กล้องวงจรปิดตรวจจับไฟไหม้ในอาคาร

กล้องวงจรปิดตรวจจับไฟไหม้ในอาคาร และเทคนิคการตรวจสอบ

เทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกัน และ ระงับอัคคีภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในอดีตที่ผ่านมามักจะมีคนเสียชีวิต เห็นได้จากข่าวว่า สามารถจับภาพไว้ได้

ซึ่งภาพแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ออกจากอาคารไม่ได้ เพราะประตูหนีไฟล็อค สับสนในทิศทางการอพยพ ทำให้การหนีไฟไม่ทัน จนสำลักควันไฟ ขาดอากาศหายใจจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด และ

ประกอบกับการที่อาคารไม่มีระบบควบคุมควันไฟทำให้ควันไฟได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ข้างเคียง หรือ ข้ามชั้นไปอย่างรวดเร็ว โดยไปตามช่องเปิดในแนวดิ่งที่ไม่ปิดกั้นด้วยวัตถุกันไฟลาม

ไม่ว่าจะเป็นบันไดหนีไฟ หรือ ช่องท่องานระบบ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เหตุการณ์รุนแรง เกิดการสูญเสียชีวิต และ ทรัพย์สินจำนวนมหาศาลตามมา

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

กล้องวงจรปิดตรวจจับไฟไหม้ในอาคาร

กล้องตรวจจับความร้อน

ดังนั้นทางหนีไฟจึงถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จำเป็นต้องมีการออกแบบให้เพียงพอเหมาะสมต่อสภาพการใช้อาคาร และ บำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา

หากทำได้เช่นนี้อาคาร หรือ บ้านจะเป็นที่ปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจะไม่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตตามมาเช่นในอดีต

 

กล้องวงจรปิด IP camera และเทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย

 

การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ

  1. รายละเอียดที่ต้องการตรวจสอบ เส้นทางหนีไปต้องไมมีอุปสรรคกีดขวางจากพื้นที่ใด ๆ ความกว้างความสูงของเส้นทางหนีไฟ ระยะทางหนีไฟที่ปลอดภัย การปิด-เปิดประตูตลอดเส้นทาง

    สมรรถนะของบันไดหนีไฟ ความเสี่ยงในการพลัดตก ราวจับ ราวกันตก แสงสว่างในเส้นทางหนีไฟ ป้าย สัญลักษณ์เส้นทางหนีไฟ อุปกรณ์ระบบความปลอดภัย ช่องระบายอากาศในบันได

    การปิดช่องเปิดที่ผนัง การปิดช่องเปิดที่พื้นเพื่อป้องกันไฟลาม

  2. ความต้องการตามข้อกำหนดในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ ให้มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยต่อการใช้งานดังนี้ อาคาร หรือ

    สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทที่มีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้เพียงพอเหมาะสมกับลักษณะอาคาร เส้นทางหนีไฟต้องมีไม่น้อยกว่า 2 ทาง

    เพื่อให้มีทางเลือกในการหนีได้ ทางหนีไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่สังเกตเห็นได้โดยง่าย ภายในอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างทีมีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยจากควัน และ ความร้อน หรือ อันตรายอื่น ๆ

    เส้นทางหนีไฟต้องไฟต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่สามารถหนีไฟได้โดยง่าย ประตูหนีไฟต้องผลักไปในทิศทางการหนี และ สามารถเปิดย้อนกลับเข้าในอาคารได้

    เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย และ เส้นทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างตลอดเวลาทั้งในภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน ต้องมีการป้องกันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง

    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้สอยอาคาร ต้องมีการจัดเตรียมขนาดทางหนีไฟให้เหมาะสม และ เพียงพอ

  3. กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องเส้นทางหนีไฟ โดยเบื้องต้นผู้ตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน

    เพื่อได้จัดทำ และ ปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของอาคาร ผู้ตรวจสอบสามารถใช้แบบฟอร์มของกรมโยธาธิการ

    เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบได้ สำหรับกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ พอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขปดังนี้

    กฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

  4. ขั้นตอนในการตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

    1. การศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัวก่อนการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
      • สอบถามข้อมูล
      • การตรวจสอบเอกสาร

    2. การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง

    3. การจัดทำรายงาน และ สรุปผลการตรวจสอบ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจสอบป้าย หรือ เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ

ส่วยประกอบสำคัญในเส้นทางหนีไฟ ถือว่าเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ทุกอาคารพึงต้องมี ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย หรือ

ทางหนีไฟได้กำหนดจะต้องมีป้ายแสดงทางหนีไฟ และ ป้ายต้องมีไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉินส่องสว่างให้เห็นป้ายเพื่อนำไปสู่ทางออกได้ตลอดเวลา จากการสำรวจอาคารหลาย ๆ ที่พบว่า

ส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงเส้นทางออกฉุกเฉิน หรือ ติดตั้งแต่ไม่ได้มาตรฐาน และ ขาดการดูแลรักษาให้ป้ายอยู่ในสภาพพร้อมใช้ทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทางเดียวกันในการจัดทำป้ายเครื่องหมายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐาน และ เหมาะสม จึงได้จัดทำแนวทางในการตรวจสอบ และ สรุปประเด็นสำคัญที่จะใช้ในการตรวจสอบ

 

ซ่อมกล้องวงจรปิด

เพื่อให้ผู้ตรวจสอบ หรือ ผู้ดูแลอาคารใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ให้อาคารเกิดสภาพที่ปลอดภัย

  1. รายละเอียดต้องทำการตรวจสอบ ป้าย หรือ เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ เพื่อนำผู้ใช้อาคารให้สามารถอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ควรจะทำการตรวจสอบให้ครอบคลุมรายละเอียดดังต่อไปนี้

    1. รูปแบบของป้ายเครื่องหมายต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
    2. ขนาดของเครื่องหมาย และ สัญลักษณ์ ต้องเป็นตามกฎหมาย และ มาตรฐานเดียวกัน
    3. การติดตั้ง ตำแหน่ง ระดับ ระยะการมองเห็นของป้าย
    4. สภาพอุปกรณ์ ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์
    5. แหล่งจ่ายไฟของป้ายในสภาวะปกติ และ สภาวะฉุกเฉิน
    6. สมรรถนะองป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ
    7. แผนผังแสดงทางหนีไฟ และ อุปกรณ์ระบบดับเพลิง
    8. เอกสารตรวจสอบ และ บำรุงรักษา


  2. ความต้องการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับป้ายเครื่องหมายแสดงการหนีไฟ ตามข้อกำหนด หรือ หลักการพื้นฐานในการติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน

    มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน มีดังนี้

    • ตลอดเส้นทางหนีไฟต้องทำเครื่องหมายโดยใช้ป้ายสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองที่มองเห็นได้โดยง่าย และ ชัดเจน
    • ป้ายต้องมีรูปแบบที่ได้มาตรฐานทั้งอักษร และ สัญลักษณ์ ขนาด และ สี
    • ป้ายต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
    • ป้ายต้องมีไฟแสงสว่างส่องตลอดเวลา ทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน
    • ป้ายในบันไดหนีไฟต้องบอกชื่อบันได หมายเลขชั้น
    • ทดสอบสมรรถนะการทำงานของไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินที่ส่องสว่างให้ป้ายต้องไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
    • แผนผังทางหนีไฟ และ อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ต้องแสดงในอาคารให้เห็นอย่างชัดเจน
    • แปลนแผนผังอาคารต้องเป็นรูปแบบที่ได้มาตรฐาน
    • แปลนแผนผังอาคารต้องฉบับล่าสุดตรงกับสภาพหน้างานจริง
    • แผนผังต้องแสดงทางออกอย่างชัดเจนตรงกับหน้างานจริง
    • มีการบำรุงรักษาป้าย เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟเป็นประจำ และ อุปกรณ์สามารถใช้งานได้

  3. กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ ทางหนีไฟแบะไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉิน

    จัดเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้อาคารทุกประเภทต้องปฏิบัติ เช่น อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารโรงงาน สำนักงาน โรงพยาบาล รวมทั้งหอพักตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป

    ผู้ตรวจสอบต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อได้จัดทำ หรือ ปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้อง

    เหมาะสมกับลักษณะของอาคาร อาจใช้แบบฟอร์มรายงานของกรมโยธาธิการได้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตรวจสอบ และ บันทึกการตรวจสอบ

    แต่อาจปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะอาคารที่ตรวจสอบได้เพื่อความเหมาะสม สำหรับกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเครื่องหมาย ป้ายทางออกฉุกเฉินพอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขป ดังนี้

    • กฎหมาย “พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร”
    • ป้ายบอกชั้นทั้งด้านใน และ ด้านนอกประตูหนีไฟ และ ป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรลาสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน
    • แสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอ ที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจน
    • พลังงานไฟฟ้าจากไฟสำรองฉุกเฉินสำหรับป้ายเครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉิน
    • จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นในตำแหน่งห้องต่าง ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ ประตู หรือ ทางหนีไฟ แผนผังของอาคารทุกชั้นเก็บรักษาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก
      • มาตรฐานอ้างอิง ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
      •  มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
      • มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และ โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

  4. ขั้นตอนในการตรวจสอบ การตรวจสอบจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

    • ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัวก่อนการตรวจสอบป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ สอบถามข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร
    • การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง
    • การจัดทำรายงาน และ สรุปผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบการควบคุมการแพร่กระจายของควันไฟ ในเวลาเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น ทำให้เกิดการแพร่กระจายของควันไฟไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และ ไหลข้ามชั้นได้หากไม่มีการควบคุม หรือ

ป้องกันการเคลื่อนที่ก็จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ เกิดการสูญเสียชีวิต และ ทรัพย์สินเป็นจำนวนมากเช่นหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

ที่อาคารไม่มีการปิดล้อมป้องกันการลามของไฟในแนวดิ่ง เช่น ไม่ปิดช่องท่องานระบบ ไม่มีการปิดล้อมช่องเปิดที่บันไดหนีไฟ ซึ่งช่องเหล่านี้จะเปรียบเสมือนเป็นปล่องไฟ หรือ

ช่องนำควันไฟ และ ความร้อนเพื่อส่งต่อไปทำความเสียหาย และ เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารในพื้นที่ใกล้เคียง และ ลุกลามไปทั้งอาคารได้เป็นอย่างดี

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจสอบการควบคุมควันไฟ

เพื่อให้ผู้ตรวจได้พิจารณาถึงโอกาส และ ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของควันไฟ รวมถึงสภาพการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบควบคุมควันไฟที่มีในอาคารนั้น ๆ หรือ

ที่สามารถตัวจับตวัญได้ เพื่อให้การป้องกันที่มีอยู่เดิมให้สามารถทำงานตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันที ถ้าหากอาคารยังไม่มีการควบคุมควันไฟผู้ตรวจสอบควรพิจารณาความเสี่ยง และ

เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม คุ้มค่าต่อการลงทุน และ ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร

กล้องวงจรปิด IP camera และเทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย

 

  1. รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบ
    • ตรวจสอบการปิดช่องเปิดที่พื้น และ ผนังเพื่อป้องกันควันไฟลามในแนวราบ และ แนวดิ่ง
    • ตรวจสอบช่องเปิดระบายอากาศที่บันไดหนีไฟ
    • ตรวจสอบระบบอัดอากาศในบันไดหนีไฟ และ โถงลิฟต์ดับเพลิง
    • ตรวจสอบระบบระบายควันไฟในอาคาร
    • ตรวจสอบการหยุดทำงานของเครื่องปรับภาวะอากาศ และ พัดลมระบายอากาศ
    • ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และ การทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

  2. ความต้องการตามข้อกำหนดในเรื่องการควบคุมควันไฟ
    • อาคารต้องมีการป้องกันควันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง เพื่อการควบคุมการแพร่กระจายควันไฟ
    • บันไดหนีไฟ และ โถงลิฟต์ดับเพลิงต้องมีการป้องกันควันไฟ
    • ระบบอัดอากาศบันไดหนีไฟ และ โถงลิฟต์ดับเพลิงจะต้องพร้อมใช้งาน
    • พัดลมอัดอากาศทำงานต้องสามารถผลักเปิดประตูได้สะดวก
    • ระบบทำงานต้องมีการไหลของลมต้านควันไฟจากในอาคารได้
    • อาคารที่เปิดโล่งภายในอาคารทะลุพื้น 2 ชั้นขึ้นไป ต้องมีการระบายควันไฟออกได้อย่างอัตโนมัติ
    • เมื่อไฟฟ้าหลักดับต้องมีไฟสำรองฉุกเฉินจ่ายให้กับระบบอัดอากาศ และ ระบบระบายควันไฟให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
    • เครื่องปรับภาวะอากาศที่มีลมหมุนเวียน และ พัดลมระบายอากาศต้องหยุดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  3. กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องการควบคุมควันไฟ พอสรุปเป็นแนวทางได้ ดังนี้
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
    • มาตรฐาน การควบคุมควันไฟ วสท.

  4. ขั้นตอนในการตรวจสอบ สำหรับการตรวจสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้การศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัว
    1. ก่อนการตรวจสอบการควบคุมควันไฟ สอบถามข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร
    2. การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง และ การตรวจสอบสมรรถนะ
    3. การจัดทำรายงาน และ สรุปผลการตรวจสอบ

  5. รายละเอียด และ แนวทางในการตรวจสอบ
    1. การป้องกันควันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง และ ตรวจสอบการปิดล้อมบันไดหนีไฟ และ บันไดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บันได้หนีไฟ
    2. ระบบการป้องกันควันไฟในบันไดหนีไฟ และ โถงลิฟต์ดับเพลิง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

เป็นระบบที่มีความสำคัญที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบช่วยเหลืออื่น ๆ แต่เนื่องจากระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเป็นระบบที่ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นประจำ

จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคาร

การตรวจระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน เพื่อความเหมาะสมในการติดตั้งระบบ การเลือกใช้อุปกรณ์ และ สภาพพร้อมใช้งานของอุปกรณ์รวมถึงสมรรถนะการทำงานของระบบ

รวมไปถึงการจ่ายพลังงานไปยังระบบความปลอดภัยอื่น ๆ ของอาคาร ผู้ตรวจสอบควรขอข้อมูลจากเจ้าของอาคารบนพื้นฐานของกฎหมายที่บังคับ และ พิจารณาสภาพของอุปกรณ์ สภาพการใช้งานมาตรฐาน วสท.

  1. รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบ
  2. กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่อง ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
  3. ขั้นตอนในการตรวจสอบ

 

กล้องวงจรปิ ไร้สาย

การตรวจสอบลิฟต์ดับเพลิง

เป็นระบบความปลอดภัยที่สำคัญที่มีไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานดับเพลิงใช้ปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้พนักงานดับเพลิงสามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้สะดวก

และ รวดเร็ว รวมถึงความปลอดภัย และ ยังสามารถอพยพผู้ใช้อาคารได้สะดวก และ ปลอดภัย จะต้องทำการตรวจสอบสภาพความพร้อมของระบบลิฟต์

ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมตรวจสอบการบำรุงรักษา เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานดับเพลิงจะสามารถใช้ลิฟต์ได้อย่างปลอดภัยในเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้

  1. รายละเอียดที่ต้องทำการตรวจสอบระบบลิฟต์ดับเพลิง สภาพทั่วไป และ เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมทดสองการทำงานของลิฟต์

  2. ความต้องการตามข้อกำหนดระบบลิฟต์ดับเพลิง หลักพื้นฐานในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน และ มีประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยในการใช้งาน

  3. ขั้นตอนในการตรวจสอบ ต้องพิจารณาความถูกต้องเหมาะสม และ ตรวจสอบสภาพการใช้งานตามเกณฑ์ของกฎหมาย และ เกณฑ์มาตรฐาน

    ประเมินสภาพอาคาร และ วางแผนดำเนินการ และ การทดสอบสมรรถนะของอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลิฟต์ดับเพลิง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

สาเหตุส่วนใหญ่ของการสูญเสียชีวิต และ ทรัพย์สินมาจากผู้ใช้อาคารไม่สามารถอพยพออกจากอาคารได้ทันท่วงทีเพราะไม่ทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้

ดังนั้นการมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยทั้งชีวิต และ ทรัพย์สินให้กับผู้ใช้อาคาร เพื่อให้มีประสิทธิภาพตามการออกแบบทั้งนี้

การตรวจสอบเบื้องต้นของผู้ตรวจสอบ จะทำการตรวจสอบด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้นไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ

  1. การตรวจระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นการดูความเหมาะสมในการติดตั้งระบบ การเลือกใช้อุปกรณ์ สภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ สมรรถนะการทำงานของระบบ

  2. แบบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆของระบบ การติดตั้งอุปกรณ์ แบบใช้งานต้องตรงกับสภาพปัจจุบันร่วมกับแผนผังของอาคาร

  3. แผงคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับต่าง ๆ แล้วทำการประมวลผลเพื่อสั่งการให้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน พร้อมสั่งการให้ระบบความปลอดภัยอื่น ๆ ทำงาน

    1. การตรวจสอบแผงควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    2. การตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้ตู้ควบคุม
    3. การตรวจสอบหลอดไฟแสดงผลบนแผงควบคุม และ แผงแจ้งเหตุระยะไหล
    4. การตรวจสอบการแจ้งระบบสายสัญญาณขัดข้อง
    5. การตรวจสอบการแจ้งเหตุของอุปกรณ์ตรวจจับ และ อุปกรณ์แจ้งเหตุ
    6. การตรวจสอบการส่งสัญญาณกระตุ้นในระบบฉุกเฉินอื่น ๆ ที่รับสัญญาณจากแผง ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน
    7. การตรวจสอบการแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ

  4. อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในอาคารแบ่ง 2 ประเภท อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ และ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ควรดูความเหมาะสมการเลือกใช้อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้

    ในแต่ละพื้นที่ของอาคารว่ามีความเหมาะสมกับสภาพที่จะเกิดเพลิงไหม้ และ การป้องกัน หรือ ไม่ รวมไปถึงลักษณะการติดตั้ง และ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ต่าตรวจสอบควรมีความรู้พื้นฐาน

    ในการแยกแยะลักษณะชนิดอุปกรณ์ตรวจจับที่มีติดตั้งในอาคารได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทใดด้วย

    1. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
    2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
    3. อุปกรณ์ตรวจจับการไหลในเส้นท่อ

      กล้องราคาถูก

  5. อุปกรณ์เจ้งเหตุด้วยมือ เป็นสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นด้วยคน มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้า ควรมีเครื่องหมายที่แสดงให้มองเห็น และ

    เข้าใจได้โดยง่าย อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ชัดเจน อยู่ในบริเวณเส้นทางเข้าออกของอาคาร และ ที่ทางหนีไฟของอาคาร และ จุดที่ติดตั้งต้องให้ใช้ได้แม้ผู้พิการ

  6. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ การแจ้งเตือนภัยต้องทำให้ผู้ใช้อาคารได้รับทรายอย่างทั่วถึง และ รวดเร็วเพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีเวลาดับเพลิง อพยพหนีไฟออกจากอาคารได้ทัน

    อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งได้ 2 ชนิด อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง และ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง

  7. การตรวจสอบการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ การตรวจการส่งสัญญาณจากตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไปกระตุ้นให้ระบบ หรือ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ ที่จำเป็นทำงาน ดังนี้

    1. กระตุ้นการทำงานระบบควยคุมควันไฟ
    2. กระตุ้นการทำงานของระบบระบายควันไฟ
    3. กระตุ้นการยกเลิกระบบลิฟต์โดยสาร
    4. กระตุ้นการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง
    5. กระตุ้นการตัดการทำงานของระบบปรับอากาศ
    6. ยกเลิกการทำงานของระบบเปิดประตูค้างด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า
    7. ยกเลิกการทำงานของระบบควบคุมการเข้าออก

  8. ประวัติการดูแลรักษา การซ่อมบำรุง และ การทดสอบการทำงานของระบบ เพื่อตรวจสอบประวัติว่าระบบได้รับการดูแลรักษา และ ทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้อาคาร หรือ ไม่
กล้องวงจรปิด IP camera และเทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย

การตรวจสอบระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

หลักการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ต้องเป็นระบบมาตรฐาน ต้องสามารถใช้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้ ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง มองเห็นเด่นชัด

ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายสัญลักษณ์ หรือ ป้ายบอก ระบบอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ ที่สำคัญ และ จำเป็น หัวดับเพลิง ถังดับเพลิง ตู้สายน้ำดับเพลิง

การตรวจสอบระบบท่อยืน และ สายฉีดน้ำดับเพลิง

เกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมาย และ มาตรฐาน วสท. จุดสังเกตในการตรวจ ข้อผิดพลาดที่พบ การสรุปผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ

เกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมาย และ มาตรฐาน วสท. จุดสังเกตในการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดที่พบ

การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และ ถังเก็บน้ำดับเพลิง

เกณฑ์การตรวจสอบตามกฎหมาย และ มาตรฐาน วสท. จุดสังเกตในการตรวจสอบ การเลือกประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิงให้ถูกต้องตามลักษณะที่ตั้ง และ

ถังเก็บน้ำสำหรับดับเพลิง การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล การตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบภายในห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่า

สำหรับอาคารระบบป้องกันฟ้าผ่าแบ่งส่วนประกอบที่สำคัญเป็น 3 ส่วน คือ ระบบตัวนำล่อฟ้า ระบบตัวนำลงดิน และ ระบบรากสายดิน การตรวจสอบระบบว่ามีการติดตั้งตามที่กฎหมายกำหนด และ

มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้างของ วสท. หรือ ไม่ การติดตั้งจะต้องตรวจด้วยระบบที่ติดตั้งยังคงสภาพการใช้งานได้ดี หรือ ไม่ ผู้ตรวจจะให้คำแนะนำในส่วนที่ต้องมีการแก้ไข และ ปรับปรุง


Related link :  ราคารั้วไฟฟ้ากันขโมย    ราคาสัญญาณกันขโมยไร้สาย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *