับการติดกล้องวงจรปิดในรถแท็กซี่ ซึ่งผู้ขับแท็กซี่ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการติดกล้องวงจรปิด เนื่องจากมีความเห็นว่า การติดกล้องวงจรปิดบนแท็กซี่เป็นการบังคับกันเกินไป อีกอย่างต้องใช้งบประมาณค่อนข้างเยอะเนื่องจากมีแท็กซี่ในประเทศไทยนับแสนคันแล้วมีคำถามจากแท็กซี่ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องจะมาจากส่วนไหน และ มีคำถามถึงทางหน่วยงานรัฐว่ามีงบประมาณให้ ืหรือไม่?

แท็กซี่ส่วนหนึ่งเห็นว่าการติดกล้องวงจรปิดบนแท็กซี่นั้นอาจจะไม่ได้ช่วยลดจำนวนอาชญากรรมก็ได้ อย่างกรณีที่ผู้โดยสารลงแล้วไม่จ่ายทั้งขาใหญ่ นักเลงก็มี หรือ กรณีที่ไม่ส่งผู้โดยสารอาจเป็นเพราะต้องไปส่งในที่เปลี่ยว ซอยที่น่ากลัว เช่น แถวมีนบุรี และ เมื่อคนขับ หรือ ผู้โดยสารฆ่ากันก็ทำอะไม่ได้ ไม่น่าจะช่วยเหลือทันอย่างแน่นอน

อีกปัญหาหนึ่งที่ปฏิเสธผู้โดยสารเนื่องจากแท็กซี่ต้องทำเวลาเพื่อนำรถไปส่งอู่ หากผู้โดยสารเรียกไปนอกพื้นที่ที่ไม่สามารถนำรถกลับส่งอู่ได้ทัน หรือ เรียกไปที่ไกลเกินไปไม่คุ้มกับระยะทางที่ต้องกลับมา ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นปัญหาค่าครองชีพของแท็กซี่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซแอลพีจี ล้วนมีผลส่วนสำคัญต่อการปฏิเสธผู้โดยสาร

“หากมีการติดกล้องวงจรปิดเพื่อจะปรับ หรือ ยึดใบอนุญาตแท็กที่ซี่ที่ไม่รับผู้โดยสาร จึงถือว่าเป็นการ กลั่นแกล้งกันเกินไป หรือ ไม่ หรือ เป็นสร้างช่องทางให้หน่วยงานรัฐบางหน่วยหากินกับคนขับแท็กซี่ ซึ่งเป็นอีกมุมมองที่จะสะท้อนมากจากคนขับแท็กซี่ในปัจจุบัน”

จำหน่ายกล้อง CCTV กับการคมนาคมเปิดไอเดียติดกล้องวงจรปิดบนรถแท็กซี่แก้ปัญหาอาชญากรรม

อย่างไรก็ตามก็มีแท็กซี่ส่วนหนึ่งกลับเห็นว่า กล้องวงจรปิดน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และ สร้างความปลอดภัยให้กับทั้งผู้โดยสาร และ ผู้ขับ เนื่องจากคนขับแท็กซี่ไม่ใช่โจร เป็นอาชีพที่สุจริต จึงไม่ควรกลัวกล้องวงจรปิด แต่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายเหมือนการติดจีพีเอส หรือ การติดวิทยุสื่อสารที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ถือเป็นการเพิ่มภาระให้คนขับแท็กซี่อย่างแน่นอน อีกส่วนหนึ่งก็กลับไม่แน่ใจในการที่จะใช้กล้องวงจรปิดแก้ปัญหาการปฏิเสธรับส่งผู้โดยสารได้ หรือ ไม่

จริง ๆ แล้วในอดีตที่ผ่านมา หลายนโยบายของภาครัฐทำไม่ได้ทำ หรือ ทำไม่สำเร็จก็มี เช่น มีแนวคิดที่จะติดเหล็กกั้นระหว่างคนขับรถกับผู้โดยสารซึ่งทำไม่สำเร็จ การมีจุดจอดรถรับส่งผู้โดยสารสาธารณะในที่ที่ไม่มีคนยืนรอ ซึ่งก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ หรือ อาจจะต้องประชาพิจารณ์ก็ต้องทำ

อย่างไรก็ตามเมื่อ ประมวลความคิดผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ส่วนใหญ่สรุปแล้วมีความเห็นว่า การติดกล้องวงจรปิดในแท็กซี่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จะได้ปลอดภัยทั้งผู้โดยสาร และ คนขับ โดยเฉพาะผู้โดยสารผู้หญิงค่อนข้างจะเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ไอเดียนี้จะดี หรือ ไม่ดี ประสบความสำเร็จ หรือ ไม่อยู่ที่เจ้าของรัฐมนตรี “ชัชชาติ” ว่า เมื่อทราบความคิดความเห็นเหล่านี้ของคนขับแท็กซี่ และ ผู้โดยสารแล้วจะไปปฏิบัติ หรือ สนับสนุน หรือ ไม่ โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด น่าจะเป็นปัญหาหลักที่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเสียค่าใช้จ่าย?

Related link :กล้อง Infrared ราคา โปรโมชั่นที่บ้านลูกค้า พระราม 5

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *