กล้องวงจรปิดในรถยนต์

กล้องวงจรปิดในรถยนต์ กับระบบเกียร์ออโต้ และ สิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ขับ

กล้องวงจรปิดในรถยนต์ กับรถยนต์ระบบเกียร์ออโต้ และ สิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ขับ

กล้องวงจรปิดในรถยนต์ เมื่อสองสามวันก่อนได้นั่งดูข่าวเกี่ยวภาพกล้องวงจรปิดบันทึกเหตการอุบัติเหตุของสตรีท่านหนึ่งซึ่งขับรถยนต์พุ่งเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต โดยทราบภายหลังว่า สตรีเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวเพิ่งหัดขับรถ หรือ มือใหม่หัดขับ นั่นเอง และ รถยนต์ที่ใช้ก็เป็น รถยนต์ระบบเกียร์ออโต้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาข่าวทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในบ้านเรา และ ต่างประเทศ ทำให้ผู้เขียนขออนุญาตนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในสิ่งที่ผู้ขับขี่รถยนต์ระบบเกียร์ออโต้ควรรู้ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้อง และ ปลอดภัยแก่ตัวผู้ขับขี่เองรวมถึงผู้อื่นในสังคมด้วย

กล้องวงจรปิดในรถยนต์ กับระบบเกียร์ออโต้ และ สิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ขับ

ยุคนี้รถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ออโต้นั้นเป็นที่นิยมสำหรับตลาดรถยนต์ในเมืองไทยเป็นอย่างมาก และ ผู้ที่นิยมใช้มากที่สุดเห็นจะได้แก่ ผู้หญิง คนมีอายุ หรือ แม้แต่วัยรุ่น เนื่องจากมีความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ ก่อนอื่นลองมาดูกันว่าการใช้งานรถยนต์เกียร์ออโต้ทั่วไป มีลักษณะการใช้งานอะไรบ้าง

  • ตำแหน่ง P สำหรับจอดรถที่ไม่ต้องการให้รถขยับ (ทำหน้าที่คล้ายกับเบรกมือ)
  • ตำแหน่ง R ใช้ถอยหลัง
  • ตำแหน่ง N ใช้เป็นเกียร์ว่าง
  • ตำแหน่ง D ใช้สำหรับขับเคลื่อนบนพื้นที่ราบ และ พื้นที่ซึ่งมีความลาดชันไม่มาก
  • ตำแหน่ง 2 เครื่องยนต์จะใช้เกียร์ 1 ถึงเกียร์ 2 สำหรับทางลาดชันมาก
  • ส่วนตำแหน่ง 1 หรือ L นั้น เป็นเกียร์เดียวกัน คือเกียร์ 1 ใส่สำหรับการขึ้นเขาได้

เกร็ดน่ารู้ต่าง ๆ ในการขับรถเกียร์อัตโนมัติให้ปลอดภัย

  1. ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ควรตรวจสอบให้เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P และ สตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P เท่านั้น เพราะหากคันเกียร์คร่อมอยู่ในตำแหน่ง P – R แรงสั่นสะเทือนจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ อาจทำให้เกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ R ทำให้เกิดอุบัติเหตุตามที่เป็นข่าวได้
  2. การเปลี่ยนเกียร์ไปมาระหว่างตำแหน่ง D และ ตำแหน่งตัวเลข สามารถเปลี่ยนได้ในขณะที่รถเคลื่อนที่เนื่องจากเป็นเกียร์เดินหน้าเช่นเดียวกัน แต่ต้องถอนเท้าออกจากคันเร่งก่อน เปลี่ยนเกียร์แล้วเหยียบคันเร่งใหม่ เพื่อความปลอดภัย และ ไม่ควรเปลี่ยนคันเกียร์จากตำแหน่ง D ลงมาที่ 1 หรือ L ทันที เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ และ แรงกระชากของเครื่องยนต์อาจส่งผลให้รถเสียการทรงตัวจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
  3. ขณะที่รถจอดอยู่กับที่ และ เกียร์อยู่ในตำแหน่ง N เมื่อต้องการเปลี่ยนมาอยู่ในตำแหน่งเกียร์เดินหน้า ต้องเหยียบเบรกไว้ตลอดเวลาขณะเปลี่ยนเกียร์ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเดินหน้าทันที ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ขับขี่เกิดอาการตกใจจนกดเท้าลงบนคันเร่ง เป็นเหตุให้รถพุ่งออกไปอย่างรวดเร็วจนเกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้วจึงยกเท้าออกจากแป้นเบรก รถยนต์จะเดินหน้าไปเองอย่างช้า ๆ จากนั้นจึงค่อย ๆ ออกแรงกดคันเร่งที่ละนิดจนได้ระดับความเร็วที่ต้องการ
  4. ไม่ควรที่จะใส่เกียร์ในตำแหน่ง P ขณะที่จอดติดสัญญาณไฟแดง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุถูกรถยนต์ที่จอดต่อท้ายมาชน จะทำให้ล็อกเกียร์พังจนสร้างความเสียหายแก่เครื่องยนต์ นอกจากนั้นยังเกิดความพลั้งเผลอของตัวผู้ขับขี่เอง เมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวแล้วรีบร้อนเข้าเกียร์โดยไม่ระวัง ทำให้คันเกียร์ค้างอยู่แค่ตำแหน่ง R แทนที่จะเป็นตำแหน่ง D จนเป็นเหตุให้รถถอยหลังไปชนกับรถยนต์ที่จอดต่อท้ายได้
  5. การจอดรถแล้วไม่ดับเครื่องยนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น จอดรถเพื่อไปลงเปิดประตูบ้าน หรือ ไปซื้อของริมถนน ไม่ควรใช้ตำแหน่ง N แต่ควรใช้ตำแหน่ง P และ ใส่เบรคมือทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้รถพุ่งไปข้างหน้า
  6. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุก ๆ 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง จะช่วยยืดอายุการทำงานของระบบเกียร์ได้เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัด และ การจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ทำให้รถยนต์ต้องวิ่ง ๆ หยุด ๆ แรงดันน้ำมันสูง-ต่ำไม่คงที่ในระบบเกียร์สูงจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และ ผู้ที่ใช้ชีวิตบนท้องถนน รวมไปถึงผู้อื่นที่ใช้ชีวิตในสังคมเดียวกับคุณ

Related link :ชุดกล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง 16 วิธีป้องกันอัคคีภัย แบบง่าย ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *