กล้องวงจรปิดจีน

กล้องวงจรปิด Dahua พฤติกรรมผู้บริโภค

การดำเนินงานการสื่อสารการตลาด เจ้าของสินค้า และ บริการต้องทำการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองตามต้องการ

การศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภค  จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากสำหรับนักสื่อสารการตลาด ในปัจจุบันธุรกิจใดก็ตามที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ ต้องดำเนินงานบนพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายเป็นหลักสำคัญ

โดยการทำให้มีความพึงพอใจในสินค้า และ บริการของตนให้มากที่สุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค และ กระบวนการเลือกกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารการตลาด มีรายละเอียดดังนี้

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

กล้องวงจรปิด Dahua

กล้องวงจรปิดในคอนโด

ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมของผู้บริโภค การแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มา การบริโภครวมถึงการบริการ และ การกำจัดทิ้งซึ่งสินค้า และ บริการ

โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย

 

กล้องวงจรปิดจีน พฤติกรรมผู้บริโภค กล้องวงจรปิด CCTV

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน ลักษณะทาจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ

รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และ ปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่

ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง และ วัฒนธรรม ที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งสองประการ

ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

การสื่อสารกล้องวงจรปิด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค มีดังนี้

  1. แรงจูงใจ พลังผลักดันภายในตัวบุคคล เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น เกิดจากความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะนำไปสู่ความเครียด

    จะทำให้เกิดพลังผลักดันภายในนำไปสู่พฤติกรรมได้ในที่สุด โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และ กระบวนการรับรู้ เมื่อเกิดพฤติกรรมแล้วย่อมได้รับการตอบสนอง ความเครียดก็จะลดลง

    กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดขึ้น และ จบลงเพียงครั้งเดียว ในความเป็นจริง คนเราจะมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด แรงจูงใจต่าง ๆ

    จึงเกิดขึ้นในลักษณะนี้เป็นวัฏจักรเรื่อยไป จึงควรเข้าใจทฤษฎีด้านความต้องการของมนุษย์ ลำดับความสำคัญไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้

    • ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ อากาศ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโภค เป็นต้น

    • ความต้องการความปลอดภัย เป็นความต้องการความมั่นคง และ ความปลอดภัยในชีวิต จิตใจ และ ทรัพย์สิน

    • ความต้องการทางสังคม เป็นความต้องการความรักความผูกพันจากเพื่อนฝูง ครอบครัว และ บุคคลรอบตัว

    • ความต้องการทางเกียรติยศชื่อเสียง เป็นความต้องการได้รับการยกย่องจากสังคม หน้าที่การงานที่ดี มีเกียรติ มีชื่อเสียง และ เป็นที่รู้จักในสังคม

    • ความต้องการประจักษ์ในตนเอง เป็นความต้องขั้นสูงสุดของมนุษย์ เป็นความต้องที่จะต้องประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา เป็นการได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

  2. การรับรู้กระบวนการที่บุคคลทำการเลือกสรร จัดระเบียบ และ การแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้า ออกมาเป็นภาพที่มีความหมายต่อบุคคลนั้น

    ซึ่งอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งเร้า และ ลักษณะของผู้รับสารด้วยเช่นกัน กระบวนการรับรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ

    การเลือกสรร การจัดระเบียบ การแปลความหมายสิ่งเร้า

  3. การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างถาวรจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา หรือ เกิดจากการลงมือกระทำจริง เราไม่สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

    หากไม่ได้รับรู้ และ ตีความเกี่ยวกับสิ่งนั้น กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นนับแต่ช่วงแรกของชีวิต และ ดำเนินต่อเนื่องมาจนตลอดชีวิตของคนเรา

    การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ย่อมจะทำให้สามารถออกแบบสารโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า และ บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

    • ทฤษฏีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม

    • ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยความรู้ความเข้าใจ

      สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

      Line: @cctvbangkok.com
      ติดต่อทางเมลส์
      ติดต่อเฟสบุค
      ติดต่อยูทูป

      HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542



  4. ทัศนคติ ความโน้มเอียงทางความรู้สึกในทางบวก หรือ ทางลบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ และ สามารถนำไปสู่พฤติกรรมของผู้รับสารได้

    ซึ่งอาจจะได้รับมาจากประสบการณ์โดยตรง หรือ เป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวบุคคลอื่น เช่น เพื่อน และ สมาชิกในครอบครัว หรือ อาจจะมาจากการเปิดรับสารโฆษณาต่าง ๆ เป็นต้น

    จากความสำคัญของประสบการณ์ตรงซึ่งนับว่ามีอิทธิพลต่อทัศนคติ จึงทำให้นักสื่อสารการตลาดพยายามกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้าที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยดีพอเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคใช้สินค้า

    ซึ่งหากสินค้านั้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้านั้น และ นำไปสู่พฤติกรรมการซื้อตราสินค้านั้นซ้ำอีกในอนาคต

  5. บุคลิกภาพ ลักษณะทางจิตวิทยาที่อยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งจะเป็นตัวกำหนด และ กระทบถึงวิธีการที่บุคคลแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงลักษณะที่มองเห็นได้ และ ไม่ได้

    ได้แก่ กิริยาท่าทาง การเดิน การนั่ง สี  การพูด นิสัย น้ำเสียง ลักษณะการแสดงออก อารมณ์ แนวโน้มความผิดปกติทางจิต การแต่งกาย และ ทัศนคติ  เป็นต้น

    จิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ สัญชาตญาณพื้นฐาน จิตสำนึกบุคคล และ มาตรฐานทางจริยธรรมของสังคม ในการหล่อหลอมให้คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป

    สังเกตเห็นได้จากการวัด ในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรวัดลักษณะทางบุคลิกภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวัดบุคลิกภาพของผู้บริโภค

    นอกจากนี้นักวิจัยในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเชื่อว่าคุณลักษณะทางบุคลิกภาพขอผู้บริโภคในแต่ละคุณลักษณะจะส่งผลต่อการใช้สินค้า และ บริการที่แตกต่างกันด้วย

  6. รูปแบบการดำเนินชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่แสดงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล นับว่ามีความเกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคลิกภาพ แรงจูงใจ ครอบครัว กุล่มอ้างอิง

    ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมหลัก และ วัฒนธรรมย่อย นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะความเป็นอยู่ที่แสดงถึงการใช้เวลาว่างของแต่ละบุคคล การให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมรอบตัว และ

    ความคิดเห็นที่มีต่อตัวเอง และ สิ่งรอบข้าง นักสื่อสารการตลาดจะนิยมทำการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และ ด้านความคิดเห็น

    โดยการวัดนั้นจะเป็นการคิดคำบรรยายที่พัฒนาขึ้นจากกิจกรรม ความสนใจ และ ความคิดเห็นของผู้บริโภค อาจจะเป็นการบรรยายโดยกว้าง หรือ เฉพาะเจาะจงก็ได้

    โดยให้ผู้บริโภคเลือกตอบในลักษณะมาตรประมาณค่า ตั้งแต่ เห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือ ไม่เห็นด้วย แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ปัจจัย เป็นต้น

กล้องวงจรปิดในโรงงาน

 

กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

นักสื่อสารการตลาดสามารถเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นนำไปสู่การวางแผนการสื่อสารทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ

  1. การตระหนักถึงปัญหา
  2. การแสวงหาข้อมูล
  3. การประเมินทางเลือก
  4. การตัดสินใจซื้อ
  5. พฤติกรรมหลังการซื้อ

การตระหนักถึงปัญหา สามารถเกิดขึ้นได้หลายแนวทาง เช่น อาจจะเกิดจากสินค้าที่ใช้อยู่หมด หรือ การซื้อสินค้าไม่สามารถตอบสนองความพึงพอใจได้ หรือ มีความต้องการใหม่ ๆ เกิดขึ้น เป็นต้น

ในสภาวการณ์เช่นนี้ นักสื่อสารการตลาดสามารถใช้ความพยายามที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงปัญหาได้โดยสร้างความต้องการปฐมภูมิ เป็นการสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้สินค้า และ

บริการโดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นตราสินค้าใด หรือ อาจใช้การสร้างความต้องการทุติยภูมิ คือ การสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเลือกตราสินค้าของตน โดยการสื่อสารทางโฆษณา

เพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าของตนดีกว่าของเจ้าอื่นทำให้ดูแล้วเกิดความต้องการซื้อ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่านักสื่อสารการตลาดสามารถทำให้

ผู้บริโภครับรู้ว่าปัญหาของผู้บริโภคนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกซื้อตราสินค้านี้มากกว่าจะไปใช้ตราสินค้าอื่น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

 

การแสวงหาข้อมูล ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาว่าจำเป็นจะต้องซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตนแล้ว การค้นหาข้อมูลจะเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลภายใน

คือความทรงจำระยะยาวในสินค้า และ บริการของผู้บริโภคที่มาจากประสบการณ์ในอดีต ถ้าข้อมูลเหล่านั้นเพียงพอแล้ว ผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นจะต้องแสวงหาข้อมูลจากภายนอก ได้แก่ 

การค้นหาข้อมูลสินค้าจากโฆษณา พนักงานขาย หรือ การสอบถามจากบุคคลรอบข้าง เช่น เพื่อน และ หตัดสินใจต่อไป การแสวงหาข้อมูลของผู้บริโภคนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัย 2 ประการคือ

ความไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนเองมีอยู่ของผู้บริโภค และ ความไม่มั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่นักสื่อสารการตลาดจะต้องสร้างความแตกต่างของตราสินค้าเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินทางเลือก หลังจากที่ผู้บริโภคได้ข้อมูลมาแล้วก็จะทำการประเมินทางเลือกจากพื้นฐานความเชื่อ และ ความรู้ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า เพื่อทางเลือกที่เห็นว่ามีความเหมาะสม

โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของแต่ละตราสินค้าจากคุณสมบัติที่เห็นว่ามีความสำคัญที่สุด และ ตรงกับความต้องการของตนมากที่สุด เมื่อผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจก็จะทำการเปรียบเทียบสินค้า

บริการ และ ตราสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกเพื่อที่จะทำการเลือกเอาสิ่งที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

สำหรับในการประเมินทางเลือกนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ปัจจัย 2 ประการมาประกอบในการพิจารณา คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตราสินค้าที่อยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคที่จะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อ และ

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินตราสินค้าแต่ละตราสินค้า นักสื่อสารการตลาดจึงต้องพยายามให้ตราสินค้าของตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มของสินค้าที่ผู้บริโภคพิจารณาเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความผูกพัน และ

การจดจำของตราสินค้าในจิตใจของผู้บริโภคได้ นักสื่อสารการตลาดก็จะต้องทำการแนะนำหรือ ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเพื่อจะนำมาใช้ในการประเมิน โดยที่เกณฑ์เหล่านี้นั้นก็ควรที่จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยเช่นกัน

 

กล้องวงจรปิดจีน พฤติกรรมผู้บริโภค กล้องวงจรปิด CCTV

 

พฤติกรรมหลังการซื้อ หลังจากที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าแล้ว ก็จะมีประสบการณ์จากการใช้สินค้านั้น โดยจะประเมินว่าสินค้านั้นสามารถที่จะตอบสนองความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการได้

หรือ ไม่ ส่งผลต่อแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อสินค้าในครั้งต่อไป ถ้ามีความพึงพอใจในตราสินค้านั้น ก็มีแนวโน้มสูงที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าซ้ำอีก ในทางตรงกันข้ามหากสินค้าไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง

และ ไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้ แนวโน้มในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไปก็ย่อมน้อยลง และ เปลี่ยนไปซื้อตราสินค้าอื่นแทน พฤติกรรมหลังการซื้อนี้มีความสำคัญต่อผู้บริโภคคือ จะช่วยลดความไม่มั่นใจ 

หรือ ความสงสัยของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือ บริการนั้นแล้ว นักการสื่อสารการตลาดจำเป็นที่ต้องทำการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจ

และ ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคภายหลังการซื้อสินค้า ได้แก่ ความกดดัน หรือ ความเครียดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการ หรือ ไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ได้ หรือ

อาจจะเกิดจากการที่ผู้บริโภครับรู้ว่ายังมีทางเลือกอื่น ๆ ทีดีกว่า นักสื่อสารการตลาดจึงควรให้ความสนใจในพฤติกรรมหลังการซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมากด้วย

เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในข้างต้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักสื่อสารการตลาดสามารถที่จะเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งอันจะช่วยให้สามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กล้องวงจรปิด Dahua

 

พฤติกรรมผู้บริโภค การแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาการบริโภค และ การกำจัดทิ้งซึ่งสินค้า และ บริการ พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น

แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยภายใน  คือลักษณะทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค

ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค มีลักษณะที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล และ ปัจจัยภายนอก หรือ

ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม คือ ลักษณะทางสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง และ วัฒนธรรม ผู้บริโภคที่มีลักษณะของปัจจัยภายใน

และ ภายนอกแตกต่างกันย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้า และ บริการที่แตกต่างกัน กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ

การตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และ พฤติกรรมหลังการซื้อ

 

 

Related link : เทคโนโลยีกล้องวงจรปิด   ระบบสัญญาณกันขโมย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 02-888-3507-8, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *