ระบบ ip camera

ระบบ ip camera กับจุดประสงค์ของระบบ CCTV กล้องวงจรปิด

ระบบ ip camera กับจุดประสงค์ของระบบ CCTV กล้องวงจรปิด

ระบบ ip camera กับจุดประสงค์ของระบบ CCTV หรือ กล้องวงจรปิด จะเป็นเรื่องราวระบบภาพอีกประเภทหนึ่ง ที่ใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันและอนาคต เป็นระบบภาพที่สามารถส่งเนื้อหาสาระได้ทั้งระยะใกล้และไกล มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าโทรทัศน์ ทั้งยังมีจุดประสงค์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปแล้วแต่จะคิดนำไปใช้

ปัจจัยหลายส่วนของกล้องวงจรปิด CCTV    คือการหยิบยืมเทคโนโลยีของโทรทัศน์มาใช้ แต่มันถูกนำไปผนวกเข้ากับสายการบันทึก เครื่องส่ง และเน็ตเวิร์ค จึงทำให้การศึกษาเรื่องนี้เป็นเสมือนการรวมองค์ความรู้หลายๆเรื่องมาไว้ในเรื่องเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญ

ระบบ ip camera กับจุดประสงค์ของระบบ CCTV กล้องวงจรปิด

สำหรับจุดประสงค์ของกล้องวงจรปิด อาจมีหลายจุดประสงค์ แต่สำหรับสังคมทั่วไปเน้นความสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

  1. การเฝ้าระวัง (Surveillance)
  2. การรักษาความปลอดภัย (Security)

สมัยที่รัฐบาลอังกฤษมีปัญหาการเมืองกับไอริช ขบวนการกู้ชาติหรือ IRA ได้ทำสงครามนอกรูปแบบต่อประเทศอังกฤษ โดยวิธีการก่อการร้าย จนรัฐบาลอังกฤษต้องติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือ CCTV ตามสถานที่สำคัญต่างๆมากมายในประเทศ จนก้าวล่วงไปสู่ชีวิตส่วนตัวของพลเมือง ด้วยความหวาดระแวงและปัญหาการดำเนินการทางการเมือง จนนักสิทธิมนุษยชนได้ออกมาเรียกร้องโจมตีรัฐบาลอังกฤษ ไม่เว้นวัน แม้แต่สถานี BBC ก็โจมตีนโยบายปิดกั้นการเสนอข่าวของ IRA ทุกวัน นอกจากนั้นนักวรรณกรรมคนสำคัญคือ จอร์จ เออร์เวลล์ ได้เขียนนิยายเรื่อง “รัฐสัตว์” (Animal farm) ทั้งยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2548 ทำให้คำว่า บิ๊กบราเธอร์ กลายเป็นคำล้อเลียนกระแทกรัฐบาลจนกลายเป็นตัวตลก

อีกทั้งยังทำให้เกิดเกมโชว์ที่ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ตลอด 24 ชั่วโมง (เรียลิตี้โชว์) ด้วยกล้องวงจรปิด เรียกว่ารายการบิ๊กบราเธอร์ ที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์มาผลิตในประเทศไทยด้วย

ระบบ ip camera กับจุดประสงค์ของระบบ CCTV กล้องวงจรปิด

ความหวาดระแวงอันนำมาซึ่งการก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคล จึงมิใช่จุดประสงค์ของงานกล้องวงจรปิด และเช่นเดียวกัน กล้องวงจรปิดก็มิอาจหยุดยั้งการโจรกรรม และการก่อการร้ายได้ด้วยตัวมันเอง เราไม่สามารถป้องกันการโจรกรรม การก่อวินาศกรรม ได้ด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพราะกล้องวงจรปิดเป็นเพียงเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อการเฝ้าระวัง (Surveillance) เป็นส่วนหนึ่งของการแกะรอยในระบบรักษาความปลอดภัย (Security system)

เพราะความจริงกล้องวงจรปิดหรือ CCTV (Closed circuit television) เป็นแค่เพียงอุปกรณ์จับภาพความเคลื่อนไหวแล้วนำมาบันทึก เป็นเหมือนพยานแวดล้อมของงานสืบสวน เป็นวัตถุพยานที่ใช้ในการสืบค้นไปหาสาเหตุหรือต้นเหตุของการกระทำ

หลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่เรียกว่าการฆ่าพลีชีพเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ.2544 ทำให้เทคโนโลยีของงานรักษาความปลอดภัยได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น กลายเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ได้ก้าวสู่ State-of-the-art security system เป็นดวงตารีโมทเพื่องานรักษาความปลอดภัยแก่ชีวิต ทรัพย์สิน ที่มีความชัด แม่นยำ เป็นระบบภาพและเสียงแบบวิช่วลไลเซชั่น ผ่านกล้องถ่ายระบบรีโมทคอนโทรล ทั้งผ่านระบบและกล้องวงจรปิดไร้สาย มีการติดต่อ 2 ทาง (Two way communication) ระหว่างจุดสั่งงานไปยังจุดควบคุม ซึ่งอาจเป็นองค์กรตำรวจดับเพลิง หรือระบบเตือนภัยแห่งชาติ ฯลฯ

นับว่าการวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ มหานครนิวยอร์ค เมื่อ 11 กันยายน พ.ศ.2544 (เหตุการณ์ 11/9) ที่ผู้ก่อการได้บังคับเครื่องบินให้พุ่งชนตึก ทำให้ไฟไหม้ตึกถล่ม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ได้ทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยที่อาศัยกล้องวงจรปิด พัฒนาไปอย่างมาก รวมไปถึงในประเทศไทย ระบบรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิดราคาถูก ถูกนำมาติดตั้งมากขึ้น

Related link :ศูนย์ขายกล้อง กับหลักการทำงานทั่วไปของ CCTV กล้องวงจรปิด จนพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่ดีขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *