ราคากล้อง IP Camera

ราคากล้อง IP Camera และปัจจัยร่วมในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานเองได้ หากไม่มีผู้ใช้ที่ทําหน้าที่เปิดเครื่องและสั่งงานต่างๆ ผ่าน Input Unit แต่ถึงแม้ว่าจะมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม หากไม่มี Software Computer ควบคุมการทํางาน เครื่องคอมพิวเตอร์

ก็ไม่สามารถทํางานเองได้เช่นกัน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าปัจจัยร่วมในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์นั้น ประกอบไปด้วย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ราคากล้อง IP Camera

กล้องวงจรปิดแนวรั้ว

Hardware

เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดต่างๆ จําแนกตามส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ Input Unit, Central Processing Unit, Output Unit และ Memory Unit

Software

เป็นชุดคําสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานตามคําสั่งบางครั้งเรียกว่า “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ซอฟต์แวร์ระบบมีหน้าที่ควบคุม จัดการ และดูแลการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Operating System (OS) เป็นต้น ในขณะที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นถูกสร้างขึ้นมาแบบสําเร็จรูปเพื่อใช้งานทั่วไป เช่น

Microsoft Word, SPSS, Adobe Reader เป็นต้น หรือถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างตามที่ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาให้กับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ เป็นต้น ผู้ที่ทําหน้าที่สร้างซอฟต์แวร์ เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์ (Programmer)” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม People ware

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

Peopleware

บุคลากรคอมพิวเตอร์ หมายถึง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน การดูแลและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ อาจเป็น บุคคลเดียวหรือกลุ่มบุคคลตามการจัดแบ่งโครงสร้างขององค์กร บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่ง ได้ดังนี้

– ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) เป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทํางานตามหน้าที่ในหน่วยงาน นั้นๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ไม่จําเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

– ผู้ดูแลและซ่อมบํารุงเครื่องดอมพิวเตอร์ (Technician) เป็นผู้คอยดูแลตรวจสภาพคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทํางานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแลรักษา การซ่อมแซม การเชื่อมต่อตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ เป็นอย่างดี

– โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ กําหนดไว้ เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้าน ภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคําสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และพัฒนาโปรแกรมให้ผู้ใช้นําไปใช้งาน

– นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) เป็นผู้ที่มีหน้าที่วางระบบคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กร โดยการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ความต้องการของผู้ใช้ในองค์กร และออกแบบว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม

และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจได้ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้วิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเพื่อส่งงานต่อให้กับโปรแกรมเมอร์ต่อไป

– ผู้บริหารระบบ (System Administrator) เป็นผู้ที่มีหน้าที่บริหารและดูแลทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ทําหน้าที่ในการกําหนดแผนงานและกิจกรรม ต่างๆ กําหนดมาตรฐานและคุณภาพของงาน คอยอํานวยการต่างๆ ทางด้านคอมพิวเตอร์ในองค์กร

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

นอกจากบุคลากรที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันได้แตกแขนงออกไป มากมาย เช่น วิทยากรผู้ฝึกอบรมหลักสูตรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

1. อุปกรณ์รับข้อมูล

อุปกรณ์รับข้อมูล ทําหน้าที่นําข้อมูลหรือคําสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ CPU นําไปประมวลผลต่อไป อุปกรณ์รับข้อมูล มีดังนี้

1. คียบอร์ด (Keyboard)

ใช้พิมพ์ข้อความลงไฟล์เอกสาร ภายในคีย์บอร์ดจะมีแผงวงจรเพื่อแปลงตัวอักษรที่ผู้ใช้กดลงไปเป็นรหัส ASCII ที่เครื่องสามารถแปลความหมายได้ การจัดวางปุ่มตัวอักษรเป็นไปตามหลักของเครื่องพิมพ์ดีด คีย์บอร์ดสําหรับเครื่อง PC

โดยทั่วไปจะมีประมาณ 101 – 108 ปุ่ม ส่วนคีย์บอร์ดสําหรับเครื่องโน้ตบุ๊คจะมีจํานวนน้อยกว่า ปุ่มบนแป้นคีย์บอร์ดจะแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ Numeric Key, Function Key, Arrow Key และ Toggle Key

Numeric Key

อยู่ทางด้านขวาของแป้น จะมีตัวเลขและเครื่องหมายที่ใช้ในการคํานวณ เรียงลําดับเหมือนกับเครื่องคิดเลข มีปุ่มอยู่ประมาณ 10 – 20 ปุ่ม หากต้องการใช้งานปุ่มกลุ่มนี้ จะต้องกดปุ่ม “Num Lock” ให้ไฟสว่างก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถพิมพ์ตัวเลขได้เลย

Function Key

เป็นปุ่มที่อยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด (บางรุ่นอาจอยู่ทางซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ประมาณ 10 – 15 ปุ่ม แต่ละ ปุ่มจะมีตัวอักษร F นําหน้าแล้วตามด้วยตัวเลขตั้งแต่ 1 – 15 (แล้วแต่รุ่นของคีย์บอร์ด) ปุ่มในกลุ่มนี้เป็นปุ่มที่ ใช้แทนคําสั่ง 1 คําสั่ง

เช่น บนระบบปฏิบัติการ Windows ใช้ปุ่ม F2 แทนคําสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์ (Rename) และใช้ปุ่ม F5 แทนคําสั่ง Refresh เป็นต้น

Arrow Key

ใช้ในการเลื่อนตัวชี้ตําแหน่งหรือเคอร์เซอร์ (Cursor) ให้ขึ้นหรือลงทีละ 1 บรรทัด ไปทางซ้ายหรือขวาทีละ 1 ตําแหน่ง โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มจะมีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศรที่บอกทิศทางของการเลื่อน ตําแหน่ง (ซ้าย ขวา บน ล่าง)

นอกจากนี้ ยังมีปุ่มที่อยู่เหนือปุ่มลูกศร ได้แก่ Home, End, Page Up และ Page Down ที่ใช้ในการเลื่อนตัวชี้ไปทีละหน้า หรือไปที่ตําแหน่งต้นบรรทัดหรือท้ายบรรทัด

Toggle Key

เช่น ปุ่ม Cap Lock เมื่ออยู่ในสถานะเปิดจะเป็นการพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยที่อยู่แถวบนหรือตัวอักษร ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ แต่ถ้าอยู่ในสถานะปิดจะเป็นการพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยที่อยู่แถวล่างหรือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก

โดยสามารถสังเกตการเปิด/ปิดได้ที่ไฟสถานะ (Status Light) ทางด้านบน ของปุ่มตัวเลข

Ergonomic Keyboard

ตัวคีย์บอร์ดจะมีลักษณะแยกออกเป็นสองส่วน โดยทํามุมพอเหมาะสําหรับการวางมือในการพิมพ์ เนื่องจากถูก ออกแบบให้เหมาะสมกับการวางมือตามหลักสรีระศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานคีย์บอร์ด เป็นเวลานาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อข้อมือ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเอ็น

คีย์บอร์ดไร้สาย (Cordless Keyboard)

เป็นคีย์บอร์ดที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์ แต่ใช้คลื่นวิทยุ (Radio Wave) หรือ คลื่นแสงอินฟราเรด (Infrared Light Wave) ส่งข้อมูลแทน ส่วนตัวคีย์บอร์ดอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่

 
 

Related link :   ราคาติดตั้งรั้วไฟฟ้ากันขโมย   สัญญาณกันขโมยไร้สายราคาถูก

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *